Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28987
Title: การประยุกต์แนวคิดทฤษฎีรูปแบบฟาเซทในการเขียนข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์
Other Titles: An application of the concept of facet design theory in item writing of mathematics
Authors: สุภาภรณ์ โลหะการก
Advisors: สุวิมล ว่องวานิช
Other author: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประยุกต์แนวคิดทฤษฎีรูปแบบฟาเซทในการสร้างแบบสอบอิงเกณฑ์วิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุทัยธานี ปีการศึกษา 2532 จำนวน 640 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบอิงเกณฑ์วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง รูปทรงและปริมาตร และแบบสอบคู่ขนานอีก 4 ฉบับ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบสอบอิงเกณฑ์ เว้นระยะ 1 สัปดาห์ ทำการทดสอบซ้ำด้วยแบบสอบคู่ขนาน นำผลการสอบมาวิเคราะห์หาคุณภาพของเครื่องมือ ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดทฤษฎีรูปแบบฟาเซท สามารถใช้สร้างแบบสอบอิงเกณฑ์วิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างมีคุณภาพ โดยมีความตรงเชิงเนื้อหา มีค่าความยากอยู่ระหว่าง .20 ถึง .89 มีค่าดัชนีความไวอยู่ระหว่าง .13 ถึง .43 ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงแบบสอบซ้ำ เท่ากับ .47 ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน เท่ากับ .89 และมีค่าสัมประสิทธิ์ความตรงในการตัดสินใจ เท่ากับ .75 นอกจากนี้ยังพบว่า แนวคิดดังกล่าวสามรถใช้สร้างแบบสอบคู่ขนานได้หลายฉบับด้วยวิธีการที่ง่ายขึ้น ทั้งนี้แบบสอบคู่ขนานจำนวน 4 ฉบับ มีค่าความยากอยู่ระหว่าง .20 ถึง .93, .20 ถึง .96, .21 ถึง .94 และ .21 ถึง .93 ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน เท่ากับ .91, .91, .91 และ .89 ตามลำดับ และมีค่าความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์กับแบบสอบอิงเกณฑ์ฉบับแรกเท่ากับ .75, .75, .76 และ .76 ตามลำดับ ในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีรูปแบบฟาเซทในการเขียนข้อสอบนั้น พบว่า มีข้อจำกัดในขั้นตอนการสร้างรูปแบบฟาเซทเนื่องจากใช้ระยะเวลานาน แต่เมื่อสร้างรูปแบบฟาเซทได้แล้วจะมีข้อดีคือสามารถสร้างข้อสอบที่มีคุณภาพได้จำนวนมาก และสร้างแบบสอบคู่ขนานได้ง่าย และรวดเร็ว
Other Abstract: The main purpose of this study was to apply the concept of facet design theory to construct a criterion-referenced test. The subjects of this study were 640 Pratom Suksa Six students in Uthai Thani School in 1989 (2532 B.E.). The instruments used in the research were a criterion-referenced test and four parallel tests in Mathematics on “Shape and Capacity”. The data were collected by means of the pretest and posttest technique of the criteriton-referenced test. A week later, test-retest was performed after the posttest, using the four parallel tests. The quality of the instruments was determined as follows. The application of the concept of facet design theory to construct a criterion-referenced test in Mathematics was satisfactory. It has content validity. The difficulty indices were ranging from .20 to .89. The sensitivity indices were ranging from .13 to .43. The test-retest reliability coefficient was .47. The internal-consistency reliability coefficient was .89. The decision validity coefficient was .75. Besides, it also made a construction of many parallel tests easy. The difficulty indices of the four parallel tests were ranging from .20 to .89, .20 to .93, .20 to .96, .21 to .94, and .21 to .93, respectively. The internal-consistency realiability coefficients were .91, .91, .91, and .89, respectively. The criterion-related validity were .75, .75, .76, and .76, respectively. One of the disadvantages in applying the facet design theory in item writing was that it took much time in constructing facets. An advantage was that, after the facets were determined, many qualified test items and parallel tests could be easily and quickly constructed.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28987
ISBN: 9745783722
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supaporn_lo_front.pdf4.25 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_lo_ch1.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_lo_ch2.pdf15.1 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_lo_ch3.pdf15.1 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_lo_ch4.pdf6.72 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_lo_ch5.pdf3.81 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_lo_back.pdf21.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.