Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28386
Title: การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจที่เด็กได้รับจากการชมรายการโทรทัศน์ สำหรับเด็ก
Other Titles: Uses and gratification of children's exposure to children television program
Authors: อรพินท์ ศักดิ์เอี่ยม
Advisors: พัชนี เชยจรรยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: โทรทัศน์กับเด็ก -- ไทย
รายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก -- ไทย
Television and children -- Thailand
Television programs for children -- Thailand
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการ เปิดรับชมรายการโทรทัศน์สำหรับ เด็ก การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจที่เด็กได้รับจากการชมรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก ตลอดจน สำรวจความคิดเห็น เกี่ยวกับรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กที่เด็กต้องการ ผลการวิจัยพบว่า รายการโทรทัศน์สำหรับ เด็กที่เด็ก เปิดรับชมมาก 3 อันดับแรก ได้แก่ หนูทำได้ โดเรมอน และซุปเปอร์จิ๋ว ตามลำดับ สำหรับประเภทรายการที่เด็กเปิดรับชมมากที่สุด คือ รายการประเภทการ์ตูน โดยส่วนใหญ่จะเปิดรับชมในช่วง เวลา 16.00-18.00 น.ของวันจันทร์-ศุกร์ และช่วง เวลา 08.00-10.00 น.ของวันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุด เหตุผลที่ทำให้ เด็กเปิดรับชมรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กมากที่สุดคือ ทำให้เกิดความรู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลิน ความพึงพอใจที่เด็กได้รับจากการชมรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กพบว่า เด็กมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง โดย เหตุผลที่สร้างความพึงพอใจให้มากที่สุดคือ การทำให้เกิดความรู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลิน ในด้านการใช้ประโยชน์พบว่า เด็กนำสิ่งที่ได้รับจากการชมรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ในระดับปานกลาง โดยนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการพัฒนาสติปัญญาและ ความสามารถพื้นฐานมากที่สุด เด็กต้องการให้รายการสำหรับ เด็กมีรูปแบบรายการที่มีลักษณะเป็นการ์ตูนมากที่สุด และ ชอบให้มีหลายๆ แบบผสมกันใน 1 รายการ ชอบ เนื้อหาที่ให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ต้องการให้ พิธีกรรายการ เป็นผู้ใหญ่ร่วมกับเด็ก ต้องการให้ฉายรายการสำหรับเด็กในวัน เสาร์ อาทิตย์ และวันหยุด และต้องการให้ฉายในช่วง เวลา 16.00-18.00 น.ของวันจันทร์-ศุกร์ และ 08.00-10.00 น.ของ วัน เสาร์-อาทิตย์และวันหยุด
Other Abstract: The objectives of this research is to study children's exposure to children television programs; uses and gratification obtained from the exposure and children'ร opinion upon children television programs. The study shows that the first three TV. programs most exposed by children are Noo Tham Dai, Doraemon (Japanese cartoon) and Super Jew, consecutively. The type of the program most exposed is cartoon. Most children watched children TV. programs during 04.00-06.00 p.m. on Monday to Friday and during 08.00-10.00 a.m. on Saturday, Sunday and holidays. They explained that the reasons of their exposure are for fun and enjoyment. As for gratification from children TV. programs, it could be concluded that the children are satisfied with the program at medium level and the first reason for their gratification is for fun and enjoyment. In terms of uses of television, it is found that children utilized children TV. programs in various aspects mostly to develop their intellectual and fundamental cognitive ability. Children under this study preferred TV. programs presented as cartoon or in mixed presentation, children are likely to enjoy entertainment programs. They enjoyed viewing grown-up host working with the younger co-host, preferred children programs to be on-aired on Saturday, Sunday and holidays and preferred the programs to be broadcasted during 04.00-06.00 p.m. on Monday to Friday and during 08.00-10.00 a.m. on Saturday, Sunday and holidays.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28386
ISBN: 9745841595
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orapin_sa_front.pdf5.53 MBAdobe PDFView/Open
Orapin_sa_ch1.pdf10.76 MBAdobe PDFView/Open
Orapin_sa_ch2.pdf20.63 MBAdobe PDFView/Open
Orapin_sa_ch3.pdf4.09 MBAdobe PDFView/Open
Orapin_sa_ch4.pdf34.52 MBAdobe PDFView/Open
Orapin_sa_ch5.pdf9.15 MBAdobe PDFView/Open
Orapin_sa_back.pdf11.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.