Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29053
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสืบแสง พรหมบุญ
dc.contributor.advisorเดช บุนนาค
dc.contributor.authorสุภาสินี ชมะสุนทร
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-02-22T02:17:17Z
dc.date.available2013-02-22T02:17:17Z
dc.date.issued2528
dc.identifier.isbn9745643777
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29053
dc.description.abstractในการนำประเทศไปสู่ความเจริญนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริที่จะปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินเสียใหม่ โดยให้พระมหากษัตริย์ทรงได้รับพระราชอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศมูลเหตุแห่งพระราชดำรินี้มีอยู่สองประการ คือ ประการแรก ระบบบริหารราชการแผ่นดินในระยะนั้น ขาดประสิทธิภาพ และเป็นอุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่งต่อการปรับปรุงประเทศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประการที่สอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขาดพระราชอำนาจทางการเมือง เนื่องจากอำนาจทางการเมืองส่วนใหญ่อยู่ในครอบครองของกลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาค ซึ่งมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้นำ ประกอบกับกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยนี้ ก็อยู่ในข่ายที่จะเป็นอันตรายต่อพระมหากษัตริย์ การปรับปรุงประเทศตามแนวพระราชดำริข้างต้นนี้ ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรงระหว่างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ และกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มการเมืองใหญ่ที่คัดค้านพระบรมราโชบายในการปรับปรุงประเทศ ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่มผู้นำต่าง ๆ นี้ ก็คือ ลักษณะเด่นของการเมืองไทยต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและแสดงถึงความคิดที่แตกต่างกันของผู้นำในเรื่องนี้ด้วย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ประสงค์ที่จะศึกษาแนวคิดของผู้นำทางการเมืองกลุ่มใหญ่ ๆ ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สนองตอบต่อพระบรมราโชบายในการปรับปรุงประเทศ กลุ่มการเมืองใหญ่นี้ประกอบด้วย กลุ่มพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กลุ่มผู้สำเร็จราชการแผ่นดินกลุ่มกรมพระราชวังบวรสถานมงคล การศึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงประเทศในรัชสมัยนี้ จากรากฐานของควมคิดที่แตกต่างกันภายในกลุ่มผู้นำต้นรัชกาลจะทำให้สามารถเข้าใจถึงการปรับปรุงประเทศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ จากการศึกษาพบว่า แนวความคิดที่แตกต่างกันของผู้นำแต่ละกลุ่มในช่วงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มีพื้นฐานมาจากความพยายามที่จะปกป้องและช่วงชิงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และการเมืองระหว่างกัน การปรับปรุงประเทศเพื่อให้อำนาจทางการบริหารรวมศูนย์อยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2416 ได้กระทบกระเทือนผลประโยชน์ของกลุ่มผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และกลุ่มกรมพระราชวังบวรสถานมงคลอย่างรุนแรง เป็นผลให้ผู้นำของกลุ่มการเมืองทั้งสองด้วยการแสวงหาแนวทางที่จะแสดงถึงสิทธิธรรม และป้องกันผลประโยชน์ของตนมิให้ต้องสูญเสียไป พฤติกรรมที่แสดงออกถึงแนวความคิดของผู้นำที่มีต่อการปรับปรุงประเทศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของแต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ บทความต่าง ๆ ในดรุโณวาท แสดงให้เห็นว่า สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์คัดค้านการปรับปรุงประเทศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างเปิดเผย และพยายามที่จะแสดงสิทธิธรรมในการครอบครองผลประโยชน์ของตนอย่างเต็มที่ วิธีการหนึ่งที่บุคคลผู้นี้ใช้เพื่อแสดงสิทธิธรรมทางการเมืองของตนก็คือ การลดบทบาทของกลุ่มพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวลง การประหารชีวิตพระปรีชากลการที่มีผลไม้ตระกูลอมาตยกุลต้องจบบทบาททางการเมืองในฐานผู้สนับสนุนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่สำคัญลงนั้น นับเป็นความสำเร็จของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในเรื่องนี้ วิกฤติการณ์วังหน้า ซึ่งเกิดขึ้นในปี 2417 และได้มีการนำชาวตะวันตกเข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหานั้น ถือได้ว่าเป็นจุดสูงสุดของความขัดแย้งเพื่อช่วงชิงผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มการเมืองใหญ่ และเป็นการต่อต้านของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลที่เปิดเผยชัดเจนที่สุด ความสำเร็จในการยุติปัญหาและตัดทอนศักยภาพทางการทหารของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลลงไดนั้น เท่ากับเป็นการล้มกลุ่มการเมืองนี้ไปโดยปริยาย และทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีฐานะทางการเมืองที่มั่นคงเพิ่มขึ้น ทางด้านพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ได้ทรงพยายามที่สร้างสิทธิธรรมทางการเมืองและลิดรอนอำนาจของกลุ่มการเมืองทั้งสอง ด้วยการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) และสภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy Council) ขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินพระบรมราโชบายด้านการคลังและการควบคุมกำลังคน การถอดพระยาอาทารบริรักษ์ (นุช บุญหลง) ออกจากตำแหน่งเสนาบดีเกษตราธิการ นับเป็นความสำเร็จของการลิดรอนอำนาจของกลุ่มตระกูลบุนนาคลงได้ในระดับหนึ่ง ด้วยการสนับสนุนของสภาที่ปรึกษาราชการ กลุ่มสยามหนุ่มได้มีส่วนอย่างสำคัญในการตอบโต้กลุ่มการเมืองทั้งสองผ่าน “ดรุโณวาท” ซึ่งมีแนวโน้มของหนังสือพิมพ์ทางการเมืองมากขึ้น บทความต่าง ๆ ที่ตีพิมพ์แสดงให้เห็นอย่างเปิดเผยว่า กลุ่มสยามหนุ่มปฏิเสธกลุ่มการเมืองทั้งสอง และสนับสนุนพระบรมราโชบายในการเสริมสร้างสิทธิธรรมทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อย่างไรก็ดี แนวความคิดเกี่ยวกับวิธีจัดการปกครองประเทศ ที่สมาชิกของกลุ่มสยามหนุ่มบางท่านได้ทูลเกล้าฯ ถวายความคิดเห็นเมื่อปี 2427 มีความแตกต่างไปจากวิธีการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงนำมาเปลี่ยนแปลงระเบียบการปกครองและการบริหารแผ่นดิน วิธีจัดการปกครองประเทศที่แตกต่างกันนี้ แสดงให้เห็นว่าสยามหนุ่มบางท่านมีความคิดที่ต่างไปจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นพัฒนาการทางความคิดอีกขั้นหนึ่งของกลุ่มพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้
dc.description.abstractalternativeIn pursuing more civilization and development of Thailand His Majesty King Chulalongkorn had set up his own thought that the modification of the country’s administration was necessary. By his thought the King should possess greatest power of the administration. There were two motives related to his thought. Firstly, the unefficient administration at the time was the vital obstacle to modernize the country. Secondly, The King himself had no political power because most of such power were in the hands of Bunnag family whom Somdej Chaophraya Borommaha Srisuriyawongse (Chuang Bunnag), the Regent, was the leader. Moreover, the Royal Viceroy (Krom Prarajawangborworn Sathonmongkol), had acted from time to time manacing the monarch. The transformation in accordance with King Chulalongkorn’ thought as mentioned above had created violent political differences between the King and the Regent as well as the Royal Viceroy. The political disagreement between various group leaders at that time could be considered the remarkable episode of Thailand politic at the beginning of King Chulalongkorn’ reign and a great number of different opinions concerning such matter were demonstrated. The aim of this thesis is to study the thoughts of the leaders of major political groups at the beginning of King Chulalongkorn’s reign in response to his policy of modernizing the country. These major political groups consisted of the King’s group, the Regent’s group and the Royal Viceroy’s group. From the basic differences of thoughts of these leaders we can observe the pattern of modernization to which King Chulalongkorn implemented his pursuance. From a great deal of study it was found that the differences of each leader’s thoughts had resulted basically from comprehensive desire to hold their economic and political interests. The modernization policy (to centralize administrative power to the King) which King Chulalongkorn had implemented since 1873 affected tremendously pon the interests of the Regent and the Royal Viceroy that eventually caused the latters to seek the way for claiming their legitimate rights and protecting their diminishing interests. Their behaviors and conducts to the King’s policy clearly denoted the finding of this study. Various articles in Darunowart newsletter (ดรุโณวาท) clearly shown that the Regent did not correspond to the King’s policy in modernizing the country openly and the protection of his interests was obvious. One procedure undertaken by the Regent to claim his legitimate political right was the minimizing the role of the King’s group. The execution of Phraya Preechakolkarn, for example, resulted the ending of the Amatayakul family from the political role as a supporting faction to the King. The Wan Nha (Front Palace) crisis in 1874 in which some western dignitaries were brought to concern with could be cited as the highest degree of conflict between these major political groups of their respective interests and demonstrated the most clearly and openly resistance of the Royal Viceroy. The success of subduing the crisis and subsequent reduction of the Viceroy’s military power meant the automatical dismantling of the Viceroy’s political group and securing the more stable of King Chulalongkorn’s political power. King Chulalongkorn, in the other hand, had been trying to build up his legitimate political right and minimizing the political power of the other groups. The Council of States and the Privy Council were established in order to support his policy of modifying the finance and manpower control activities. The sacking of Phraya Arharnboriruk (Nutch Bunlong) from the position of Minister of Agriculture, by the advice and support of the Council of State, was a success in minimizing the power of the Bunnag family to a certain level. “Young Siam” group was an immense party to counter these two political groups by means of Darunowart newsletter which was considered at that time as a political printed matter. Various articles had shown overtly that Young Siam group opposed the thoughts of the Regent and the Royal Viceroy’s groups politically. They strongly supported the King in seeking his legitimate political rights. However, the concept of administrative procedure which some members of Young Siam group had submitted to King Chulalongkorn in 1884 differed from the King’s pattern. The difference of such concepts demonstrated that some members of Young Siam group were subsequently not in the same line with the King and signified that it was another step of development of thought within the group of the King Chulalongkorn.
dc.format.extent8086154 bytes
dc.format.extent29135423 bytes
dc.format.extent28135090 bytes
dc.format.extent31827624 bytes
dc.format.extent3865347 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleแนวความคิดทางการเมืองของกลุ่มผู้นำ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวระหว่าง พ.ศ. 2411-2436en
dc.title.alternativePolitical thoughts of elite groups in The Reing of King Chulalongkorn During 1863-1893en
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประวัติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supasinee_kh_front.pdf7.9 MBAdobe PDFView/Open
Supasinee_kh_ch0.pdf28.45 MBAdobe PDFView/Open
Supasinee_kh_ch1.pdf27.48 MBAdobe PDFView/Open
Supasinee_kh_ch2.pdf31.08 MBAdobe PDFView/Open
Supasinee_kh_back.pdf3.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.