Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29381
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรวุฒิ ประดิษฐานนท์
dc.contributor.authorมงคล ทองจีน
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-03-07T09:36:46Z
dc.date.available2013-03-07T09:36:46Z
dc.date.issued2539
dc.identifier.isbn9746355546
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29381
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบจำลองต่าง ๆ ที่กรมชลประทานใช้อยู่ว่ามีความสามารถ ความคล่องตัว และความน่าใช้ในงานส่งน้ำชลประทานมากน้อยเพียงใด โดยเน้นถึงความสัมพันธ์อัตราการใช้น้ำของพืชจากสมการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในแบบจำลอง เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่ที่มีข้อมูลอยู่อย่างจำกัด และเปรียบเทียบพิจารณาแบบจำลองที่เหมาะสมในการประยุกต์ใช้งานในพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครนาย การศึกษาอัตราการใช้น้ำของพืชอ้างอิง โดยข้อมูลภูมิอากาศจากความสัมพันธ์ต่าง ๆ จำนวน 7 ความสัมพันธ์ ได้แก่ Hargreaves 1985, Penman-Monteith, Jensen-Haise, FAO-24 Pan Evaporation, Penman 1948, Penman A.M. Michael และ Penman Doorenbos and Pruitt. ซึ่งเลือกสถานีตรวจวัดอากาศสุพรรณบุรี และสถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานของพืชสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี และนำผลที่ได้เปรียบเทียบกับการวัดอัตราการใช้น้ำของพืชด้วยถัง Lysimeter ในปี พ.ศ. 2522-2523 ในช่วงฤดูฝน เพื่อเลือกความสัมพันธ์ที่เหมาะสม นำไปใช้กับพื้นที่โครงการฯนครนายก ผลการศึกษา สรุปได้ว่าความสัมพันธ์ของ Penman Doorenbos and Pruitt มีความเหมาะสมมากกว่าความสัมพันธ์อื่น ๆ และเลือกใช้ข้อมูลสภาพอากาศที่สถานีตรวจวัดอากาศปราจีนบุรี เป็นตัวแทนของจังหวัดนครนายก ในการศึกษาเบื้องต้นได้พิจารณาแบบจำลอง 5 โปรแกรม และทำการคัดเลือกแบบจำลอง WASAM, WATERCAL และ CADSM มาเปรียบเทียบกันในรายละเอียด และได้นำมาทดลองใช้เปรียบเทียบกันโดยข้อมูลของการใช้น้ำของโครงการฯนครนายก ปี พ.ศ. 2538 พบว่าแบบจำลองทั้งหมดให้ปริมาณควมต้องการใช้น้ำตลอดฤดูเพาะปลูกใกล้เคียงกับข้อมูล แต่ยังมีความแตกต่างกันในการกระจายของปริมาณการใช้น้ำรายเดือน นอกากนี้ยังได้คำนวณหาความต้องการใช้น้ำชลประทาน ในปี พ.ศ. 2515 ปี พ.ศ. 2516 และปี พ.ศ. 2536 ซึ่งเป็นปีที่มีโอกาสเกิดน้ำน้อยในรอบปีการเกิดซ้ำ 2 ปี 5 ปี และ 10 ปี ตามลำดับ พบว่าแบบจำลองทั้งสามให้ผลปริมาณความต้องการใช้น้ำใกล้เคียงกัน การเปรียบเทียบแบบจำลอง และการประยุกต์ใช้สรุปได้ว่า แบบจำลอง WASAM มีความเหมาะสมมากที่สุดและง่ายกว่าแบบจำลองอื่น ทั้งนี้เพราะว่า WASAM ถูกพัฒนาบนระบบวินโดว์ มีภาษาไทย จึงง่ายต่อการปรับแก้หรือประยุกต์กับโครงการอื่น ๆ
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study is to investigate the capability, flexibility and versatility of the computer models currently used in irrigation work by the Royal Irrigation Department. The equations for evapotranspiration available in the models are emphasized in order to apply in the area with limited data. Then, the models are compared for appropriate application with the Nakhon Nayok Irrigation Operation and Maintenance Project. About 7 equations for evapotranspiration are studied using climatic data. They are Hargreaves 1985, Penman-Monteith, Jensen-Haise, FAO-24 Pan Evaporation, Penman 1948, Penman A.M. Michael and Penman Doorenbos and Pruitt. The evapotranspiration for the rainy seasons of 1979-1980 are calculated using the climatic data measured at SuphanBuri Climatological Station and Samchuk Water Consumptive Used Station at Suphan Buri. They are compared with the measured values b Lysimeter in order to select the proper equation for the Nakhon Nayok Project. It is concluded that Penman Doorenbos and Pruitt should be selected and the climatic data measured at Prachinburi can represent the ones at Nakhon Nayok. For a preliminary study, 5 computer model are studied. WASAM, WATERCAL and CADSM are then selected for comparison in details. The irrigation water requirement of Nakhon Nayok Project during year 1995 are estimated and compared. It is concluded that all 3 models provide the total wate requirement for a crop season approximately equal to the data. However, there are some differences in the distribution of monthly water requirement. In addition, the models are used to estimate the irrigation water requirement in 1972, 1973 and 1993 which corresponded to 2, 5 and 10 year return period. It is concluded that all models provide similar results. The model calibration and application indicate that WASAM is the most appropriate an relatively easier than others. Since WASAM is developed on WINDOWS with Thai Language Option, it can be easily calibrated or applied to other projects.
dc.format.extent4396728 bytes
dc.format.extent2330370 bytes
dc.format.extent3759507 bytes
dc.format.extent9775188 bytes
dc.format.extent7055064 bytes
dc.format.extent14304821 bytes
dc.format.extent2432053 bytes
dc.format.extent46008899 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการประยุกต์แบบจำลองคอมพิวเตอร์เพื่อการส่งน้ำen
dc.title.alternativeComputer model application for water schedulingen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mongkol_to_front.pdf4.29 MBAdobe PDFView/Open
Mongkol_to_ch1.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open
Mongkol_to_ch2.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open
Mongkol_to_ch3.pdf9.55 MBAdobe PDFView/Open
Mongkol_to_ch4.pdf6.89 MBAdobe PDFView/Open
Mongkol_to_ch5.pdf13.97 MBAdobe PDFView/Open
Mongkol_to_ch6.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open
Mongkol_to_back.pdf44.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.