Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28390
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริชัย ศิริกายะ
dc.contributor.authorอรยา เอี่ยมชื่น
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-01-14T03:43:48Z
dc.date.available2013-01-14T03:43:48Z
dc.date.issued2536
dc.identifier.isbn9745824127
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28390
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อให้เข้าใจถึงลักษณะรูปแบบและเนื้อหางานโฆษณาทางสื่อโทรทัศน์ในช่วงปี พ.ศ. 2533-2534 และเพื่อให้ทราบถึงลักษณะการกระตุ้นหรือสร้างความต้องการของงานโฆษณาทางสื่อโทรทัศน์ที่มีต่อผู้บริโภค โดยการศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพทฤษฎีและแนวคิดที่นำมา เป็นกรอบในการวิเคราะห์ได้แก่ แนวคิดยุคหลังสมัยใหม่ แนวคิดยุคสมัยใหม่ ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจของมนุษย์ แนวคิดเรื่องลำดับขั้นตอนของการเกิดพฤติกรรม อันเนื่องมาจากโฆษณา และแนวคิดเกี่ยวกับระดับความเกี่ยวพัน ซึ่งผลการวิจัยมีดังนี้ 1. รูปแบบและเนื้อหาของงานโฆษณาทางสื่อโทรทัศน์มีคุณลักษณะที่สอดคล้องกับแนวคิดยุคหลังสมัยใหม่ 7 ประการผสมผสานปะปนกันไป คือ การให้ความสำคัญกับภาพพจน์ การให้ความสำคัญกับความแตกต่างและความแปลกใหม่ การผลิตซ้ำ วัฒนธรรมย่อย การย้อนยุคและกระแสอนุรักษ์คุณค่าแบบเก่า การทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างปรากฏเป็นภาพ และประการสุดท้าย การระเบิดเข้าสู่ภายในหรือการยุบยวบของความหมาย ซึ่งหากมองภาพรวมแล้วคุณลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการบริโภค”ภาพพจน์” ในลักษณะของ “สัญญะ” มีความสำคัญเหนือกว่าคุณประโยชน์ทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตามรูปแบบและเนื้อหางานโฆษณาทางสื่อโทรทัศน์มิใช่จะเป็นไปตามแนวคิดยุคหลังสมัยใหม่เท่านั้น หากยังมีแนวคิดยุคสมัยใหม่ และลักษณะการยึดถือจารีตผสมผสานอยู่ด้วย 2. ลักษณะการกระตุ้นหรือสร้างความต้องการของงานโฆษณาทางสื่อโทรทัศน์ที่มีต่อผู้บริโภคในยุคนี้เป็นการกระตุ้นหรือสร้างความต้องการความรักและมีส่วนร่วมในสังคม ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง และความต้องการเป็นหรือทำในสิ่งที่ต้องการ มากกว่าความต้องการทางกายภาพและความต้องการความปลอดภัย นอกจากนี้งานโฆษณาซึ่งเน้นวิธีการสร้างอารมณ์มากกว่าเหตุผลทางกายภาพยังส่งผลให้เกิดพฤติกรรมไม่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนเสมอไป กล่าวคือ ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในตัวสินค้าก่อน แต่สามารถพัฒนาความชอบ และอาจนำไปสู่พฤติกรรมการซื้อได้ในที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความเกี่ยวพันที่ผู้บริโภคมีต่อสินค้าและโฆษณา
dc.description.abstractalternativeIt is the purpose of this research to analyse the form and content of advertising in television between 1990-1991 and to make explicit the characteristics of stimulating and developing needs of TV advertising for consumers. This study uses qualitative approaches which have Postmodernism, Modernism, Theory of Human Motivation, Steps in Persuasion and Degree of Involvement as its theoretical and conceptual frameworks. The results of this research are as follows: 1. There were 7 characteristics for the form and content of advertising in Television which correlated with postmodernism and which could not be considered mutually exclusive. Those characteristics were emphasis of images, differentiation, reproduction, subculture, retro and nostalgia, explosion of visibility, and implosion of meaning. If considering the entire presentation of TV advertising, the mentioned characteristics reflected the consumption of “images” in the form of “realities.” Moreover, “sign value” was more important than product “use value.” Nevertheless, the form and content of advertising in television could be analysed not only by using postmodernism but also by modernism and conventionalism which intermingled with each other. 2. The characteristics of stimulating and developing needs of TV advertising for consumers emphasized more on belongingness and love needs, esteem needs, self-actualization needs than on physiological needs and safety needs. Furthermore, advertising that stressed more on emotional approach than physical reasoning resulted in consumers’ behaviorial reaction, which did not always follow the regular cited steps. That means it was not necessary for consumers to at first perceive product information, but could develop their preference and might eventually purchase products. This depended on degree of involvement that consumers had on products and advertisements.
dc.format.extent5901343 bytes
dc.format.extent6698354 bytes
dc.format.extent15899702 bytes
dc.format.extent3221025 bytes
dc.format.extent35880084 bytes
dc.format.extent11776879 bytes
dc.format.extent6254814 bytes
dc.format.extent2363313 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการวิเคราะห์รูปแบบและเนื้อหางานโฆษณาทางสื่อโทรทัศน์ (พ.ศ.2533-2534)en
dc.title.alternativeThe form and content analysis of advertising in television (1990-1991)en
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการสื่อสารมวลชนes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Oraya_le_front.pdf5.76 MBAdobe PDFView/Open
Oraya_le_ch1.pdf6.54 MBAdobe PDFView/Open
Oraya_le_ch2.pdf15.53 MBAdobe PDFView/Open
Oraya_le_ch3.pdf3.15 MBAdobe PDFView/Open
Oraya_le_ch4.pdf35.04 MBAdobe PDFView/Open
Oraya_le_ch5.pdf11.5 MBAdobe PDFView/Open
Oraya_le_ch6.pdf6.11 MBAdobe PDFView/Open
Oraya_le_back.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.