Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28215
Title: | การดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาชนบทในประเทศไทยกับแนวนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ |
Other Titles: | The practice of public relations for rural development in Thailand and the national public relations policies plans |
Authors: | รัตนา ศรีชนะชัยโชค |
Advisors: | พัชนี เชยจรรยา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2533 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาถึงสถานภาพการดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อการพัฒนา ชนบทในประเทศไทย, ในเขตพื้นที่แต่ละภาค, ในแต่ละลักษณะงาน ตลอดจนศึกษาถึงความสอดคล้องตามแนวนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือผู้บริหารระดับจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัด ซึ่งเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาภายในจังหวัด ผลการวิจัยในแต่ละส่วนไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ ฝ่ายประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาส่วนใหญ่ไม่มี ความรู้โดยตรงทางด้านการประชาสัมพันธ์ แต่เคยผ่านการฝึกอบรม เพิ่มเติมความรู้ด้านการประชาสัมพันธ์บ้างเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานซึ่งมีภาระหน้าที่ประจำอยู่แล้ว และต้องทำงาน ด้านการประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาด้วย ส่วนใหญ่ไม่มีฝ่ายประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาโดย เฉพาะยังอยู่ในลักษณะงานฝาก นโยบายด้านการประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนามีทั้งที่ระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่ระบุ เป็น ลายลักษณ์อักษร เพียงเป็นที่เข้าใจกันเองเท่านั้นเป็นส่วนน้อยที่ไม่มีนโยบายเลย สำหรับการดำเนินงาน ประชาสัมพันธ์ทั้ง 4 ขั้นตอนนั้น ส่วนใหญ่ขั้นการแสวงหาข้อมูลจะใช้วิธีการคาดคะเนของผู้ปฏิบัติการเอง ขั้นตอนการวางแผนก็มีการวางแผนในบางโครงการ เท่านั้น ขั้นตอนการดำเนินงานส่วนมาก เป็นการบริการ ข้าวสารเกี่ยวกับโครงการพัฒนา ขั้นตอนการประเมินผลไม่ค่อยมีการปฏิบัติทั้งนี้เพราะขาดงบประมาณและขาดเจ้าหน้าที่ในการประเมินผล ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญของการประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาได้แก่ 1 ) บัญหาด้าน เจ้าหน้าที่ กล่าวคือ ไม่มี เจ้าหน้าที่รับผิดชอบงานโดยตรงและเจ้าหน้าที่ขาดความรู้ในเรื่องการประชาสัมพันธ์ 2) ปัญหาด้านการยอมรับของประชาชนกล่าวคือ ประชาชนไม่ค่อย เห็นความสำคัญของโครงการพัฒนาให้การยอมรับ เฉพาะที่ได้รับประโยชน์ระยะสั้น 3) ปัญหาด้านเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ กล่าวคือ ไม่มีเครื่องมือ เพียงพอและอยู่ในสภาพ เก่าไม่มีคุณภาพต้องยืมจากหน่วยงานอื่น 4) ปัญหาด้านงบประมาณ กล่าวคือ ได้รับการจัดสรรงบประมาณน้อยมาก บางครั้งไม่มีเงินงบประมาณต้องอาศัยการบริจาค จากสถานภาพโดยทั่วไปแล้วการดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาชนบทในประเทศไทย ยังไม่เป็นไปตามแนวนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติที่วางไว้เท่าที่ควร |
Other Abstract: | This research was conducted to identify the practice of public relations for rural development in Thailand in all geographical regions and types of work. The sample population in this study was employed as administrators and department heads at provincial level. These respondents must be volved in the public relations for rural development. The study show that, there was no difference among respondent groups in terms of the status of public relations for rural development in Thailand. More specifically, respondents who were employed in public relations program in each geographical region did not have educational degree in certain area of public relations, but they were sometimes undertaken for only in service training program. Most of respondents were assisgned to work on the public relations program in addition to their daily routine work. The public relation policies for rural development programs were found in both written and non-written forms. Respondents were assumed to carry their assigned tasks by all means of understanding policies. Only few were employed without understanding policies. Four proceeding steps of public relations program were found in different aspects. The step of searching information was mostly utilized by respondents' estimation. The planning step was only considered in some programs. The step of working process was largely indicated in information service about rural development program. Final step of program evaluation was rarely performed because of a lack of fund and staff. Major problems and constrains about public relations program were found as follows: 1) There was not enough officers responsible for certain work, and also they were disqualified to function in public relations effectively. 2) The role of public relations was not accepted by people. The important program could not be seen but they were still interested in some short program which were useful to them 3) Tools and equipment's used in public relations were shorten and out of date, Some equipment's must be harrowed from other organization 4) The lack of funds could be seen. For instance, some programs were planned with small budget and donation. In conclusion, the process of public relations for rural development in Thailand was not performed effectively as dese in the national public, relations policies, plans. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การประชาสัมพันธ์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28215 |
ISBN: | 9745775215 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ratana_sr_front.pdf | 7.7 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_sr_ch1.pdf | 2.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_sr_ch2.pdf | 19.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_sr_ch3.pdf | 1.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_sr_ch4.pdf | 45.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_sr_ch5.pdf | 9.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ratana_sr_back.pdf | 51.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.