Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28567
Title: A comparison of the Reamker mural painting in The Royal Palace of Cambodia and the Ramakien mural painting in the Grand Palace of Thailand
Other Titles: การเปรียบเทียบจิตรกรรมฝาผนังเรื่องเรียมเกร์ในพระบรมมหาราชวังประเทศกัมพูชาและจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ในพระบรมมหาราชวงประเทศไทย
Authors: Phalla San
Advisors: Klairung Amratisha
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Advisor's Email: Klairung.A@Chula.ac.th
Subjects: Mural painting and decoration -- Thailand
Mural painting and decoration -- Cambodia
Mural painting and decoration, Thai
Issue Date: 2007
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The Reamker, which has been enormously influential in all aspects of Cambodian arts and culture, is the Cambodian version of the Indian Ramayana epic. Evidences from inscriptions and iconography show that this epic has existed in Cambodia since the 7th century. However, the oldest surviving Reamker text, which is incomplete and composed of two compositions is said to have been written between the 16th and 18th centuries. When the Temple of the Emerald Buddha was built in the Royal Palace in Phnom Penh in 1895, the story of Reamker was selected to be painted on the galleries of the temple and became the only complete version of Reamker in the country. This thesis attempts to explore the sources of inspiration of the Reamker Mural Painting by comparing the Reamker Mural Painting and the Ramakien Mural Painting in the Grand Palace of Thailand in terms of the story, the compositional organization of painting, and the iconography. In addition, the thesis also analyzes the key factors related to similarities and differences found from the comparison. The results show that the Reamker Mural Painting’s episodes were composed from Ramkien Mural Painting in the Thai Grand Palace, the Thai Ramakien text by King Rama I, the Reamker I and II texts, the segment of Reamker text called “Kal Vaiyarab(n) Santam Yak Brah Rama Pan,” and the Reamker oral versions. Although, the painted episodes were adopted from the Thai Palace Mural, the presentations in the painting are completely different. Most of characters in the Cambodian Palace Mural are identical with the Thai Palace Mural, but important differences can also be found. The distinctions came from three key factors: the mistakes were created by the muralists when the painting was transferred between one culture to another; the depictions of characters without ascribing them names; the socio-cultural inspiration and individual context and style. The findings also indicate that the architecture was inspired by the buildings in Cambodia itself rather than from the Thai Palace Mural. The landscapes were adopted from other paintings, not from the Thai Palace Mural. The compositional organization, on the other hand, reflects typical Cambodian characteristics. The main factor for the Thai influences on the Reamker Mural Painting lie in the three key persons responsible for the construction of the Temple and the creation of the mural painting. King Norodom who built the temple, Ukna Tep Nimit Mak who was the chief painter and architect in cooperation with Venerable Nil Teang who was the supervisor of the temple’s construction were brought up and/or studied in Bangkok for many years. This is one of the key trends of Thai influence on Cambodia during the restoration time after the ‘dark age’. The Thai influence is detectable in other arts and culture of this period, namely, Buddhist religion, literature, dance drama, music, architecture and some royal ceremonies.
Other Abstract: เรื่องเรียมเกร์ ซึ่งเป็นวรรณคดีที่มีอิทธิพลสูงยิ่งต่อศิลปวัฒนธรรมเขมรในทุกๆ ด้าน มีที่มาจากมหากาพย์เรื่องรามายณะของอินเดีย หลักฐานจากศิลาจารึกและรูปเคารพแสดงให้เห็นว่ามหากาพย์เรื่องนี้ปรากฏในกัมพูชาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 อย่างไรก็ตาม เชื่อกันว่าตัวบทวรรณคดีเรื่องเรียมเกย์ที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งไม่สมบูรณ์และมีสองส่วนนั้นแต่งขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 18 เมื่อมีการสร้างวัดพระแก้วมรกตขึ้นที่พระบรมมหาราชวังกรุงพนมเปญในค.ศ. 1895 เรื่องรามเกร์ได้รับเลือกมาวาดเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่พระระเบียงรอบพระอุโบสถและเป็นเรื่องเรียมเกร์ที่จบสมบูรณ์เพียงเรื่องเดียวในกัมพูชา วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งศึกษาที่มาของจิตรกรรมฝาผนังเรื่องเรียมเกร์ โดยการเปรียบเทียบกับจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ในพระบรมมหาราชวังของประเทศไทยทั้งในด้านเนื้อเรื่อง การจัดองค์ประกอบของจิตรกรรมฝาผนัง และลักษณะภาพ รวมทั้งจะวิเคราะห์ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความคล้ายคลึงและความแตกต่างที่พบจากการเปรียบเทียบจิตรกรรมฝาผนังทั้งสอง การศึกษาพบว่าเนื้อเรื่องตอนต่างๆของจิตรกรรมฝาผนังเรื่องเรียมเกร์มีที่มาจากหลายแหล่ง ทั้งจากจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ในพระบรมมหาราชวังประเทศไทย จากวรรณคดีไทยเรื่องรามเกียรติ์ จากวรรณคดีเรื่องเรียมเกร์ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 จากภาคหนึ่งของตัวบทเรื่องเรียมเกร์ตอนไวยราพณ์สะกดพระราม และจากเรื่องเรียมเกร์ฉบับมุขปาฐะต่างๆ ถึงแม้ว่าเนื้อเรื่องตอนต่างๆของจิตรกรรมฝาผนังเรื่องเรียมเกร์โดยหลักจะนำมาจากจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ แต่การนำเสนอกลับแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ในด้านตัวละคร แม้ตัวละครส่วนใหญ่ในจิตรกรรมฝาผนังเรื่องเรียมเกร์จะตรงกับตัวละครในจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ แต่ก็พบความแตกต่างที่สำคัญหลายลักษณะ ที่เด่นชัดมาจากปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ ความผิดพลาดของจิตรกรผู้วาดเมื่อมีการส่งผ่านเรื่องจากวัฒนธรรมหนึ่งไปสู่อีกวัฒนธรรมหนึ่ง การวาดภาพตัวละครโดยไม่มีชื่อตัวละครกำกับไว้ รวมทั้งแรงบันดาลใจทางสังคมวัฒนธรรมและลีลาการวาดและบริบทการวาดของจิตรกรแต่ละคน การศึกษายังพบว่าภาพสถาปัตยกรรมที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังเรื่องเรียมเกร์ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสิ่งก่อสร้างในประเทศกัมพูชามาจากกว่าจะมาจากภาพสถาปัตยกรรมในจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ ในขณะที่ภาพทิวทัศน์น่าจะรับอิทธิพลมาจากจิตรกรรมฝาผนังเรื่องอื่นๆของไทย ส่วนการจัดองค์ประกอบของจิตรกรรมฝาผนังเรื่องเรียมเกร์สะท้อนลักษณะเฉพาะตัวแบบเขมรอย่างชัดเจน บุคคล 3 คนที่มีความสำคัญในการรับอิทธิพลไทยในการสร้างจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกร์ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระนโรดมผู้ทรงสร้างวัดพระแก้วมรกตที่กรุงพนมเปญ ออกญาเทพนิมิตมัก ผู้เป็นหัวหน้าจิตรกรและสถาปนิก และสมเด็จเจ้าพระคุณนิล เตียง ผู้เป็นที่ปรึกษาหลังในการสร้างวัด บุคคลทั้งสามล้วนเติบโตและ/หรือได้รับการศึกษาที่กรุงเทพฯเป็นเวลาหลายปี อิทธิพลไทยในจิตรกรรมฝาผนังของกัมพูชาถือเป็นหนึ่งในแนวโน้มหลักของการรับอิทธิพลไทยในสมัยการฟื้นฟูประเทศกัมพูชาหลังจาก “ยุคมืด” นอกจากในงานจิตรกรรม อิทธิพลไทยยังปรากฏชัดเจนในศิลปะและวัฒนธรรมด้านอื่นๆของกัมพูชา เช่น พุทธศาสนา วรรณคดี การละคร ดนตรี สถาปัตยกรรม และพระราชพิธีบางอย่าง
Description: Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 2007
Degree Name: Master of Arts
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Southeast Asian Studies (Inter-Department)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28567
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1566
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1566
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phalla_Sa.pdf26.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.