Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29514
Title: การปรับปรุงระบบการตรวจสอบคุณภาพของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ
Other Titles: Inspection system improvement of the air-conditioning industry
Authors: ยุทธนา สิทธิสันต์
Advisors: ศิริจันทร์ ทองประเสริฐ
จินตนา ศิริสันธนะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีการแข่งขันสูงมากในปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อให้บรรลุเป็นหมายที่วางไว้ แต่ละองค์กรจึงต้องมีความสามารถในการแก้ปัญหาที่เหนือกว่าอย่างเร่งด่วน ในการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงระบบการตรวจสอบคุณภาพ ของอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของเครื่องปรับอากาศ ได้แก่ ปัญหาในการตรวจสอบวัสดุ ปัญหาการตรวจสอบในกระบวนการผลิต ตลอดจนปัญหาในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สำเร็จ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้เสนอแนวทางในการปรับปรุง เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าว ซึ่งการปรับปรุงระบบการตรวจสอบคุณภาพดังกล่าวจะประกอบไปด้วย การปรับปรุงการตรวจสอบวัสดุ การปรับปรุงการตรวจสอบในกระบวนการผลิต และปรับปรุงการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สำเร็จ โดยการจัดทำแผนการตรวจสอบ ปรับปรุงมาตรฐานการปฏิบัติงาน ปรับปรุงแผนการชักสิ่งตัวอย่าง และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่นใบตรวจสอบต่างๆ เอกสารกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ ซึ่งในการปรับปรุงนี้จะมีการนำมาตรฐานกรมทหาร MIL-STD-105E และเทคนิคของ OC-CURVE มาประยุกต์ใช้ด้วยเพื่อให้เกิดความมั่นใจในสิ่งที่ได้ทำการปรับปรุง จากการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ ระหว่างระบบการตรวจสอบคุณภาพที่ปรับปรุง กับระบบการตรวจสอบคุณภาพแบบเดิม ปรากฏว่าระบบการตรวจสอบคุณภาพที่ปรับปรุงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ ความเชื่อถือในการตรวจสอบ และยังสามารถลดปัญหายุ่งยากในการปฏิบัติงานลงด้วย
Other Abstract: Air-conditioning industry is one of the high competitive industry. In order to reach their target goals, efficiency and effectiveness in problem solving are therefore essential. The objective of this study was to develop the inspection system of the air-conditioning industry. The study was found that the major factors affecting quality of air-conditioning were incoming materials, quality control in process and quality of finish good. Thus the procedures were set to improve the inspection for incoming materials, work in process and finish goods. The method consists of work instructions, sampling plans and check sheets to evaluate the results and then recommend the procedures for quality improvement. In some improvement process, it will apply the MIL-STD-105E and OC-CURVE technique to use to confirm the quality system. By comparison between the previous quality system and quality system after improved. It was found out that it can increase the efficiency and reliability in inspection in quality system and can also decrease working time of operators also.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29514
ISBN: 9746357425
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yutthana_si_front.pdf4.97 MBAdobe PDFView/Open
Yutthana_si_ch1.pdf6.26 MBAdobe PDFView/Open
Yutthana_si_ch2.pdf15.11 MBAdobe PDFView/Open
Yutthana_si_ch3.pdf6.06 MBAdobe PDFView/Open
Yutthana_si_ch4.pdf7.45 MBAdobe PDFView/Open
Yutthana_si_ch5.pdf28.09 MBAdobe PDFView/Open
Yutthana_si_ch6.pdf7.2 MBAdobe PDFView/Open
Yutthana_si_ch7.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open
Yutthana_si_back.pdf35.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.