Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29175
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรชุลี อาชวอำรุง
dc.contributor.authorมยุรี นภาพรรณสกุล
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-02-28T11:18:53Z
dc.date.available2013-02-28T11:18:53Z
dc.date.issued2529
dc.identifier.isbn9745670871
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29175
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาปฏิกิริยานักศึกษาที่มีต่อสถาบันการศึกษาพยาบาลและเพื่อเปรียบเทียบปฏิกิริยานักศึกษาที่มีต่อสถาบันการศึกษาพยาบาล จำแนกตามชั้นปี สังกัด และสถานที่ตั้งของสถาบัน วิธีดำเนินการวิจัย 1. การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาในสถาบันการศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1-4 ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2528 โดยสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยในส่วนกลางเลือกสถาบันการศึกษาพยาบาลเป็นตัวแทนของสถาบันการศึกษาพยาบาลในแต่ละสังกัดทั้ง 5 สังกัด สังกัดละ 1 แห่ง และเลือกสถาบันการศึกษาพยาบาลเป็นตัวแทนสถาบันการศึกษาพยาบาลในแต่ละภูมิภาค ภาคละ 1 แห่ง ได้สถาบันการศึกษาพยาบาลที่เป็นตัวแทนจำนวน 9 แห่ง แล้วใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ตามชั้นปีการศึกษา เลือกกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาจากนักศึกษาในสถาบันการศึกษาพยาบาลที่เป็นตัวแทน แต่เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างในบางสถาบันมีจำนวนต่ำกว่า 30 คน ซึ่งเป็นจำนวนต่ำสุดในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเชิงปริมาตร (Parametric Statistics) จึงได้ปรับขยายกลุ่มตัวอย่างในสถาบันดังกล่าว ดังนั้นกลุ่มตัวอย่างที่จะทำการศึกษามีจำนวน 468 คน แจกแบบสอบถามไปทั้งสิ้น 468 ชุด ได้รับคืน 468 ชุด เป็นแบบสอบถามที่สมบูรณ์ 450 ชุด คิดเป็นร้อยละ 97 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการศึกษาจากแบบสอบถามเรื่อง Student Reactions to College ของ Educational Testing Service ประกอบกับการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยของนักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องปฏิกิริยานักศึกษาต่อสถาบัน นำมาประมวลเป็นปฏิกิริยานักศึกษาต่อสถาบันที่ครอบคลุมการจัดการศึกษาในสถาบันการศึกษาพยาบาลของไทย จำนวน 12 ด้าน การสร้างข้อกระทงคำถามนั้น ส่วนหนึ่งนำมาจากแบบสอบถามเรื่อง Student Reactions to College อีกส่วนหนึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเองเพื่อให้ครอบคลุมการจัดการศึกษาในสถาบันการศึกษาดังกล่าวเช่นกัน ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบประเมินค่า (Rating Scale) 3. การวิเคราะห์ข้อมูล ได้นำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์สถานภาพส่วนตัวของนักศึกษาด้วยค่าความถี่และค่าร้อยละ ส่วนข้อมูลปฏิกิริยานักศึกษาต่อสถาบัน และการเปรียบเทียบปฏิกิริยานักศึกษาต่อสถาบัน วิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอเป็นตารางแผนภูมิและความเรียง สรุปผลการวิจัย 1. โดยส่วนรวมนักศึกษามีปฏิกิริยาพึงพอใจต่อสถาบันการศึกษาพยาบาลอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 10 ด้าน โดยที่นักศึกษาพึงพอใจ 4 ด้านแรกเป็นด้านที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน คือ ด้านรูปแบบการสอน ด้านคุณภาพการสอน ด้านความสัมพันธ์กับอาจารย์และด้านการประเมินผล เรียงตามลำดับ ด้านที่นักศึกษาพึงพอใจรองลงมาเป็นด้านที่เกี่ยวข้องกับกิจการนักศึกษาคือ อันดับที่ 5 ด้านสวัสดิการนักศึกษา ด้านที่ 6 ด้านกิจกรรมนักศึกษา ส่วนด้านที่นักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย มีจำนวน 2 ด้าน คือ ด้านระเบียบและข้อบังคับของสถาบัน และด้านการศึกษาด้วยตนเองนอกห้องเรียน นอกจากนี้ยังมีข้อน่าสังเกตว่า ด้านที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาอยู่ในอันดับที่ 9 คือ ด้านผลการเรียนของนักศึกษา และอันดับสุดท้าย เป็นด้านการศึกษาด้วยตนเองนอกห้องเรียน 2. ผลการเปรียบเทียบปฏิกิริยานักศึกษาต่อสถาบันการศึกษาพยาบาล พบว่า ไม่มีความแตกต่างระหว่างชั้นปี สังกัด และสถานที่ตั้ง ในด้านที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนทุกด้าน ยกเว้น ด้านผลการเรียนของนักศึกษา โดยที่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 และนักศึกษาสังกัดกระทรวงกลาโหม แสดงความพึงพอใจระดับน้อยในด้านนี้ ซึ่งแตกต่างจากนักศึกษากลุ่มอื่น ๆ อย่างชัดเจน ส่วนด้านที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและการปกครองนักศึกษาและด้านกิจการนักศึกษา พบความแตกต่างทุกด้าน โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษาแจกแจงโดยสังกัด นักศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครแสดงความพึงพอใจระดับน้อยในเกือบทุกด้านดังกล่าว ซึ่งแตกต่างจากสถาบันในสังกัดอื่น ๆ อย่างเด่นชัดที่สุด ส่วนความแตกต่างระหว่างชั้นปี และสถานที่ตั้งมีลักษณะกระจายไม่สามารถสรุปทิศทางได้ ข้อเสนอแนะ 1. งานการเรียนการสอน อาจารย์ผู้สอนควรจะได้ปรับปรุง ในเรื่องของการสอนในชั้นเรียนให้มีบรรยากาศน่าสนใจ เนื้อหาวิชาที่สอนไม่ซ้ำซาก พัฒนาเทคนิคการสอนให้น่าสนใจในรายวิชาที่นักศึกษาส่วนใหญ่ให้ความสนใจอย่างมาก การสอนให้นักศึกษาตระหนัก สนใจ และฝึกฝน ที่จะศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้ มีการตรวจสอบและติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและปรับปรุงเกณฑ์การประเมินผลภาคปฏิบัติให้เป็นที่ยอมรับทั้งของผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน นอกจากนี้สถาบันควรปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนและการเปลี่ยนแปลงของสังคม 2. งานบริหารและปกครองนักศึกษา สถาบันการศึกษาพยาบาลควรจะพัฒนานักศึกษาให้มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ โดยการบรรจุอยู่ในหลักสูตรและกิจกรรมนอกเหนือหลักสูตร จัดหาทรัพยากรในห้องสมุดให้มีจำนวนเพียงพอกับการใช้บริการของนักศึกษา เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการกำหนดระเบียบและข้อบังคับของสถาบัน และการเพิ่มมาตรการการรักษาความปลอดภัย 3. งานกิจการนักศึกษา สถาบันการศึกษาพยาบาลควรจะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับนักศึกษา ในเรื่องบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมต่อการพัฒนานักศึกษาในด้านต่าง ๆ และการกระตุ้นให้อาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมได้ตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่รับผิดชอบให้ดีขึ้น นอกจากนี้ควรจะต้องจัดให้มีสนามกีฬา การช่วยเหลือด้านเงินทุนที่เพียงพอกับความต้องการของนักศึกษาตลอดจนการปรับปรุงบริการไปรษณีย์ให้มีประสิทธิภาพ 4. สถาบันการศึกษาพยาบาลควรจะได้มีการศึกษาปฏิกิริยานักศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูกระสวนการเปลี่ยนแปลงของปฏิกิริยา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการจัดการศึกษาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษา
dc.description.abstractalternativePurpose of the Study The purpose of this research is to study student reactions to nursing educational institutions and to compare_such reactions among students differing in class levels, administrative controls and localities. Methodology 1. Descriptive research design was used. The sample consisted of students in nursing educational institutions, studying in the second semester of the academic year 2528 B.E. With random sampling technique, five nursing educational institutions in central region were selected to represent five administrative controls and four nursing educational institutions from each region were selected. With stratified sample technique using class levels, four hundred and sixty-eight students were subsequently selected. Four hundred fifty questionnaires (97 per cents) were completed and returned. 2. The instrument used in the study was the questionnaire adapted from the Student Reaction to College developed by the Educational Testing Service (1978) together with the theories and other prior research findings. Student reactions to twelve aspects inherent in Thai nursing students and the environments of nursing educational institutions were collected. Rating scales were used in the 115 items in the questionnaire. 3. Data analysis. Data were analysed using frequencies and percentages for student personal status. Student reactions and comparative data were analysed by percentages. The results were presented by tables and graphs. Conclusions The main results of the study are as follows. 1. Satisfactory reactions to nursing educational institutions in ten aspects at the middle level were reported. The first four aspects concern teaching and learning process : 1) form of instruction 2) quality of instruction 3) involvement with faculty 4) evaluation, respectively. Student affairs came in the fifth and the sixth were student welfares and student activities. Two aspects at the low satisfactory level were rules and regulations and studying. It was noticed that the aspects about students themselves came in the ninth and the last, namely, academic performance and studying. 2. Comparative results. Apart from academic performance. There was no difference among class levels, administrative controls and localities in teaching and learning process. As for the administration and management and student affairs, differences were noted among administrative controls with the lowest satisfactory level indicated by the institutions under the auspices of the Bangkok Metropolis. However, differences among class levels and localities were inconclusive. Recommendations 1. Teaching and learning. Teaching process should be improved regarding subject matter in order to promote and develop classroom environments, teaching techniques for certain subjects with high student’s attention. Emphasis should be placed on self-taught knowledge by stimulating student interests and skills in the practical aspects, continuing evaluations and follow-up of student progress and developing standard tests for measuring nursing practices, acceptable by both instructors and students. The institution is urged to develop curricula suitable for students and social changes. 2. Administration and management. Student development should be stressed on appropriate attitudes towards nursing profession by instilling them in the curricular and extra-curricular activities. Library resources are to be increased so as to provide sufficient services. More alternatives should be given to students in participating in stating rules and regulations and security services should duly increased 3. Student affairs. Student-advisor relationships should be improved to promote better understanding of their roles and responsibilities. Stadium, financial aids and post kiosks are the services demanded by the students. 4. Longitudinal study of student reactions should be conducted so as to ascertain any patterns of students reactions, which will, in turn, serve as a basis for effective planning, and student personnel admistration to meet the needs of the students.
dc.format.extent16450550 bytes
dc.format.extent7221743 bytes
dc.format.extent49490733 bytes
dc.format.extent5796296 bytes
dc.format.extent67748823 bytes
dc.format.extent31286918 bytes
dc.format.extent26917595 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการศึกษาปฏิกิริยานักศึกษาต่อสถาบันในสถาบันการศึกษาพยาบาลen
dc.title.alternativeA study of student reactions to college in nursing education institutionsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mayuree_na_front.pdf16.06 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_na_ch1.pdf7.05 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_na_ch2.pdf48.33 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_na_ch3.pdf5.66 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_na_ch4.pdf66.16 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_na_ch5.pdf30.55 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_na_back.pdf26.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.