Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29137
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรวุฒิ ประดิษฐานนท์
dc.contributor.authorพิชัย ทองอุทัยศิริ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-02-27T02:59:42Z
dc.date.available2013-02-27T02:59:42Z
dc.date.issued2536
dc.identifier.isbn9745825999
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29137
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536en
dc.description.abstractการศึกษาการจำลองสภาพระบบลุ่มน้ำตาปีโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย มีจุดมุ่งหมายใน การศึกษาพฤติกรรมของระบบที่เป็นผลจากการจัดการลุ่มน้ำตาปีทางด้าน การชลประทาน การผลิตไฟฟ้า และการบรรเทาอุทกภัยโดยใช้โปรแกรม HEC-5 เพื่อหาการจัดการลุ่มน้ำตาปีแบบต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด การดำเนินการศึกษาประกอบด้วย การปรับเทียบแบบจำลองกับการดำเนินการของอ่างเก็บน้ำที่ผ่านมา เพื่อปรับค่าตัวแปรต่าง ๆ ของโปรแกรมที่ให้ค่าใกล้เคียงกับการดำเนินงานจริงมากที่สุด จากนั้นจึงนำไปศึกษาวิเคราะห์ระบบของลุ่มน้ำตาปี ในกรณีศึกษา 3 รูปแบบ ดังนี้ รูปแบบที่ 1 ระบบที่ไม่มีการพัฒนารูปแบบที่ 2 ระบบที่มีเพียงเขื่อนรัชชประภา และ รูปแบบที่ 3 ระบบที่มีเขื่อนรัชชประภา และเขื่อนแก่งกรุง โดยใช้ข้อมูลในช่วงปีพ.ศ. 2507-2534 ยาว 28 ปี ในการศึกษา ผลการศึกษาพอสรุปได้ว่า เขื่อนรัชชประภาไม่มีส่วนช่วยเพิ่มพื้นที่ชลประทานตามเป้าหมายระยะที่ 1 แต่อย่างใด ส่วนเขื่อนแก่งกรุงจะสามารถช่วยเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ 169,000 ไร่ ตามเป้าหมายระยะที่ 2 โดยเงื่อนไขของการชลประทานที่ได้ผล คือ ยอมให้พืชที่ปลูกขาดน้ำได้ 1 ครั้งในรอบ 5 ปี การผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสมของเขื่อนรัชชประภา พบว่าควรจะเป็น 4 ชม./วัน และ 5.5 ชม./วัน สำหรับเขื่อนแก่งกรุง โดยเขื่อนรัชชประภาจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้เฉลี่ยปีละ 480 ล้านกิโลวัตต์-ชม. ซึ่งมากกว่าความต้องการเฉลี่ยรายปี คือ 350 กิโลวัตต์-ชม. แต่เขื่อนแก่งกรุงสามารถผลิตไฟฟ้าได้เฉลี่ยปีละ 169 ล้านกิโลวัตต์-ชม. ซึ่งน้อยกว่าความต้องการเฉลี่ยรายปี คือ 178 ล้านกิโลวัตต์-ชม. การควบคุมอุทกภัยโดยเขื่อนรัชชประภา และเขื่อนแก่งกรุง เนื่องจากข้อมูลน้ำท่ารายวันที่สอดคล้องกันทั้งระบบมีเพียงเหตุการณ์เดียว ซึ่งเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมในแม่น้ำตาปีเท่านั้น ส่วนที่ คลองแสง และ คลองยันไม่มีการท่วม นอกจากนี้ไม่มีข้อมูลที่สามารถนำมาใช้วิเคราะห์ได้อีก ทำให้ไม่สามารถประเมินประสิทธิภาพในการลดอุทกภัยของเขื่อนทั้งสองได้ เฉพาะเหตุการณ์ดังกล่าว เขื่อนรัชชประภา และเขื่อนแก่งกรุงสามารถลดน้ำหลากลงบริเวณพื้นที่ท้ายเขื่อน คือ ในคลองแสง และ คลองยัน พื้นที่ใต้จุดบรรจบของคลองพุมดวง และแม่น้ำตาปีลงไป เขื่อนทั้ง 2 ลดน้ำหลากลงได้น้อยมากเนื่องจากอิทธิพลของการไหลเพิ่มเติมระหว่างช่วงของลำน้ำ และ การไหลจากแม่น้ำตาปีมีมาก
dc.description.abstractalternativeComputer - assisted system analysis of Tapi river basin objective was to study system behavior resulting from various Tapi river basin management schemes pertaining to irrigation, hydropower and flood control using HEC - 5 assisted in evaluation for optimum utilization of Tapi river basin. This study dealt with model calibration using past operation of the Rajjaprabha Dam to find suitable parameters that made a least different with operating data ;then applied them to the analysis of the Tapi river basin in 3 scenarios ; namely no development as scenario 1 ; only the Rajjaprabha Dam as scenario2 ; the Rajjaprabha and Kaeng Krung Dam as scenario 3. The study used 28 years of data from B.E. 2507 to 2534. The result from the study indicated that, Rajjaprabha Dam would not contribute irrigation area phase 1; but Kaeng Krung Dam would assist irrigation area phase 2 up to 169,000 rai. The irrigation shortage criteria used was that irrigated water supply was less than 80 % water demand for 1 in 5 years. The suitable hydropower generation should be 4 hrs./day for Rajjaprabha Dam and 5.5 hrs./day for Kaeng Krung Dam. Annual hydropower generation by Rajjaprabha Dam would be 480 million kwh. which was more than average annual requirements of 350 million kwh. Annual hydropower generation by Kaeng Krung Dam would be 169 million kwh. which was less than average annual requirements of 178 million kwh. For flood control study ; since there was only one flood event that daily runoff data was available for the whole river system . Unfortunately the flood occured only in Tapi river but not in Khlong Saeng and Khlong Yan. Futhermore there was no suitable set of data for analysis, thus the efficiency of flood reduction by both dams could not be evaluated. In that particular event, both dams could reduce only little flood flow below the Khlong Phum Duang - Tapi river confluence, this was due to strong effect of local flow and Tapi river flow.
dc.format.extent6159106 bytes
dc.format.extent2383326 bytes
dc.format.extent14082499 bytes
dc.format.extent20570404 bytes
dc.format.extent23388149 bytes
dc.format.extent15636425 bytes
dc.format.extent3453282 bytes
dc.format.extent67535005 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการวิเคราะห์ระบบลุ่มน้ำตาปีโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยen
dc.title.alternativeComputer - assisted system analysis of Tapi river basinen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pichai_tho_front.pdf6.01 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_tho_ch1.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_tho_ch2.pdf13.75 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_tho_ch3.pdf20.09 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_tho_ch4.pdf22.84 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_tho_ch5.pdf15.27 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_tho_ch6.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_tho_back.pdf65.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.