Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29324
Title: แนวทางการพัฒนาแหล่งที่พักบ้านคีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช สู่โฮมสเตย์มาตรฐานไทย
Other Titles: Development plan for Baan Khiriwong, Nakhon Si Thammarat province, to become Thai standard homestay
Authors: มนกันต์ ถิ่นนคร
Advisors: สมบัติ กาญจนกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Sombat.K@Chula.ac.th
Subjects: การท่องเที่ยวโดยชุมชน -- ไทย -- นครศรีธรรมราช
ที่พักนักท่องเที่ยว -- ไทย -- นครศรีธรรมราช
เศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาแบบยั่งยืน -- ไทย -- นครศรีธรรมราช
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและการจัดการแหล่งที่พักอาศัยโฮมสเตย์และเพื่อหาแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการสำหรับแหล่งพักโฮมสเตย์บ้านคีรีวง โดยยึดดัชนีชี้วัด 8 ด้านของมาตรฐานการจัดการโฮมสเตย์ ได้แก่ ด้านที่พัก ด้านอาหารและโภชนาการ ด้านความปลอดภัย ด้านการจัดการ ด้านกิจกรรมท่องเที่ยว ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านมูลค่าเพิ่ม และด้านส่งเสริมการตลาด วิธีดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยวของชุมชนและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมในบริบทของพื้น และเก็บข้อมูลในภาคสนามจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มและตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้านการรวบรวมข้อมูล โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการท่องเที่ยวออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) เจ้าของบ้านพักโฮมสเตย์ จำนวน 9 ราย (2) ผู้นำ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ราย (3) สมาชิกที่มีส่วนร่วมกับการทำกิจกรรมโฮมสเตย์ จำนวน 5 ราย และ (4) นักท่องเที่ยว จำนวน 11 ราย ผลการศึกษา ชุมชนบ้านคีรีวงได้มีการรวมกลุ่มสมาชิกเปิดที่พักอาศัยแบบโฮมสเตย์เพื่อเป็นกิจกรรมสร้างรายได้เสริมแก่ชุมชน ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวสวนมีการจัดการโฮมสเตย์แบบชุมชนมีส่วนร่วม เน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ตั้งแต่ปี 2539 - 2554 เป็นเวลา 16 ปี มีที่พักโฮมเสตย์จำนวน 46 หลัง ชุมชนคีรีวงมีการจัดการแหล่งพักอาศัยแบบโฮมสเตย์ ได้แก่ (1) ด้านที่พัก ชุมชนมีการปรับปรุงบ้านพักเพื่อความปลอดภัย (2) ด้านอาหารและโภชนาการ เจ้าของบ้านประกอบอาหารด้วยตนเองและปรุงรสให้เกิดความหลากหลาย (3) ด้านความปลอดภัย ชุมชนมีการเตรียมความพร้อมที่จะรองรับเหตุอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้เข้าพักอย่างเพียงพอ (4) ด้านการจัดการ มีโครงสร้างองค์กรเป็นลักษณะแบ่งงานกันตามหน้าที่คอยติดต่อประสานงานต่างๆกับกลุ่มอาชีพและนักท่องเที่ยว (5) ด้านกิจกรรมท่องเที่ยว เน้นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ประเพณี วัฒนธรรมที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน (6) ด้านสิ่งแวดล้อม มีการรณรงค์หลักการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน (7) ด้านมูลค่าเพิ่ม คนในชุมชนได้นำองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยรวมกลุ่มพัฒนาในรูปแบบของที่ระลึก (8) ด้านส่งเสริมการตลาด มีการจัดการในด้านการประชาสัมพันธ์และการตลาดโดยชุมชน ดังนั้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนจึงร่วมกันหาแนวทางการจัดการแหล่งที่พักโฮมสเตย์ เพื่อให้เกิดมาตรฐานในการจัดการโดยชุมชนเอง โดยที่หน่วยงานภาครัฐควรให้ความรู้และสร้างความเข้าใจร่วมกันในหมู่สมาชิก ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน
Other Abstract: The aim of this research was to study home stay management to develop guidelines for home stay accommodation in Baan Khiriwong. Existing criteria for standard home stay management were taken into consideration. The eight criteria used are: accommodation, food and nutrition, safety, management, tourism activities, environment, value added operation, and marketing. The study is qualitative using a non-participatory observation method with the researcher as an observer in tourism activities in the community. The data were gathered through in-depth interviews and group discussions after which a triangulation technique was applied. The research participants were classified into four groups of stakeholders: (1) nine home stay owners, (2) three leaders of organizations involved, (3) five active home stay members and (4) 11 tourists. The findings indicate that the majority of Baan Khiriwong members are orchard owners working together to provide home stay accommodation to help support the community’s income. They have managed home stay facilities with community participation for 16 years (1996-present), with a current number of 46 homes. The Khiriwong community has fulfilled the eight criteria mentioned. (1) Accommodation: It has renovated the accommodation to meet safety concerns. (2) Food and Nutrition: The home stay owners prepare various kinds of food themselves. (3) Safety: The community is well-prepared with its security system. (4) Management: The community is well-structured and organized and the members are responsible in coordinating with related professions and tourists. (5) Tourism Activities: The community emphasizes an uncomplicated lifestyle, natural attractions, and unique local traditions and culture. (6) Environment: Environmental and energy conservation is encouraged. (7) Value Added Operation: Local community knowledge is integrated in the production of souvenirs. (8) Marketing: Public relations and marketing activities are conducted by the community. It can be concluded that all community stake holders have collaborated to create guidelines for standard operations. However, the government sector should also provide necessary information to the community and help promote cooperation among members which is the foundation for sustainable development.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29324
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1015
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1015
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
monnakan_th.pdf3.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.