Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29198
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดวงกมล ชาติประเสริฐ
dc.contributor.authorมลินี สมภพเจริญ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-03-01T05:25:41Z
dc.date.available2013-03-01T05:25:41Z
dc.date.issued2539
dc.identifier.isbn9746360361
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29198
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้อ่านต่อบุคคลที่ตกเป็นข่าว เมื่อได้รับข่าวที่มีเนื้อหาขัดแย้งได้แก่ ข่าวลบ และข่าวบวก การรับรู้ของผู้อ่านจะเป็นอย่างไร ซึ่งจากการทดลองนี้ สามารถนำมาอธิบายสภาพการรายงานข่าวที่เกิดขึ้นจริงในส่วนของการเสนอข่าวผิดพลาดที่เป็นลบ ต่อมามีการแก้ข่าวด้วยข่าวบวก ข่าวบวกที่เสนอภายหลังนี้จะสามารถเปลี่ยนเจตคติของผู้อ่านต่อบุคคลที่ตกเป็นข่าวให้ดีขึ้นได้ หรือไม่ นอกจากข่าวลบและข่าวบวกจะที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้บุคคลที่ตกเป็นข่าวแล้ว งานวิจัยนี้ยังได้นำเจตคติเดิมของผู้อ่านมาศึกษาเพิ่มเติม การทดลองที่ 1 สภาพการณ์แรกจัดกระทำกับนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มละ 22 คนโดยกลุ่มแรกจะได้รับข่าวลบและตามด้วยข่าวบวกของบุคคลที่ตกเป็นข่าวที่กลุ่มตัวอย่างไม่เคยรู้จักมาก่อน ซึ่งในงานวิจัยนี้ หมายถึง เจ้าหน้าที่เทศกิจที่เป็นบุคคลที่ตกเป็นข่าว ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งให้อ่านข่าวบวกก่อน แล้วตามด้วยข่าวลบโดยมีเจ้าหน้าที่เทศกิจเป็นคนที่ตกเป็นข่าวคนเดียวกัน หลังจากที่ผู้อ่านอ่านข่าวแต่ละชิ้นเสร็จ จึงทำการวัดเจตคติของผู้อ่านต่อบุคคลที่ตกเป็นข่าว สำหรับการทดลองที่ 2 หลังจากสุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมทดลองทั้ง 2 สภาพการณ์ ได้จัดให้แต่ละกลุ่มตัวอย่างที่มีเจตคติที่แตกต่างกันต่อบุคคลที่ตกเป็นข่าว โดยบุคคลที่ตกเป็นข่าว ในที่นี้หมายถึง ดาราหญิงที่เป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วไป กับดาราที่คนทั่วไปไม่ชอบ หรือชอบน้อยกว่า ในการทดลองที่ 2 ให้กลุ่มแรกเป็นกลุ่มผู้อ่านที่ชอบบุคคลที่ตกเป็นข่าวและอีกกลุ่มเป็นผู้อ่านที่มีเจตคติเดิมไม่ชอบบุคคลที่ตกเป็นข่าว หรือชอบน้อยกว่ากลุ่มแรก ทั้ง 2 กลุ่มจะต้องอ่านข่าวลบก่อนและตามด้วยการแก้ข่าว จากนั้นจึงทำการวัดเจตคติเหมือนการทดลองที่ 1 ผลจากการทดลองที่ 1 สรุปว่า เมื่อมีการแก้ข่าวด้วยข่าวบวกและข่าวลบ หลังเสนอข่าวผิดพลาดที่เป็นลบและบวกตามลำดับ การแก้ข่าวด้วยข่าวบวกและข่าวลบนั้นสามารถทำให้เจตคติของผู้อ่านต่อบุคคลที่ตกเป็นข่าวเปลี่ยนตามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ เมื่อนำข่าวประเภทเดียวกัน แต่เสนอในลำดับต่างกันมาเปรียบเทียบ พบว่าวข่าวลบและข่าวบวกที่เสนอก่อนมีอิทธิพลต่อการรับรู้บุคคลที่ตกเป็นข่าวมากกว่าข่าวลบและข่าวบวกที่เสนอในลำดับหลัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการทดลองที่ 2 พบว่า เมื่อมีการแก้ข่าวด้วยข่าวบวก สามารถเปลี่ยนเจตคติของผู้อ่านต่อบุคคลที่ตกเป็นข่าวทั้งที่ชอบ และไม่ชอบอยู่เดิมได้ โดยการแก้ข่าวทำให้เจตคติเดิมของผู้อ่านกลับไปเท่ากับเจตคติเดิมก่อนที่ยังไม่ได้รับข่าวเป็นสิ่งเร้ากระตุ้น
dc.description.abstractalternativeThis study examines readers’ perception of the person in the news after receiving conflicting information about that person through negative and positive news stories. Such conflicting presentations of people often found in typical inaccurate reporting followed by remedial reporting. Readers predisposition was also included in the study because it is expected to condition the effect of conflicting news. In the first experiment, a group of 22 subjects read a negative news story about an unknown city inspector followed by a positive news story about that same person while the other group of the same size read two stories about the inspector in a different order. Attitudes towards the inspector were measured right after the readers had finished reading each story. In the second experiment subjects were randomly divided into two groups. The first group read news stories about a popular actress while the second group read news stories about a less popular actress. The news stories about the two actresses were introduced as a manipulation of favorable and unfavorable predispositions of the readers. Each group read the negative story followed by the positive news story and their attitudes were measured in the same manner as in the first experiment. Results indicate that remedial stories that follow the positive or negative stories can significantly change the readers perception of the city inspector in the news. However, the attitudes measured after reading the second news story differ significantly from the attitudes measured after reading the news of the same valence as the first news story. In the second experiment, the compensatory effect is also found in both the favorable and unfavorable predisposition conditions. In both conditions the remedial news stories can restored the readers’ attitude to the same level as the attitudes that were measured prior to exposing to the news.
dc.format.extent4142588 bytes
dc.format.extent5148263 bytes
dc.format.extent7138121 bytes
dc.format.extent4787970 bytes
dc.format.extent9452392 bytes
dc.format.extent4068558 bytes
dc.format.extent8507419 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการนำเสนอข่าวลบและข่าวบวกและการรับรู้บุคคลที่ตกเป็นข่าวen
dc.title.alternativeThe presentation of negative news and positive news and readers' perception of the person in the newsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวารสารสนเทศes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Malinee_so_front.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open
Malinee_so_ch1.pdf5.03 MBAdobe PDFView/Open
Malinee_so_ch2.pdf6.97 MBAdobe PDFView/Open
Malinee_so_ch3.pdf4.68 MBAdobe PDFView/Open
Malinee_so_ch4.pdf9.23 MBAdobe PDFView/Open
Malinee_so_ch5.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open
Malinee_so_back.pdf8.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.