Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29668
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วาสินี วิเศษฤทธิ์ | - |
dc.contributor.author | กฤติมา ดอกมะงั่ว | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-03-12T04:05:58Z | - |
dc.date.available | 2013-03-12T04:05:58Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29668 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพบริการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้รับบริการและพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนเขต 4 สังกัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 400 คน และพยาบาลวิชาชีพจำนวน 330 คนที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามคุณภาพบริการพยาบาล ใช้แนวคิดคุณภาพบริการของ Parasuraman et al. (1993) และมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (HPH Plus, 2552) ร่วมกับการสนทนากลุ่มผู้รับบริการและพยาบาลวิชาชีพ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและทดสอบความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามพยาบาลวิชาชีพและผู้รับบริการ .89, .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คุณภาพบริการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้รับบริการโรงพยาบาลชุมชนเขต 4 สังกัดกระทรวงสาธารณสุขอยู่ในระดับดี (X bar = 4.00 , SD= 0.64) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าผู้รับบริการมีการรับรู้คุณภาพบริการพยาบาลดีทุกด้านโดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจได้ (X bar = 4.09, SD= 0.70) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด คือ ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ (X bar = 3.90, SD=0.69) 2. ผู้รับบริการและพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนที่มีขนาดแตกต่างกันมีการรับรู้คุณภาพบริการพยาบาลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 โดยโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็กมีการรับรู้คุณภาพบริการพยาบาลดีกว่าโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง และโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ 3. ผู้รับบริการและพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนที่มีระดับการประเมินคุณภาพโรงพยาบาลแตกต่างกัน มีการรับรู้คุณภาพบริการพยาบาลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 โดยโรงพยาบาลชุมชนที่ผ่านการประเมินคุณภาพโรงพยาบาลมีการรับรู้คุณภาพบริการพยาบาลดีกว่าโรงพยาบาลชุมชนที่ไม่ผ่านการประเมินคุณภาพโรงพยาบาล 4. คุณภาพบริการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนเขต 4 สังกัดกระทรวงสาธารณสุขอยู่ในระดับดี (X bar = 3.72, SD= 0.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าพยาบาลวิชาชีพมีการรับรู้คุณภาพบริการพยาบาลดีทุกด้านโดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ (X bar = 4.15, SD= 0.63) ส่วนด้าน ที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (X bar = 3.04 , SD=0.49) อยู่ในระดับปานกลาง | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to study nursing service quality as perceived by clients and professional nurses in Community Hospitals, the fourth region ministry of public health. Participants included 400 outpatients and 330 professional nurses. Subjects obtained by multi-stage sampling Applied tools to collect data included questionnaire based on Service Quality Concept developed by Parasuraman et al and Health Promotion Hospital Standard (HPH Plus, 2552) associated with group discussion among patients who had receive services from the hospitals and professional nurses. The instruments validated by a panel of 10 qualified experts who checked for content validity . Reliability was tested by Cronbachs alpha coefficient wherein reliability equaled .89, .93. Data was statistically analyzed by frequency, percentage, mean and standard deviation. Major findings were as follows: 1. Nursing service quality as perceived by clients in community hospitals, the fourth region Ministry of public health was good (X bar = 4.00 , SD= 0.64) The highest ranked was reliability (X bar = 4.09 , SD= 0.70) and the least ranked was tangible. (X bar =3.90, SD= 0.69). 2. Clients and professional nurses in different size of hospitals differently perceived nursing service quality statistically significant at .05. It was found that smaller community hospitals had got better perception than medium and big community hospitals. 3. Clients and professional nurses in community hospitals with different accreditation differently perceived nursing service quality statistically significant at .05. It was found that accredited community hospitals had got better perceive than unaccredited community hospitals. 4. Nursing service quality as perceived by professional nurses was high. (X bar =3.72, SD=0.50) Humanize health care was the highest ranked (X bar = 4.15, SD= 0.63) and provision of facilitating environment for the operation of community hospitals was ranked the least with moderate perception. (X bar = 3.04 , SD=0.49) | en |
dc.format.extent | 3010383 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1053 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | โรงพยาบาล -- การบริหาร | en |
dc.subject | การบริหารบริการสุขภาพ | en |
dc.subject | บริการการพยาบาล -- การบริหาร | en |
dc.subject | การรับรู้ | en |
dc.subject | พยาบาล | en |
dc.subject | บริการสำหรับผู้ป่วย | en |
dc.title | ศึกษาคุณภาพบริการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้รับบริการและพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนเขต 4 สังกัดกระทรวงสาธารณสุข | en |
dc.title.alternative | A study of nursing service quality as perceived by clients and nurses in community hospitals, the Fourth Region, Ministry of Public Health | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การบริหารการพยาบาล | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | wasinee_w@hotmail.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.1053 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
krittima_do.pdf | 2.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.