Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28807
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ศิริชัย กาญจนวาสี | - |
dc.contributor.advisor | ดิเรก ศรีสุโข | - |
dc.contributor.author | สุนทร เทียนงาม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-02-08T15:27:48Z | - |
dc.date.available | 2013-02-08T15:27:48Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28807 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลของระดับความไม่เป็นอิสระของข้อสอบต่อค่าความเที่ยงของแบบสอบ ค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบ ค่าความสามารถของผู้สอบและสารสนเทศของแบบสอบ ด้วยโมเดลทฤษฎี การตอบสนองข้อสอบ ที่มีจำนวนข้อสอบและขนาดกลุ่มตัวอย่างแตกต่างกัน และเพื่อวิเคราะห์ลักษณะความไม่เป็นอิสระของข้อสอบจากแบบสอบจริง การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลองโดยการจำลองข้อมูลด้วยเทคนิคมอนติคาร์โล จำนวนตัวแปรประกอบด้วย ระดับความไม่เป็นอิสระของข้อสอบ 9 ระดับโดยแบ่งเป็น กลุ่มย่อย 3 ระดับ (ระดับต่ำ, ปานกลางและสูง) โมเดลทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ 3 โมเดล (1PL, 2PLและ 3PL) จำนวนข้อสอบ 3 กลุ่ม (30, 50 และ80 ข้อ) และ ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม (400, 800 และ1200 คน) รวมจำนวนเงื่อนไขทั้งหมด 243 เงื่อนไข และกำหนดจำนวนรอบที่ใช้การประมาณค่าพารามิเตอร์ในแต่ละเงื่อนไข 1000 รอบ และใช้วิธีการศึกษาจากข้อมูลจริงในวิชาคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ โปรแกรมที่ใช้ในการจำลองข้อมูล คือ Fortran Power Station 4.0 และโปรแกรมในการตรวจสอบความไม่เป็นอิสระของข้อสอบ คือ LDID (A Computer Program for Local Dependence Indices for Dichotomous Item Version 1) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เมื่อระดับความไม่เป็นอิสระของข้อสอบเพิ่มสูงขึ้น ค่าความเที่ยง(KR20) จะเพิ่มสูงขึ้นในทุกเงื่อนไขของการทดสอบ โดยเมื่อใช้จำนวนข้อสอบ 30 ข้อ ค่าความเที่ยงต่ำสุด-สูงสุดมีค่าเท่ากับ 0.671-0.740 จำนวนข้อสอบ 50 ข้อ ค่าความเที่ยงต่ำสุด-สูงสุด มีค่าเท่ากับ 0.773-0.828 และจำนวนข้อสอบ 80 ข้อ ค่าความเที่ยงต่ำสุด-สูงสุดมีค่าเท่ากับ 0.845-0.886 2. เมื่อวิเคราะห์ข้อสอบตามแนวทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ มีจำนวนผู้สอบ 400 800 และ 1200 คน ทำข้อสอบ 30 50 และ 80 ข้อ ตามลำดับ (2.1) เมื่อวิเคราะห์โดยใช้โมเดล 1 พารามิเตอร์ พบว่า เมื่อระดับความไม่เป็นอิสระของข้อสอบเพิ่มสูงขึ้น ค่าความยากง่ายและค่าความสามารถไม่แตกต่างกัน และค่าสารสนเทศของแบบสอบส่วนใหญ่มีแนวโน้มคงที่ (2.2) เมื่อวิเคราะห์โดยใช้โมเดล 2 พารามิเตอร์ พบว่า ส่วนใหญ่ค่าความยากง่ายลดลง แต่ค่าอำนาจจำแนก ค่าความสามารถและสารสนเทศของแบบสอบมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยส่วนใหญ่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2.3) เมื่อวิเคราะห์โดยใช้โมเดล 3 พารามิเตอร์ พบว่า ค่าความยากง่าย ค่าความสามารถและสารสนเทศของแบบสอบมีแนวโน้มลดลง แต่สำหรับค่าอำนาจจำแนก ค่าการเดาส่วนใหญ่มีแนวโน้มสูงขึ้นและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เมื่อวิเคราะห์ความไม่เป็นอิสระของข้อสอบโดยใช้ข้อมูลจริงด้วยโมเดล 1, 2 และ 3 พารามิเตอร์ สำหรับวิชาคณิตศาสตร์ พบว่า ค่าเฉลี่ย ∣Q3∣ มีค่าเท่ากับ 0.035 0.026 0.022 ตามลำดับ และในวิชาภาษาอังกฤษ พบว่า ค่าเฉลี่ย ∣Q3∣ มีค่าเท่ากับ 0.033 0.028 0.022 ตามลำดับ มีค่าใกล้เคียงกับค่าคาดหวังของ ∣Q3∣ ซึ่งมีค่าเท่ากับ .025 แสดงว่าข้อสอบส่วนใหญ่มีความไม่เป็นอิสระของข้อสอบเล็กน้อย | en |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were (1) to study the effect of local item dependence (LID) on the estimation of reliability, item parameters, ability and test information under different testing conditions, and (2) to study the presence of LID in Mathematics and English Test in real data. Conducting the experimental research by Monte Carlo simulation technique was used to imply. All conditions were consists of 9 levels of local item dependence and divided into 3 subgroups (mild, medium, strong), 3 IRT Models (1PL, 2PL, 3PL), 3 item datasets (30, 50, 80) and 3 sample sizes (400, 800, 1200). The entire total of testing conditions was 243. The 1000 replications used to estimate the item parameters and test statistics in each condition. In addition, analyzing the real data in Mathematics and English Test. Fortran Power Station Version 4.0 was used to generate the items datasets and LDID (A Computer Program for local Dependence Indices for Dichotomous Item 1. Version 1.0.) was used to detect LID all testing conditions. The research results were as follows: 1. The reliability continuously increased when LID increase for all conditions. The Minimum- Maximum of reliability is 0.671-0.740 for 30 items, 0.773-0.823 for 50 items and 0.845-0.886 for 80 items respectively. 2. According to IRT analysis, for the case of 400, 800 and 1200 examinees by 30, 50 and 80 items: (2.1) for 1PL Model were found that the difficulty, ability were not different while test information tended to decrease with statistical significant different level at .01. (2.2) for 2PL Model, most of all conditions were found that the difficulty decreased when the discrimination, ability and test information tended to increase with statistical significant different level at .05. (2.2) for 3PL Model was found that the difficulty, ability and test information tended to decrease while the discrimination and guessing mostly tended to increase and statistical significant different level at .05. 3. For the real data analysis by 1PL, 2PL and 3PL in Mathematics Test were found that the mean ∣Q3∣ were 0.035, 0.026, 0.022 and English Test was 0.031, 0.028 and 0.022 respectively. Most of ∣Q3∣ were closed to absolute expected Q3 as .025. It was shown that those tests were slightly local item dependent. | en |
dc.format.extent | 2179601 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.676 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ข้อสอบ -- ความเที่ยง | en |
dc.title | ผลของความไม่เป็นอิสระของข้อสอบที่มีต่อค่าความเที่ยง ค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบ ค่าความสามารถของผู้สอบและสารสนเทศของแบบสอบเมื่อมีเงื่อนไขการทดสอบที่แตกต่างกัน | en |
dc.title.alternative | Effects of local item dependence on reliability, item parameters, person ability estimates and test information under different testing conditions | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | es |
dc.degree.discipline | การวัดและประเมินผลการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Sirichai.k@chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Derek.s@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.676 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sunthorn_th.pdf | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.