Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28789
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชัยโชค จุลศิริวงศ์ | - |
dc.contributor.author | เวณิกา บุญมาคลี่ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2013-02-08T07:38:01Z | - |
dc.date.available | 2013-02-08T07:38:01Z | - |
dc.date.issued | 2536 | - |
dc.identifier.isbn | 9745827746 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28789 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษานโยบายต่างประเทศของไทยต่อสหภาพ เมียนมาร์ในสมัยนายกรัฐมนตรีพล เอกชาติชาย ชุณหะวัณ (พ.ศ. 2531-2534) โดยต้องการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อผู้มีบทบาทในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของไทยต่อพม่า ทั้งนี้ได้นำเรื่องของผลประโยชน์แห่งชาติทางด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจที่ไทยจะได้รับจากการเป็นมิตรกับพม่ามาพิจารณาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ไทยจะได้รับหากปฏิบัติตามมติของประชาคมโลกที่หยิบยกประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายในพม่าขึ้นมาเป็นเหตุผลในการใช้มาตรการกดดันพม่า ผลจากการศึกษาปรากฏว่าผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายต่างประ เทศของไทย ต่อพม่าในช่วงเวลาดังกล่าว ได้แก่ กระทรวงการต่างประ เทศ สภาความมั่นคงแห่งชาติ และกองทัพ ต่างมีทัศนะที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ สถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองภายในพม่า ซึ่งรวมไปถึงปัญหาสิทธิมนุษยชนนั้น เป็นปัญหาภายในของพม่า ซึ่งไทยไม่มีสิทธิ เข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะจะถูกมองว่าไทยได้ เข้าแทรกแซงกิจการภายในของพม่า ผู้มีส่วนในการกำหนดนโยบายยังมองว่า นานาประเทศที่ให้ความสำคัญต่อประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่านั้น ไม่ได้ปฏิบัติตามมติดังกล่าวอย่างแท้จริง เพราะยังคงอนุญาตให้เอกชนของตนเข้าไปลงทุนในพม่าต่อไป และการใช้มาตรการกดดันพม่าดังกล่าว จะผลักดันพม่าให้กลับไปมีสภาพเหมือน เช่นในสมัยที่ เนวินปกครองอยู่ และปิดตัวจากโลกภายนอก ยิ่งไปกว่านั้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายพิจารณาว่าหากไทย เป็นมิตรกับพม่า แล้ว นอกจากจะ เปิดโอกาสให้ไทยชักจูงรัฐบาลทหารพม่าให้ยุติพฤติกรรมการละเมิดสิทธิมนุษยชนแล้ว ที่สำคัญคือยังส่งผลให้ไทยสามารถ เจรจากับรัฐบาลพม่า เพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงในบริเวณแนวชายแดนด้านตะวันตก ซึ่งได้กลาย เป็นปัญหาเรื้อรังและ เป็นปัญหาร่วมระหว่าง 2 ประเทศไปแล้ว นอกจากนยังช่วยทำให้พม่าเปิดโอกาสแก่ไทยในการเข้าไปลงทุนทางด้านการค้าและธุรกิจในประเทศ ได้อีกด้วย โดยเฉพาะใน เรื่องของสัมปทานไม้และประมง อย่างไรก็ตามมีข้อน่าสังเกตประการหนึ่งว่านโยบายดังกล่าว เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของชาติหรือผลประโยชน์ เฉพาะกลุ่ม เนื่องจากผู้ที่เข้าไปมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในประเทศพม่านั้นโดยมากจะเป็นนักการเมือง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักการเมืองหรือฝ่ายทหาร | - |
dc.description.abstractalternative | This thesis attempts to make a study on the Thai foreign policy towards the Union of Myanmar during Chatichai Choonhavan (1988-1991). The purpose of this study is to analyze which factors, either the national security and economy or human rights, influenced Thai policy-makers. The study found that Thai policy-makers during the Chatichai Government were members of the Ministry of Foreign Affairs, the National Security and the Military. They believed that political situations and human right problems in the Union of Myanmar were internal affairs and the Thais had no rights to interfere. In addition, Thai policy-makers did not want the Myanmar Military Government to see the Thais make this move. So they should not follow world's public opinions which asked every country to isolate and sanction the Union of Myanmar! However, many countries did not really follow the afore-mentioned opinions. They still allowed their private companies to contact the Myanmar Military Government economically. Furthermore, the Thais also believed that the pressures might push the Myanmar Military Government to re-apply policies as previously used during General Ne win regime. Moreover, Thai policy-makers hoped that the good and friendly relations might help the Myanmar Military Government cease abusing human rights. The most significant point was that the Thais might be able to solve the acute security problems occurred along the Thai-Myanmar border. Furthermore the Thais might gain economic interests such as external markets and investments, natural resources forest products and fisheries. However, one major query on these policies was who really gained the benefits from these outcomes, the Thai public or some specific interest groups as most of the capitalists who invested in the Union of Myanmar in one way or another had connections with either political parties or military groups. | - |
dc.format.extent | 5194515 bytes | - |
dc.format.extent | 8503157 bytes | - |
dc.format.extent | 13058116 bytes | - |
dc.format.extent | 11998885 bytes | - |
dc.format.extent | 32964996 bytes | - |
dc.format.extent | 18586720 bytes | - |
dc.format.extent | 29993951 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | นโยบายต่างประเทศของไทยต่อสหภาพเมียนมาร์ ในสมัยนายกรัฐมนตรีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ | en |
dc.title.alternative | Thai Foreign Policy Towards the Union of Myanmar During Chatichai Coonhavan (1988-1991) | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Venika_bo_front.pdf | 5.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Venika_bo_ch1.pdf | 8.3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Venika_bo_ch2.pdf | 12.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Venika_bo_ch3.pdf | 11.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Venika_bo_ch4.pdf | 32.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Venika_bo_ch5.pdf | 18.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Venika_bo_back.pdf | 29.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.