Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29141
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วีระพงษ์ บุญโญภาส | |
dc.contributor.advisor | มานะ หลักทอง | |
dc.contributor.author | พิชัย พงษ์พาณิชย์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2013-02-27T03:24:52Z | |
dc.date.available | 2013-02-27T03:24:52Z | |
dc.date.issued | 2537 | |
dc.identifier.isbn | 9745840874 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29141 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537 | en |
dc.description.abstract | อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (Economic Crime) ในรูปแบบของการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตเบียดบังค่าภาษีศุลกากร เป็นการกระทำผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐอย่างมหาศาลในการจัดเก็บรายได้ของรัฐ อีกทั้งก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการที่สุจริตซึ่งอาชญากรรมผู้กระทำผิดมักจะอาศัยการเป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญในวิชาชีพของตนเป็นหนทางนำไปสู่การกระทำผิดนั้น ซึ่งรัฐควรต้องมีมาตรการอย่างหนึ่งอย่างใดในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมประเภทนี้ ผลจากการวิจัยพบว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การบริหารงานภาษีศุลกากรยังไม่บรรลุตามเจตนารมย์ของกฎหมาย ก็คือ กระบวนการในการดำเนินคดีศุลกากรในชั้นสอบสวนฟ้องร้อง เพื่อดำเนินคดีอาญากับผู้ต้องหาในคดีศุลกากรนั้น กฎหมายศุลกากรยังมิได้เอื้ออำนวยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากรมิอำนาจในการสอบสวนคดีอาญาที่เป็นความผิดตามกฎหมายศุลกากร เป็นเหตุให้กระบวนการยุติธรรมในการดำเนินคดีศุลกากรต้องล่าช้าและขาดประสิทธิภาพอีกทั้งมิได้เป็นไปตามหลักสากลในส่วนที่เกี่ยวกับการสอบสวนฟ้องร้อง ซึ่งจากการศึกษาพบว่าในต่างประเทศนั้นยังมีบทบัญญัติของกฎหมายให้ความสำคัญในการดำเนินคดีอาญาทางศุลกากรไว้เป็นพิเศษและมีเจ้าหน้าที่ศุลกากรเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินคดีโดยเฉพาะ ทั้งในขั้นตอนของการสืบสวน สอบสวนตลอดจนฟ้องร้องคดีต่อศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสอบสวนคดีศุลกากรนั้นบางประเทศจะตั้งเป็นหน่วยงานสอบสวนพิเศษและเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่สอบสวนความผิดดังกล่าว โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของพนักงานอัยการเป็นผลให้การดำเนินคดีศุลกากรเป็นไปอย่างรวดเร็วและสามารถลงโทษผู้กระทำผิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงควรที่จะพิจารณาแก้ไขตัวบทกฎหมายเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ศุลกากรเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการสอบสวนคดีอาญาที่เป็นความผิดตามกฎหมายศุลกากรโดยเฉพาะ และให้ถือว่าการสอบสวนดังกล่าวเป็นการสอบสวนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ทั้งนี้โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของพนักงานอัยการโดยตรง การแก้ไขปัญหากฎหมายดังกล่าวจะทำให้กระบวนการยุติธรรมทางศุลกากรเป็นไปโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพอีกทั้งก่อให้เกิดประโยชน์แก่รัฐในการบริหารงานจัดเก็บภาษีอีกด้วย นอกจากนี้แล้ว กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่มิได้เป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานของรัฐเกี่ยวกับการบริหารงานภาษีอากรนั้นควรจะได้มีการพิจารณายกเลิกหรือแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพของเศรษฐกิจ สังคม และข่าวสารที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว | |
dc.description.abstractalternative | It is generally accepted that tax fraud is an Economic Crime which caused a lot of damages to the State's income and also to the honesty people so it is the duty of State to prevent and suppress this kind of crime. The result getting from this research shows that the customs tax administration is not achieve to the objective of law, one reason is that the status of customs officer who proceed tax cases has no authority on investigation which differ from various foreign countries which provide such authority to the customs in both investigation and prosecution. Moreover, some countries have special agency for investigating tax cases which loring to the effective law enforcement of tax cases. The suggestion in this thesis indicate that authority of customs officers on investigation is needed for effective law enforcement of tax cases and it is necessary to accept such an investigation of customs officer as investigation in Criminal Procedure Code by under controll of public prosecutor and also revise some provision of law or regulation for the coming changes. | |
dc.format.extent | 3463591 bytes | |
dc.format.extent | 5195463 bytes | |
dc.format.extent | 28181949 bytes | |
dc.format.extent | 31863894 bytes | |
dc.format.extent | 22224255 bytes | |
dc.format.extent | 6855378 bytes | |
dc.format.extent | 16760444 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | อำนาจสอบสวนของพนักงานศุลกากร | en |
dc.title.alternative | Authority of customs officer on investigation | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pichai_po_front.pdf | 3.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pichai_po_ch1.pdf | 5.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pichai_po_ch2.pdf | 27.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pichai_po_ch3.pdf | 31.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pichai_po_ch4.pdf | 21.7 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pichai_po_ch5.pdf | 6.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pichai_po_back.pdf | 16.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.