Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28671
Title: | การศึกษาการจัดกิจกรรมการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัด : การศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | A study of the organization of personnel development activities of elementary schools under the jurisdiction of the office of the provincial primary education : a case study of Changwat Samut Prakan |
Authors: | สกล รุ่งโรจน์ |
Advisors: | อมรชัย ตันติเมธ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมในการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาสมุทรปราการ 2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการจัดกิจกรรมการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาสมุทรปราการวิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 148 คน ครู-อาจารย์ จำนวน 1,569 คน ประชากรที่ตอบแบบสอบถามเป็นผู้บริหารทั้งหมด โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (stratified Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 160 คน รวมเป็นประชากรและกลุ่มตัวอย่างสำหรับการตอบแบบสอบถาม 308 คน สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ได้แก่ผู้บริหาร สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาสมุทรปราการโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified Random sampling) จากแต่ละอำเภอ/กิ่งอำเภอ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 25 คน และครู-อาจารย์จำนวน 74 คน โดยสุ่มมาจากโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 74โรงเรียน สุ่มมาโรงเรียนละ 1 คน รวม เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ทั้งสิ้น 99 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ได้นำมาวิเคราะห์โดยคำนวณหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย โรงเรียนส่วนใหญ่มีการกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ในการพัฒนาบุคลากร มีการแจ้งและรับทราบนโยบายอย่างกว้างๆในที่ประชุม มีการดำเนินการและการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ กิจกรรมการพัฒนาบุคลากรทั้ง 8 กิจกรรม โรงเรียนมีการปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างมาก แต่กิจกรรมการฝึกอบรมหรือประชุมปฏิบัติการ เป็นกิจกรรมที่ผู้บริหารและครู-อาจารย์ต้องการให้จัดมากที่สุด มีการประเมินผลการจัดกิจกรรมแต่ผู้บริหารและครูอาจารย์มีความคิดเห็นไม่สอดคล้องกันในด้านการนำผลการประเมินไปใช้ ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาบุคลากร ทั้งกลุ่มผู้บริหารและกลุ่มครู-อาจารย์มีความเห็นตรงกันว่า สาเหตุส่วนใหญ่เกิดมาจากการขาดแคลนงบประมาณ ไม่มีการจัดสรรงบประมาณไว้เป็นสัดส่วน ตลอดจนขาดเอกสารวารสารและตำราทางวิชาการที่จะเอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรม |
Other Abstract: | Research purposes 1. To study the organization of personnel Development Activities of Elementary Schools under the Jurisdiction of the Office of the provincial Primary Education changwat a Samut Prakan, 2. To study the problems and obstacles of the Organization of Personnel Development Activities in Elementary Schools under the Jurisdiction of the office of the provincial primary Education Changwat samut Prakan. Research Proceduce The population involved in the research were 148 school administrators and 1,569 teachers. The population who answered questionnaire included all the school administrators and 160 teachers, relected from 10% of ench Amphur/Kingamphur using stratified random sampling technique, tolalling 308 . The samples for interview include 25 school administrators selected from 16c9 % of the schools using stratified random sampling technique and 74 teachers, sampled 1 each from the selected 74 schools, totalling 99. The instruments used in this study were questionnaires and structured interview which were constructed and collected by the research. The data were analyzed by means of frequency percentage, means, standard deviation and content analysis. Findings The most of schools are set policy and objectives in personnel development. Teachers are informed about the scope of the policies at the meeting. Schools have a systematic planning in personnel development All 8 development activities were conducted in a rather high level. But training activities and workshop are want most by the administrators and teachers. There are the activities evaluation but the administrators and teachers disagreed in implementation. The problems and obstacles in organization personnel development activities were unanimously pointed out by the administrators and the teachers to the lack of funds and improper provision of budget, and lack of documents, journals and academic materials to facilitate the organization of development activities. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28671 |
ISBN: | 9745678155 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sakol_ru_front.pdf | 6.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sakol_ru_ch1.pdf | 6.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sakol_ru_ch2.pdf | 30.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sakol_ru_ch3.pdf | 6.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sakol_ru_ch4.pdf | 42.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sakol_ru_ch5.pdf | 17.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sakol_ru_back.pdf | 26.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.