Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28818
Title: การประเมินหลักสูตรการสาธารณสุขชุมชน (ผดุงครรภ์อนามัย) : การศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนผดุงครรภ์อนามัย ศูนย์อนามัยแม่และเด็กเขต 9 จังหวัดยะลา
Other Titles: An eveluation of community health curriculum (Health and midwifery) : a case study of midwifery school, maternal and child health center, region 9 Changwat Yala
Authors: ภัทรา อรัณยภาค
Advisors: บุญมี เณรยอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อประเมินหลักสูตรการสาธารณสุขชุมชน (ผดุงครรภ์อนามัย) ฉบับ พ.ศ.2526 ของโรงเรียนผดุงครรภ์อนามัย ศูนย์อนามัยแม่นละเด็กเขต 9 จังหวัดยะลา วิธีดำเนินการวิจัย การประเมินหลักสูตรการสาธารณสุขชุมชน(ผดุงครรภ์อนามัย) ในครั้งนี้เป็นการศึกษา ในลักษณะการวิจัยเชิงบรรยาย โดยศึกษาตามกรอบการประเมินของแบบจำลองซิป ( CIPP Model ) ด้วยการศึกษาข้อมูลจากประชากร 4 กลุ่ม จำนวน 593 คน คือ อาจารย์ 43 คน นักศึกษา 220 คน ผดุงครรภ์อนามัย 165 คน และผู้บังคับบัญชาขั้นต้นของผดุงครรภ์อนามัย 165 คน ใช้เครื่องมือคือแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองจำนวน 4 ชุด ลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ มาตราส่วนประมาณค่า และปลายเปิด การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการรวบรวมด้วยตนเองบางส่วนและใช้บริการของการไปรษณีย์เป็นบางส่วนแบบประเมินที่ได้รับคืนและผ่านการตรวจสอบความสมบูรณ์สามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูลได้คิดเป็นร้อยละ 93.42 ของแบบประเมินที่ ส่งไปทั้งหมด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1. การประเมินบริบท การกำหนดวัตถุประสงค์ โครงสร้าง และเนื้อหาสาระของหลักสูตรมีความเหมาะสม สอดคล้องกันในระดับค่อนข้างมาก คือ วัตถุประสงค์ของหลักสูตรเขียนไว้ชัดเจนค่อนข้างมาก สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้มีความสอดคล้องกับความต้องการของสังคม และมีความเป็นเอกลักษณ์แห่งวิชาชีพในระดับค่อนข้างมาก โครงสร้างของหลักสูตรในระดับหมวดวิชาและระดับ รายวิชาส่วนใหญ่มีความเหมาะสมแล้ว เนื้อหาสาระของหลักสูตรมีปริมาณเหมาะสมกับเวลาที่ใช้ ในการศึกษา และมีความยากง่ายเหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียนเนื้อหารายวิชาในหมวด วิชาชีพมีความจำเป็นต่อการนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน เนื้อหามีความน่าสนใจและมีความทันสมัย ค่อนข้างมาก ตลอดจนเนื้อหารายวิชามีปริมาณเหมาะสมกับจำนวนหน่วยกิตในระดับค่อนข้างมาก 2. การประเมินปัจจัยเบื้องต้น ปัจจัยเบื้องต้นด้านผู้สอนและผู้เรียนมีความเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนี้ในระดับค่อนข้างมาก ยกเว้นสิ่งประกอบการเรียนการสอนเช่น ตำรา โสตทัศนูปกรณ์ วัสดุอุปกรณ์การฝึกปฏิบัติ และสถานที่เรียนนั้นพบว่าบางชนิดมีปริมาณค่อนข้างน้อย บางชนิดมี คุณภาพค่อนข้างต่ำ และบางชนิดมีความสะดวกในการใช้บริการค่อนข้างน้อย สถานที่ฝึกปฏิบัติงาน บางแห่งมีประเภทและปริมาณของผู้ป่วยสำหรับการฝึกปฏิบัติอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย 3. การประเมินกระบวนการ การจัดการเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผลการเรียนการสอนโดยทั่วไปและในระดับรายวิชาส่วนใหญ่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับค่อนข้างมาก มีเพียงบางรายวิชาเท่านั้นที่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย และยังมีความไม่พร้อมเกี่ยวกับการเปิดสอนในหมวดวิชาเลือก ซึ่งควรให้นักศึกษาเลือกเรียนได้อย่างเสรี 4. การประเมินผลผลิต ผดุงครรภ์อนามัยที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรการสาธารณสุขชุมชน (ผดุงครรภ์อนามัย) จากโรงเรียนผดุงครรภ์อนามัย ศูนย์อนามัยแม่และเด็กเขต 9 จังหวัดยะลา มีคุณลักษณะทั่วไปและคุณลักษณะเฉพาะทางวิชาชีพพึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ของหลักสูตร มีความรู้ความสามารถตรงตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ของหลักสูตรในระดับค่อนข้างมาก
Other Abstract: Purposes of the study To evaluate the Community Health Curriculum ( Health and Midwifery ) B.E.2526 at Midwifery School, Maternal and Child Health Center, Region 9 Changwat Yala. Methodology The CIPP Model was employed as a conceptual framework for this study oywhicn the population used consisted of 593 persons ; 43 instructors, 220 midwifery students, 165 midwives and 165 immediate supervisors. The instruments used in this study were the questionnaires which were constructed in the forms of checklist, rating scale and open-ended types. The questionnaires were collected through personal contact and mail. Five hundred and fifty four copies of questionnaires or 93.42 percent were complete and returned. The data were analyzed by using percentage, arithmatic mean and standard deviation. Findings : 1. Context evaluation. The findings of the study showed that the curriculum objectives, structure and content were relevant to each other. The curriculum objectives were clearly understandable, practicable and suitable to the social needs bywhich the curriculum structure and content were appropriate to the time period and the student capability Curriculum content also were interested and up to date. 2. Input evaluation. With regard to instructors and student they both were rated at almost high level of performance and capability. Learning aids, learning materials, textbooks, classrooms and audiovisual aids were rated at almost low level due to their supply, quality and convenience 3. Process evaluation. The instructional process and evaluation in almost every subject were rated at almost high level except few were rated at almost low level. However, there still be the unreadiness concerning the elective subjects offering. 4. Product evaluation. The findings concerning the capability and performance of those who graduated from the Midwifery School, Maternal and Child Health Center, Region 9 Changwat Yala showed that they were rated at high level. They were all capable of performing their functions as listed in curriculum objectives.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28818
ISBN: 9745675016
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patra_ar_front.pdf9.36 MBAdobe PDFView/Open
Patra_ar_ch1.pdf8.72 MBAdobe PDFView/Open
Patra_ar_ch2.pdf23.79 MBAdobe PDFView/Open
Patra_ar_ch3.pdf4.73 MBAdobe PDFView/Open
Patra_ar_ch4.pdf37.17 MBAdobe PDFView/Open
Patra_ar_ch5.pdf14.55 MBAdobe PDFView/Open
Patra_ar_back.pdf58.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.