Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28612
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชลธี อิ่มอุดม-
dc.contributor.advisorเทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร-
dc.contributor.authorพลสิทธิ์ แซ่เฮ้ง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialอยุธยา-
dc.date.accessioned2013-01-22T08:03:50Z-
dc.date.available2013-01-22T08:03:50Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28612-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นเป็นประจำในหลายพื้นที่ในประเทศไทย มีหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ในปีพ.ศ.2554 ที่ผ่านมา อยุธยาเป็นหนึ่งในจังหวัดที่โดนน้ำท่วมขังอย่างหนักเป็นเวลายาวนานกว่า 5 เดือน ด้วยความที่เป็นพื้นที่แอ่งกระทะและเป็นพื้นที่รับน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมเข้าสู่กรุงเทพมหานคร หมู่บ้านในตำบลหัวเวียง อ.เสนา จ.อยุธยา ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน้อย ก็ได้รับผลกระทบถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ชาวบ้านหลายครัวเรือนเลือกที่จะใช้วิธีการดีดบ้านเพื่อยกตัวอาคารบ้านเรือนที่เป็นบ้านไม้ใต้ถุนสูงให้สูงมากขึ้นเพื่อให้พ้นระดับน้ำท่วมสูงสุด วิธีการดีดบ้านจึงนับเป็นวิธีการหนึ่งซึ่งมีประสิทธิภาพเพื่อการปรับตัวให้เข้ากับสภาพน้ำท่วมในระยะเวลาอันสั้น ผลจากการลงพื้นที่สำรวจ รังวัดบ้านกรณีศึกษา สัมภาษณ์ชาวบ้าน และสัมภาษณ์ช่างผู้รับทำการดีดบ้านในพื้นทื่ พบว่าการดีดบ้านของช่างพื้นถิ่นนั้น ไม่ได้มีการเรียนรู้เป็นแบบแผนมาโดยตรงตั้งแต่อดีต แต่เป็นการลองผิดลองถูกจากการยกบ้านทรุดบ้านเอียง การอธิบายและคำนวณโครงสร้างเกิดจากความเคยชินและการประมาณโดยปราศจากทฤษฎีรองรับ โดยการศึกษาวิธีการดีดบ้านไม้ 2 ชั้น ใช้วิธีการเขียนผังพื้น หุ่นจำลอง ของบ้านกรณีศึกษาในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการดีดบ้าน เพื่อใช้ในการอธิบายขั้นตอนการดีดบ้านไม้ 2 ชั้น หลังจากนั้นจึงวิเคราะห์การดีดบ้านในแต่ละขั้นตอนเพื่อหาประเด็นและข้อสงสัยที่ส่งผลต่อมาตราฐานในการดีดบ้านในด้านต่างๆและนำเสนอแนวทางการคงมาตราฐานความปลอดภัยแก่การดีดบ้านไม้ 2 ชั้น จากการศึกษาการดีดบ้านไม้ 2 ชั้น มีขั้นตอนจำแนกออกมาได้เป็นช่วงๆทั้งหมด 4 ช่วง ประกอบด้วย 15 ขั้นตอนใหญ่ ได้แก่ -ขั้นการเตรียมการ ได้แก่ ที่มา, การติดต่อเจรจา, การเตรียมอุปกรณ์ -ขั้นตอนก่อนการดีดบ้าน ได้แก่ ขั้นตอนการเตรียมการ, ติดตั้งอุปกรณ์ช่วยการทรงตัว, ประเมินระบบฐานรากและเสา, ติดตั้งอุปกรณ์การดีดบ้าน, การจัดการระบบเสาบ้าน, ติดตั้งอุปกรณ์วัดระดับบ้าน -ขั้นตอนการดีดบ้าน ได้แก่ ลักษณะของการดีดบ้าน, ขั้นตอนในการดีดบ้าน -ขั้นตอนหลังการดีดบ้าน ได้แก่ การถอดเสาเดิม,การเตรียมหลุมวางเสาใหม่,การใส่เสาใหม่,การเก็บรายละเอียด จากขั้นตอนทั้งหมดสามารถวิเคราะห์ถึงรายละเอียดประเด็นปัญหาและข้อสงสัยที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอน โดยแบ่งประเด็นและข้อสงสัยตามองค์ประกอบของเทคโนโลยี ได้เป็น 2 หมวด 1.ประเด็นและข้อสงสัยทางด้านรูปธรรม 2.ประเด็นและข้อสงสัยทางด้านนามธรรม โดยพบว่าพบทั้งประเด็นที่มีผลจากทั้งการทำสัญญา การรับแรงที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายในโครงสร้างโดยใช้หลักทางกลศาสตร์การรับแรงมาอธิบายในรายละเอียดและหาข้อแก้ไขจากหลักการดังกล่าว เพื่อสร้างมาตราฐานความปลอดภัยในการดีดบ้านให้แก่ชุมชน แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาศึกษาเปรียบเทียบกับความสามารถของช่างและขาวบ้านในชุมชน พบว่าช่างและชาวบ้านในชุมชนนั้นสามารถทำการดีดบ้านได้เองโดยผ่านการเรียนรู้จากช่างดีดบ้านเพื่อศึกษาในขั้นตอนที่เกี่ยวกับการดีดบ้านและทำซ้ำให้เกิดความชำนาญพัฒนาจนเกิดเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับคนในชุมชนen
dc.description.abstractalternativeFlooding occurs regularly in Thailand, affecting many areas and provinces. In 2011, Ayutthaya was one of the provinces submerged for more than five months because it is made up of pan-shaped lowlands serving as drainage basins to prevent floods from reaching Bangkok. Villages in Hua Wiang Municipality, Sena District, were also flooded for a long period of time. To deal with this problem, villagers used a house lifting method, considered to be effective in adjusting quickly to flooding, to increase the level of the basement of their house. This study examined the house lifting processes of two-story timber houses in Hua Wiang Municipality, Sena District, Ayutthaya. The data were collected using field surveys, measurement of the sample houses, and interviews with villagers and house lifting contractors. The house lifting processes were analyzed by making plans and models of the samples before, during, and after the lifting. Analysis was also conducted on issues affecting the standards of lifting, and recommendations were made as to safety standards. The results showed that the lifting techniques of local contractors were not formally taught but resulted from a process of trial and error. Analysis and calculation of structures were made based on instinct and estimation, which were not theory-driven. In terms of the lifting processes, four major stages consisting of 15 minor steps were identified as follows: 1) preparation stage, comprised of background discussions, negotiations, and equipment preparation; 2) pre-lifting stage, comprised of preparation, balance equipment installation, foundation and pile assessment, lifting equipment installation, pile work, and installation of level measurement tools; 3) lifting stage, comprised of lifting styles and lifting steps; and 4) post-lifting stage, comprised of extraction of the existing piles, preparation for piling work, piling, and finishing work. As regards the issues affecting lifting standards, the findings showed that the problems that arose could be classified into two types: concrete problems and abstract problems. These included problems resulting from the construction contracts as well as from the impact of the force during the lifting processes on the structures of the houses. Therefore, such issues were discussed with the local contractors and villagers so as to establish lifting safety standards for everyone involved. It was also found that the villagers were able to carry out house lifting on their own through learning from the local contractors.en
dc.format.extent15703985 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1539-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการย้ายบ้าน -- ไทย -- อยุธยาen
dc.subjectบ้าน -- มาตรการความปลอดภัยen
dc.subjectการป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยen
dc.titleการดีดบ้านไม้ 2 ชั้น : กรณีศึกษา เทศบาลตำบลหัวเวียง ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา จังหวัดอยุธยาen
dc.title.alternativeHouse lifting process : case study of two storey timber house in Hua Wiang municipality Sena district Ayutthayaen
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChonlathi.I@Chula.ac.th-
dc.email.advisorTerdsak.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.1539-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
polsit_he.pdf15.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.