Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29633
Title: | ตรรกวิทยาการบริโภคกับการสร้างสรรค์มิวสิควิดีโอเพลงไทยสากล : กรณีศึกษา มิวสิควีดิโอของบริษัท แกรมมี่ เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด |
Other Titles: | The logic of comsumption and the greation of Thai popular song music video : a case study of music video by Grammy entertainment company LTD. |
Authors: | พัลพงศ์ สุวรรณวาทิน |
Advisors: | ศิริชัย ศิริกายะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2536 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงตรรกวิทยาการบริโภคมิวสิควีดีโอเพลงไทยสากลและผลที่มีต่อการสร้างสรรค์มิวสิควีดีโอเพลงไทยสากล ทั้งในด้านรูปแบบและเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผู้ชมมิวสิควีดีโอทางโทรทัศน์ บริโภคคุณค่าการใช้ตามตรรกวิทยาเชิงหน้าที่ของค่าการใช้สอยของมิวสิควีดีโอ จากความบันเทิงที่ได้รับจากเนื้อหาที่แตกต่างกันไป ซึ่งแบ่งออกเป็นมิวสิควีดีโอที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก และมิวสิควีดีโอที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้แง่คิดในลักษณะต่าง ๆ รวมถึงความบันเทิงจากภาพพจน์ของศิลปินด้วย โดยตัวหมายที่ใช้ในการนำเสนอเนื้อหา ได้แก่ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ภาพ และการใช้แสงเงา ฉากและสถานที่ถ่ายทำ ในส่วนของตรรกวิทยาเชิงเศรษฐศาสตร์ของค่าการแลกเปลี่ยน พบว่ามิวสิควีดีโอไม่มีค่าแลกเปลี่ยน เพราะมิวสิควีดีโอถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อในการส่งเสริมการขาย มิได้ผลิตขึ้นเพื่อจำหน่าย อย่างไรก็ตาม ค่าการแลกเปลี่ยนของมิวสิควีดีโอจะปรากฏมีขึ้นเมื่อมิวสิควีดีโอถูกแปลงสภาพเป็น “คาราโอเกะ” เพื่อนำออกจำหน่ายอย่างแพร่หลาย สำหรับตรรกวิทยาของการแลกเปลี่ยนเชิงสัญลักษณ์นั้น พบว่าการบริโภคมิวสิควีดีโอได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความทันสมัย และวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ และตรรกวิทยาค่าสัญญะที่ปรากฏในมิวสิควีดีโอเพลงไทยสากล ได้แก่ ความเป็นสากล ความเป็นตัวตนของศิลปิน และวิถีชีวิตแบบหรูหราฟุ่มเฟือย ในการสร้างสรรค์มิวสิควีดีโอเพลงไทยสากลพบว่า ตรรกวิทยาเชิงหน้าที่ของค่าการใช้สอยมีผลต่อการเลือกสรรรูปแบบในการนำเสนอมิวสิควีดีโอ ได้แก่ แบบเป็นเรื่องราว แบบไม่เป็นเรื่องราว และแบบไม่เป็นเรื่องราวเด่นชัด เพื่อให้เกิดอารมณ์ร่วมของความบันเทิงตามค่าการใช้ โดยต้องคำนึงถึงจังหวะและทำนองของเพลง รวมทั้งตัวศิลปินด้วย ส่วนตรรกวิทยาค่าสัญญะนั้น มีผลทำให้เนื้อหาของมิวสิควีดีโอสามารถเข้าถึงความรู้สึกนึกคิด ความประทับใจ และความจำได้ของผู้บริโภคทางโทรทัศน์ ตามเรื่องราวที่สร้างสรรค์ขึ้น |
Other Abstract: | The purpose of this research is to understand the logic of consumption and its influence on the creation of Thai popular song music videos in both forms and contents. The findings are that music video viewers through television consume usage value on the basis of the functional logic of usage value from diversified contents. Contents of music videos include those with the contents of love, those providing viewpoints in various aspects as well as those portraying images of artists to achieve entertaining purpose. The signifiers used to represent contents are costumes, shots, lighting, shadow, setting and locations. According to the economic logic of exchange value, its laxity is found in music video itself. The reason being that the production purpose is to boost sales promotion, not directly for sales. However ther is an exchange value for music videos when they are sold in the form of “karaoke”. As for the logic of symbolic exchange, consuming music videos has become a symbol of modernity and life style of a new generation. The logic of sign values found in music videos has the characteristics of universality, artist images and extravaganza life style. The functional logic of usage value results in the creation of music videos in terms of format selection to represent the songs. Among those are story format, non-sequential format and semi-story format, aiming at arousal of feelings to achieve its usage value. Nevertheless, the importance of rhythm, melody and artists of the songs are also put into consideration. The logic of sign value results in the contents of music videos as an effort to touch feelings, to gain good impressions and recognitions from the consumers through television broadcasting. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29633 |
ISBN: | 9745834912 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Punpong_su_front.pdf | 4.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Punpong_su_ch1.pdf | 4.94 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Punpong_su_ch2.pdf | 8.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Punpong_su_ch3.pdf | 4.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Punpong_su_ch4.pdf | 13.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Punpong_su_ch5.pdf | 24.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Punpong_su_ch6.pdf | 6.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Punpong_su_back.pdf | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.