Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29471
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | รัตนา ตุงคสวัสดิ์ | - |
dc.contributor.advisor | ดรุณี หิรัญรักษ์ | - |
dc.contributor.author | พูลสุข วิเชียรวรรณ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2013-03-09T09:16:53Z | - |
dc.date.available | 2013-03-09T09:16:53Z | - |
dc.date.issued | 2530 | - |
dc.identifier.isbn | 9745675938 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29471 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงการวิเคราะห์เนื้อหาหนังสือพิมพ์รายวัน 3 ประเภท 6 ชื่อฉบับ ได้แก่ หนังสือพิมพ์สยามรัฐ มติชน ไทยรัฐ เดลินิวส์ บ้านเมือง และแนวหน้า โดยการสุ่มหนังสือพิมพ์รายวันที่ศึกษาด้วยวิธี Rotated Sampling สลับวันกันในแต่ละสัปดาห์ในช่วงเวลาที่ศึกษาซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยวิธีสุ่มเดือนที่ศึกษาด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบธรรมดา ( Simple Random Sampling ) ได้ศึกษาช่วงแรกวันที่ 1 ถึง 30 เมษายน พ.ศ.2525 และวันที่ 1 ถึง 23 กันยายน พ.ศ.2525 ช่วงหลัง วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2529 รวมเวลาที่ศึกษาช่วงละ 7 สัปดาห์ และหนังสือพิมพ์รายวันช่วงละ 42 ฉบับ ในการวิเคราะห์เนื้อหาจริยธรรมใช้เกณฑ์จริยธรรม 30 ประการ จากหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการวิเคราะห์หนังสือพิมพ์รายวันที่หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี โดยบันทึกความถี่ที่หนังสือพิมพ์รายวันเสนอเนื้อหาจริยธรรมลงในตารางรหัส( Coding Sheet) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างในการเสนอเนื้อหาจริยธรรมระหว่างหนังสือพิมพ์รายวันทั้ง 3 ประเภท ด้วย U -test โดนใช้วิธี Arcsine Transformation วัตถุประสงค์ของการวิจัยมี 2 ประการ คือ 1. เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาในหนังสือพิมพ์รายวันเกี่ยวกับการเสริมสร้างจริยธรรมของเด็กและเยาวชน 2. เพื่อเปรียบเทียบการเสนอเนื้อหาจริยธรรมในหนังสือพิมพ์รายวัน 3 ประเภท คือ ประเภทคุณภาพ ประเภทประชานิยม และประเภทกึ่งคุณภาพกึ่งประชานิยม ผลการวิจัย 1. หนังสือพิมพ์ประเภทคุณภาพและประ เภทประชานิยม ได้เสนอเนื้อหาจริยธรรม เรื่องความ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มากที่สุดในช่วง 7 สัปดาห์ของปี พ.ศ. 2525 และหนังสือพิมพ์ทั้ง 3 ประเภท เสนอจริยธรรมเรื่องความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละมากที่สุด ช่วง 7 สัปดาห์ของปี พ.ศ. 2529 และหนังสือพิมพ์รายวันทั้ง 3 ประเภทต่างก็เสนอเนื้อหาจริยธรรมไม่ครบทั้ง 30 ประการ จริยธรรมที่ไม่ได้เสนอได้แก่เรื่อง การไม่พูดปดและไม่พูดบิดเบือน การมีสัจจะและความจริงใจ การไม่ลองและเสพสิ่งเสพติดให้โทษ ความเป็นผู้มีสติรู้จักยับยั้งชั่งใจและรู้สึกรับผิดชอบ ความไม่เห็นแก่ตัวและความประณีตละเอียดถี่ถ้วน 2. หนังสือพิมพ์รายวันทั้ง 3 ประเภท มีปริมาณการเสนอเนื้อหาจริยธรรม เพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มในการเสนอเนื้อหาจริยธรรมในลักษณะที่เป็นการส่งเสริมเด็กและเยาวชนมากขึ้นด้วย 3. หนังสือพิมพ์รายวันทั้ง 3 ประเภทมีสัดส่วนของการเสนอเนื้อหาจริยธรรมในลักษณะของภาพและเนื้อความไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการเปรียบเทียบความแตกต่างของสัดส่วน การเสนอเนื้อหาจริยธรรมด้วยวิธี Arcsine Transformation ทั้งในปี พ.ศ.2525 และในปี พ.ศ.2529 4. หนังสือพิมพ์รายวันทั้ง 3 ประเภท มีสัดส่วนของการเสนอเนื้อหาจริยธรรมในลักษณะที่เป็นการส่งเสริมทั่วไปแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 ในการทดสอบความแตกต่างของสัดส่วนด้วยวิธีของ Marascuilo’s √((x^2 @ k-1)) ทั้งในปี พ.ศ. 2525 และในปี พ.ศ. 2529 5.ในปี พ.ศ. 2525 หนังสือพิมพ์รายวันทั้ง 3 ประเภท มีสัดส่วนของการเสนอเนื้อหาจริยธรรมในลักษณะที่เป็นการส่งเสริมเด็กและเยาวชนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการเปรียบเทียบความแตกต่างของสัดส่วนการเสนอเนื้อหาจริยธรรมด้วยวิธีArcsine Transformation แต่ในปีพ.ศ.2529 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการทดสอบความแตกต่างของสัดส่วนด้วยวิธีของ Marascuilo’s √((x^2 @ k-1)) 6. ในปี พ.ศ.2525 หนังสือพิมพ์รายวันทั้ง 3 ประเภท มีสัดส่วนของการเสนอเนื้อหาจริยธรรมในข่าวไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการเปรียบเทียบความแตกต่างของสัดส่วนการเสนอเนื้อหาจริยธรรมด้วยวิธีArcsine Transformation แต่ในปีพ.ศ.2529 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ในการทดสอบความแตกต่างของสัดส่วนด้วยวิธีของ Marascuilo’s √((x^2 @ k-1)) 7. ในปี พ.ศ.2525 หนังสือพิมพ์รายวันทั้ง 3 ประเภท มีสัดส่วนของการเสนอเนื้อหาจริยธรรมในสารคดีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการเปรียบเทียบความแตกต่างของสัดส่วนการเสนอเนื้อหาจริยธรรมด้วยวิธีArcsine Transformation แต่ในปีพ.ศ.2529 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการทดสอบความแตกต่างของสัดส่วนด้วยวิธีของ Marascuilo’s √((x^2 @ k-1)) 8. หนังสือพิมพ์รายวันทั้ง 3 ประเภท มีสัดส่วนของการเสนอเนื้อหาจริยธรรมในบทความไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการเปรียบเทียบความแตกต่างของสัดส่วนการเสนอเนื้อหาจริยธรรมด้วยวิธีArcsine Transformation ทั้งในปีพ.ศ.2525 และในปี พ.ศ. 2529 9. หนังสือพิมพ์รายวันทั้ง 3 ประเภท มีสัดส่วนของการเสนอเนื้อหาจริยธรรมในคอลัมน์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการเปรียบเทียบความแตกต่างของสัดส่วนการเสนอเนื้อหาจริยธรรมด้วยวิธีArcsine Transformation ทั้งในปีพ.ศ.2525 และในปี พ.ศ. 2529 | - |
dc.description.abstractalternative | This research vas designed to analyze the moral contents of three types of daily newspapers. Six (6) Thai daily newspapers: Siam Rath, Matichon, Thai Rath, Daily News, Ban Muang, and Naew Na, were selected for the study by the rotated sampling method whereby the studied newspapers were rotated every day in each week during two time spans of the studied periods. The months for the study were selected by single random sampling method ร the first period started from April 1 to 30, 1982 and September 1 to 23, 1982 whereas the second period began from January 1 to February 20, 1986. The total duration for the study took seven weeks, with 42 volumes of newspapers at each period. In Analyzing the moral contents, 30 aspects of moral standards according to 1978 Primary Education Curriculum were employed. The researcher conducted the data collection by perusing the daily newspapers at the National Library at Tha Wasukri. Frequency of daily newspapers in publishing moral contents was recorded in the coding sheet. The differences in the presentation of moral contents among three types of daily newspapers were compared by u - test, utilizing the Atcsine Transformation method. Objectives of the Research The purposes of this research study were:- 1. to analyze the contents of daily newspapers on the promotion of children’s and youth’s morality ; and 2. to compare the presentation of moral contents among three types of daily newspapers, namely qualitative, popular, and qualitative- popular. Research Result 1. The moral account on generosity was not frequently published by qualitative and popular during the seven-week period in 1982 and by all three types of daily newspaper during the seven week period in 1986 respectively. Anyway, those three types of daily newspapers did not cover all 30 aspects of moral accounts in their publishing. Those moralities which were not published were t not being a liar and a distorter J not taking addicted drug ; and having a veracity and sincerity, self-consciousness and self-control, responsibility and meticulosity. 2. It was found that those three types of daily newspapers increased the quantity of moral presentation. Besides, they tended to publish the moral contents in a way that more promotion was made on the children and youth. 3. From a comparison of the differences between the ratio of moral account presentation among three types of newspapers by the method of Arcsine Transformation in 1982 and 1986, the study showed no significant difference between ration of moral pictures and moral content presentation 4. It was found from the testing of ratio of the differences by the method of Marascuilo’s √((x^2 @ k-1)) in 1982 and 1986 that there was a statistically significant difference among three types of daily newspapers in their publishing of general promotion of moral contents at the level of .05. 5. It was shown that there was no significant difference in 1982 among three types of daily newspapers in the ratio of their moral presentation for children and youth promotion using the Arcsine Transformation method, whereas there was a significant difference in 1986 at the level of .05 in the differing ratio tested by the method of Marascuilo’s √((x^2 @ k-1)). 6. The study showed that there was no statistically significant difference in 1982 among three types of daily newspapers in the ratio of their publishing of moral accounts in the news using the Arcsine Transformation method, whereas in 1986 there was a significant difference at .05 level in the differing ration tested by the method of Marascuilo’s √((x^2 @ k-1)). 7. It was shown from the study that there was no significant difference in 1982 among three types of daily newspapers in the ratio of their moral publishing in the feature articles using the method of Arcsine Transformation, whereas there was a significant difference in 1986 at the level of .05 in the differing ratio tested by the method of Marascuilo’s √((x^2 @ k-1)) . 8. It was found from the study that those three types of daily newspapers possessed no significant difference both in 1982 and 1986 in the ratio of their moral presentation in the articles using the method of Arcsine Transformation method. 9. The study concluded that all three types of daily newspapers possessed no significant difference both in 1982 and 1986 in the ratio of their moral presentation in the newspaper columns using the method of Arcsine Transformation. | - |
dc.format.extent | 9992684 bytes | - |
dc.format.extent | 8203831 bytes | - |
dc.format.extent | 27600277 bytes | - |
dc.format.extent | 6003622 bytes | - |
dc.format.extent | 29860623 bytes | - |
dc.format.extent | 24195959 bytes | - |
dc.format.extent | 6509941 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การวิเคราะห์เนื้อหาในหนังสือพิมพ์รายวัน เกี่ยวกับการเสริมสร้างจริยธรรมของเด็กและเยาวชน | en |
dc.title.alternative | A content analysis of daily newspapers in enhancing children and youth morality | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สถิติการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Poonsook_wi_front.pdf | 9.76 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Poonsook_wi_ch1.pdf | 8.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Poonsook_wi_ch2.pdf | 26.95 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Poonsook_wi_ch3.pdf | 5.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Poonsook_wi_ch4.pdf | 29.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Poonsook_wi_ch5.pdf | 23.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Poonsook_wi_back.pdf | 6.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.