Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28443
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประกิตติ์สิน สีหนนทน์-
dc.contributor.advisorจิตรตรา เพียภูเขียว-
dc.contributor.authorสุรเชษฐ์ พัฒนพานิชสวัสดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-01-15T04:06:20Z-
dc.date.available2013-01-15T04:06:20Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28443-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการสำรวจและเก็บตัวอย่างดอกเห็ด Phaeogyroporus portentosus (Berk. & Broome) McNabb จากหลายท้องที่ในประเทศไทย สามารถแยกเส้นใยบริสุทธิ์ได้ 22 สายพันธุ์ ทำการศึกษาความแปรผันทางพันธุกรรม และความสัมพันธ์เชิงวงศ์วานวิวัฒนาการของลำดับ นิวคลีโอไทด์ที่ตำแหน่ง Internal Transcribed Spacer (ITS) ของรา P. portentosus ทั้ง 22 สายพันธุ์ เมื่อพิจารณาจากแผนภูมิต้นไม้ พบว่าความแปรผันทางพันธุกรรมของลำดับนิวคลีโอไทด์ในช่วง ITS ต่ำมากและรา P. portentosus ทุกสายพันธุ์มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ส่วนอัตราการเจริญของเส้นใยบนอาหารเลี้ยงเชื้อแข็ง MMN พบว่ามีอัตราการเจริญที่ต่างกันไปทุกสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่มีอัตราการเจริญที่ดีที่สุดคือ XK2 และ MM ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโคโลนีเฉลี่ย 8 และ 7.9 เซนติเมตร ตามลำดับ เมื่อทดสอบความสามารถในการสร้างเอคโตไมคอร์ไรซาของรา P. portentosus บนรากของกล้าไม้ทดสอบซึ่ง ได้แก่ กระถิน แค โสน มะขามเทศ และสะแก พบว่ารากของพืชทดสอบทุกชนิดไม่มีการสร้างแมนเทิล และ hartig net พบแต่เพียงเส้นใยราพันอยู่รอบๆ รากของพืชทดสอบเท่านั้น การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่ารา P. portentosus ไม่สามารถสร้างเอคโตไมคอร์ไรซากับพืชทดสอบ และทำการทดสอบเพื่อยืนยันความเป็นราเอคโตไมคอร์ไรซาของรา P. portentosus โดยคัดเลือกรา P. portentosus สายพันธุ์ XK2 และ MM มาผลิตหัวเชื้อสำหรับเพาะร่วมกับกล้าไม้ เพื่อศึกษาการกระตุ้นการเจริญของกล้าไม้กระถินและกล้าไม้สะแก หลังเพาะหัวเชื้อกับกล้าไม้ได้ 6 เดือน วัดความสูงของลำต้น เส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับคอราก และน้ำหนักแห้งของรากและลำต้น พบว่าการเจริญของกล้าไม้ที่มีการใส่หัวเชื้อไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับกล้าไม้ที่ไม่มีการใส่หัวเชื้อและไม่พบการสร้างเอคโตไมคอร์ไรซาที่รากพืชทดสอบ ซึ่งจากผลการทดสอบการสร้างเอคโตไมคอร์ไรซา และการทดสอบการกระตุ้นการเจริญของกล้าไม้ทำให้สรุปได้ว่ารา P. portentosus ไม่ใช่ราเอคโตไมคอร์ไรซาen
dc.description.abstractalternativeThe sporocarps of Phaeogyroporus portentosus (Berk. & Broome) McNabb were collected from various localities in Thailand. Twenty-two strains of P. portentosus were isolated and cultured on MMN medium. The genetic variation and phylogenetic relationships based on internal transcribed spacer (ITS) among 22 strains were investigated. The phylogenetic tree suggested that genetic variation in ITS regions of this fungus was low and all strains had closed relationship. The strains of P. portentosus showed different growth rate on MMN medium. P. portentosus strain XK2 and MM gave high growth rate with colony diameter of 8 and 7.9 cm, respectively. The ectomycorrhizal formation on seedling roots of Lecucaena leucocephala, Sesbania geandiflora, Sesbania javanica, Pithecellobium dulce and Combretum quadrangulare were tested. The results showed no mantle and hartig net formation and only mycelium attachment on roots of tested plants. This indicated that P. portentosus could not form ectomycorrhiza with the tested plants. To confirm being ectomycorrhizal fungus of P. portentosus, P. portentosus strain XK2 and MM were selected to test on growth stimulation of Leucaena leucocephala and Combretum quadrangulare seedlings. The seedlings were inoculated with a peat-vermiculite inoculum of the both selected strains. No significant difference (P<0.05) in shoot height, stem diameter, shoot and root dry weight on inoculated seedlings compared with non inoculated seedlings was observed after 6 months. No ectomycorrhizal formation was also observed. The results of ectomycorrhizal formation and growth stimulation in this study revealed that P. portentosus should not be ectomycorrhizal fungus.en
dc.format.extent1687712 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.716-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเชื้อราไมคอร์ไรซาen
dc.subjectเห็ดตับเต่าen
dc.titleการทดสอบการสร้างเอคโตไมคอร์ไรซากับรากพืชทดสอบโดยราเห็ดตับเต่าดำen
dc.title.alternativeEctomycorrhizal formation of plant roots by Phlebopus portentosus (Berk.&Broome) Boedijnen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีชีวภาพes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorsprakits@chula.ac.th-
dc.email.advisorJittra.K@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.716-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surachet_pa.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.