Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28576
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอวยพร เรืองตระกูล-
dc.contributor.authorพิรดา ธุระเจน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-01-20T06:10:58Z-
dc.date.available2013-01-20T06:10:58Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28576-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน จำนวน คุณภาพของงานวิจัยและความมุ่งมั่นในการทำวิจัยของครู 2)เพื่อออกแบบและสร้างกระบวนการสืบสอบแบบชื่นชมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการความมุ่งมั่นในการทำวิจัยของครู 3)เพื่อศึกษาผลของการทดลองใช้กระบวนการสืบสอบแบบชื่นชม และ 4)เพื่อนำเสนอกระบวนการสืบสอบแบบชื่นชมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการความมุ่งมั่นในการทำวิจัยของครูที่เหมาะสม เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ครูประถมศึกษาจำนวน 47 คน จาก 2 โรงเรียน โดยที่กลุ่มทดลองมี 25 คน และกลุ่มควบคุม มี 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1)กระบวนการส่งเสริมการทำวิจัยโดยการสืบสอบแบบชื่นชมประกอบด้วย 4 ขั้นตอนได้แก่ (1) Discovery ค้นพบ (2) Dreaming จินตนาการ (3) Design การออกแบบ (4) Destiny ไปให้ถึงจุดหมาย 2)แบบสอบถามความมุ่งมั่นในการทำวิจัย 3)แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติบรรยาย และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดย สถิติทดสอบที (t-test) และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ก่อนการทดลองครูในกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมตามวิถีปกติและกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมโดยการสืบสอบแบบชื่นชมมีการทำวิจัยคนละ 1 เรื่องต่อภาคเรียนโดยมีการกำหนดรูปแบบงานวิจัยโดยฝ่ายบริหารของโรงเรียน โดยไม่มีการส่งเสริมจาก โรงเรียน ครูทำงานวิจัยตามความถนัด แต่พบว่าครูมีความมุ่งมั่นตั้งใจจะทำวิจัยให้สำเร็จ แต่มีอุปสรรค เช่น ขาดที่ปรึกษาในการทำวิจัย ไม่มีแหล่งความรู้ ค้นคว้าเพิ่มเติม ระหว่างทำการทดลองครูในกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมตามวิถีปกติ มีความก้าวหน้าในการทำวิจัย ตั้งใจจะให้ส่งตามกำหนด พบครูบางคนที่ยังไม่เขียนงานวิจัย เหตุเพราะไม่มีเวลา กิจกรรมในโรงเรียนมาก ทางด้านครูในกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมโดยการสืบสอบแบบชื่นชมครูทุกคนมีก้าวหน้าและตั้งใจในการส่งงานวิจัยตามกำหนด โดยใช้เวลาหลังการประชุมกลุ่มหรือเวลาว่าง พบข้อจำกัดในเรื่องเวลา หน้าที่ของตนเอง หลังทำการทดลองพบว่าครูในกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมตามวิถีปกติ ส่งงานวิจัยได้ตามกำหนด โดยส่วนใหญ่เป็นมีจุด มุ่งหมายคือการพัฒนานักเรียน โดยใช้รูปแบบการเขียนรายงานจากฝ่ายบริหาร โดยมีปัญหาได้แก่ ขาดความรู้ ทักษะในการทำวิจัย ขาดวัสดุอุปกรณ์ในการทำงานวิจัยและต้องการการส่งเสริมการทำวิจัยจากโรงเรียน และในกลุ่มครูได้รับการส่งเสริมโดยการ สืบสอบแบบชื่นชม จะมีการนำเสนอผลงานวิจัยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีรูปแบบการเขียนรายงานจากรูปแบบที่ออกแบบร่วมกัน 2. ครูที่ได้รับการส่งเสริมโดยการสืบสอบแบบชื่นชมหลังทำการทดลองแล้วจะมีความมุ่งมั่นในการทำวิจัย และคุณภาพของงานวิจัยสูงขึ้นจากก่อนทำการทดลอง และสูงกว่าครูกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมการทำวิจัยตามวิถีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับที่ .05 และจำนวนงานวิจัยทั้งครูที่ได้รับการส่งเสริมการทำวิจัยโดยการสืบสอบแบบชื่นชมและกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมการทำวิจัยตามวิถีปกติเท่ากัน 3.รูปแบบการเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยโดยการสืบสอบแบบชื่นชมที่เหมาะสม คือ กิจกรรมที่ 1 Discovery ค้นหาสิ่งดีในตนเอง คือ การใช้คำถามเชิงบวกเพื่อค้นหาสิ่งดีของตนเอง สิ่งดีๆในอดีต และในงานที่จะทำ กิจกรรมที่ 2 Dreaming จินตนาการกว้างไกล คือ การเล่าถึงความฝันที่เป็นไปได้ ความต้องการในการทำวิจัย และการนำผลงานในอดีตมาค้นหาข้อดี กิจกรรมที่ 3 Design การออกแบบร่วมกัน คือการออกแบบการจัดการ และรูปแบบการเขียนงานวิจัยร่วมกัน กิจกรรมที่ 4 Destiny ไปให้ถึง จุดหมาย คือการเพิ่มทักษะที่จำเป็น การคัดเลือกแกนนำ และการนำเสนอผลงานและเสริมสร้างกำลังใจen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were 1) to study state of conducting research, amount of research, research quality and intentional of conducting research 2) to design the appreciative inquiry processes to enhance intentional growth in conducting research 3) to study effect of using the appreciative inquiry processes to enhance intentional growth in conducting research, amount of research and research quality 4) to present the suitable appreciative inquiry processes to enhance intentional growth in conducting research. The research methodology of this research was a quasi-experimental. The samples were 47 primary school teachers from 2 schools each school for experimental group and control group. The research instruments were (1) The appreciative inquiry processes which was comprised 4 steps, i.e. Discovery, Dreaming, Design and Destiny (2) The questionare intentional of conducting research and (3) evaluation form pertaining to classroom action research. The data analysis covered content analysis, descriptive statistic and analysis of means comparison: t-test. The research findings were as follow: 1. Before experiment The control group and the experimental group had policy of school to conduct classroom action research at least 1 for semester for teacher but there was not any supporting activities and observation from school. The objective of classroom action researches was resolve the student’s problem.Teacher conducted from own experiences. Teacher intented to conduct research but did not have any support. During experiment,The control group that used normal processes had progress of conducted research.Some teachers did not conduct research because not have time and school activities.They want the facilitator. The experimental group that used appreciative inquiry processes. All of teachers had conducted research in theirown free times but have some problem; not have time and many responsibilities After experiment, The control group could conducted research.The objective of most researches was resolve the student’s problem. They want to enhance processes from school about knowledge, skills and materials. After the experimental group had finished the research,they presented their research in school to sharing knowledge. 2. The intentional of conducting research and the research quality score of the experimental group that used the using the appreciative inquiry processes were higher than the group that used the normal processes at significant level 0.05 but there were same amount of research. 3. The suitable appreciative inquiry processes to enhance intentional growth in conducting research (1)Discovery ; use positive questions to discover the best in everything and utilities of work (2) Dreaming; Dream to best situation from conducted research, finding needs and fulfilling the past (3) Design; Designing school’s conduct classroom action research form and research management together (4) Destiny; develop necessary skills, facilitating, find good example and encourageen
dc.format.extent11335922 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1188-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectวิจัยเชิงปฏิบัติการทางการศึกษา -- วิธีวิทยาen
dc.subjectชั้นเรียน -- วิจัยen
dc.subjectครูประถมศึกษาen
dc.titleการวิจัยและพัฒนากระบวนการสืบสอบแบบชื่นชมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของความมุ่งมั่นในการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูประถมศึกษาen
dc.title.alternativeResearch and development of the appreciative inquiry processes to enhance intentional growth in conducting classroom action research of primary school teachersen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAuyporn.R@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1188-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pirada_Th.pdf11.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.