Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29329
Title: รูปแบบการตั้งถิ่นฐานและการใช้ที่ดินชุมชนมุสลิม ตำบลเกาะไร่ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
Other Titles: Settlement and land use pattern of Muslim Communities, Tambon Ko Rai, Ban Pho District, Chachoengsao Province
Authors: อัสรีน่า แก้วดำ
Advisors: ศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: siriwan.r@chula.ac.th
Subjects: การใช้ที่ดิน -- การสำรวจ
การใช้ที่ดิน -- ไทย -- ฉะเชิงเทรา
การตั้งถิ่นฐาน -- ไทย -- ฉะเชิงเทรา
มุสลิม -- ที่อยู่อาศัย -- ไทย -- ฉะเชิงเทรา
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษารูปแบบการตั้งถิ่นฐานและการใช้ที่ดินของชุมชนมุสลิมตำบลเกาะไร่ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาความเป็นมา รูปแบบ ของการตั้งถิ่นฐาน ของชุมชนมุสลิมตำบลเกาะไร่ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา และการปฏิสัมพันธ์กับชุมชนใกล้เคียง 2) ศึกษาปัจจัยการตั้งถิ่นฐานและการใช้ที่ดินของชุมชนมุสลิมตำบลเกาะไร่ 3)วิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของการตั้งถิ่นฐานและการใช้ที่ดินของชุมชนมุสลิมตำบลเกาะไร่ ในอนาคต ซึ่งคำถามงานวิจัย คือ รูปแบบการตั้ง ถิ่นฐานและการใช้ที่ดินของชุมชนมุสลิมตำบลเกาะไร่ มีความสอดคล้องกับรูปแบบชุมชนอิสลามหรือไม่ มีการปรับตัวตามบริบทแวดล้อมของพื้นที่อย่างไร และมีแนวโน้มอย่างไรในอนาคต มีวิธีการศึกษาวิจัยโดย 1) การสำรวจ 2) การวิเคราะห์แผนที่โดยการซ้อนทับ 3) การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม 4) การสัมภาษณ์ และ5) การบันทึกข้อมูลจากการสำรวจภาคสนามเกี่ยวกับสถานที่ และกิจกรรมในชีวิตประจำวันของคนในพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการตั้งถิ่นฐานและการใช้ที่ดินของชุมชนมุสลิมตำบลเกาะไร่ มี 2 ลักษณะ กล่าวคือ 1) รูปแบบการตั้งถิ่นฐานที่สอดคล้องกับชุมชนอิสลามทั่วไป คือ การตั้งถิ่นฐานแบบกลุ่มบริเวณชุมชนเกาะไร่ เนื่องจากพื้นที่มีภูมิประเทศเป็นโคกเนินมีมัสยิดอยู่กลางชุมชน โครงข่ายการสัญจรที่วกวนที่เกิดจากการตั้งอาคารบ้านเรือนที่ไม่เป็นระเบียบ และมีการแยกพื้นที่ใช้สอยที่พักอาศัยกับแหล่งงานชัดเจน และ 2) รูปแบบที่ไม่สอดคล้องกับชุมชนอิสลามทั่วไป คือ การตั้ง ถิ่นฐานแบบแนวยาว บริเวณเหนือคลองประเวศน์บุรีรมย์ มีการปรับตัวตามลักษณะภูมิประเทศ คือ มีโครงข่ายการสัญจรแบบแนวยาวเลียบริมคลอง บ้านเรือนที่ประยุกต์ให้เข้ากับวิถีชีวิตริมน้ำ มัสยิดมักตั้งอยู่กึ่งกลางริมคลองทั้งนี้เพราะประชาชนมีการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่มัสยิดเป็นประจำทุกวัน การตั้งถิ่นฐานจึงมักเลือกตั้งในตำแหน่งที่ใกล้กับมัสยิด การตั้งถิ่นฐานมีการเปลี่ยนแปลงน้อย ในอนาคตคาดว่ารูปแบบการตั้งถิ่นฐานจะยังคงสภาพเดิมมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย มีการปรับตัวทีละเล็กทีละน้อยอย่างมีรากฐาน จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่าภูมิประเทศและวัฒนธรรมอิสลามเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อรูปแบบการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมุสลิมในพื้นที่ศึกษา
Other Abstract: The objectives of this study were to 1) investigate the background and the patterns of the Muslim communities in Tambon Ko Rai, Ban Pho District, Chachoengsao Province and their interaction with the neighboring communities, 2) examine the factors influencing their settlement and land use patterns and 3) predict changes in their settlement and land use patterns. The research questions were whether the settlement and land use patterns of the Muslim communities in Tambon Ko Rai were similar to those of other Muslim communities in general, how the residents adapted themselves to the environment and what the trends towards the settlement and land use patters would be. The study was conducted by means of 1) survey, 2) analysis of maps surmounted by other maps, 3) participatory observation, 4) interview and 5) record of field data on sites and the residents’ daily activities. It is found that the patterns of settlement and land use in these communities can be categorized into 2 types: 1) the settlement patters which share the same characteristics with other Muslim communities and 2) the settlement patterns which differ from those of other Muslim communities. As for the first type, the houses are located in a cluster since Ko Rai’s topography is hilly. The mosque is in the center of the community. Winding routes result from the unsystematic layout of houses and other buildings. The residential zone and the functional zone are clearly marked. As for the second type, the settlement is stretched along the Phravejburirom Canal. To acclimatize themselves to the environment, the residents have to commute along the canal and their houses are adapted to water-based lifestyle. The mosque is situated on the canal bank and in the central part of the community. Since the residents have to perform their daily religious activities there, they choose to live near the mosque. Few changes in the settlement are observed. It can be predicted that the settlement will be more or less of the same patterns. Changes will take place gradually and steadily. It can be concluded that landscape plays an important role in the settlement and land use patterns in the case-study communities.
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29329
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1038
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1038
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
asreenar _ka.pdf79.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.