Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29855
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไพฑูรย์ สินลารัตน์
dc.contributor.authorมนัส เกิดปรางค์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-03-16T06:17:55Z
dc.date.available2013-03-16T06:17:55Z
dc.date.issued2527
dc.identifier.isbn9745638374
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29855
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงความเป็นมาในการจัดตั้งและพัฒนาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย ในด้านต่าง ๆ 3 ด้านคือ หลักสูตรและการสอน, การบริหารงาน และบทบาทที่มีต่อสังคมไทย นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์ เพื่อคาดคะเนแนวโน้มของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในระยะหลัง พ.ศ. 2526 วิธีรวบรวมข้อมูล ได้ใช้เอกสารจากพระราชบัญญัติวิทยานิพนธ์ หนังสือ วารสาร และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสงฆ์ นำมาวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อเรื่อง รวมทั้งการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสงฆ์ แล้วจึงรวบรวมขอมูลที่ได้จากเอกสารและการสัมภาษณ์ นำมาวิเคราะห์ เรียบเรียงเป็นวิทยานิพนธ์ ผลของการวิจัย พบว่า 1. การศึกษาพระปริยัติธรรมในประเทศไทยเริ่มตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ หลักสูตรเดิมของการศึกษาพระปริยัติธรรม แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ บาเรียนตรี บาเรียนโท และบาเรียนเอก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมจาก 3 ระดับ เป็น 9 ระดับ หรือ 9 ประโยค ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2359 เป็นต้นมา ในปัจจุบันนี้มหาเถรสมาคมและกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ รับผิดชอบสำนักเรียนพระปริยัติธรรมทั้งปวง 2. สภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินงานในรูปสถาบันการศึกษาของสงฆ์ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2436 โดยพระบรมราชโองการในพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้นามว่า มหามกุฎราชวิทยาลัย ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ครั้น ถึงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2488 สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้ทรงประกาศตั้งสถานศึกษาชั้นสูงในรูปมหาวิทยาลัยสงฆ์ขึ้น ใช้นามว่า สภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัยได้ประกาศใช้ระเบียบและหลักสูตรของสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 และได้เปิดสอนตามหลักสูตรนี้แก่ พระภิกษุสามเณร เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2489 เป็นต้นมา ส่วนมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นสถาบันการศึกษาของสงฆ์ ได้สถาปนาโดยพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ ใช้นามว่ามหาธาตุวิทยาลัย ครั้นถึงวันที่13 กันยายน พ.ศ. 2439 พระราชทานนามใหม่ว่า มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระเกียรติในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 249 0 พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตตเถร) พร้อมด้วยฉันทานุมัติจากที่ประชุมพระเถระผู้ใหญ่หลายรูปประกาศยกสถานภาพขึ้นดำเนินการในรูปมหาวิทยาลัยสงฆ์ ใช้นามว่า มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และเปิดสอนเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 เป็นต้นมา มูลเหตุของการจัดการศึกษาในรูปมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งนั้น เกิดจากพระเถระผู้ใหญ่เหล่านั้นมีความเห็นว่า การศึกษาของรัฐบาลได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้ทันกับวิทยาการสมัยใหม่อยู่ตลอดมา แต่การศึกษาของคณะสงฆ์ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เพื่อให้ เหมาะกับสังคมที่กำลัง เปลี่ยนแปลง ในขณะนั้นการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี และแผนกธรรมได้รับการยอมรับจากสังคมไทยน้อยลง และรัฐบาลไม่ได้สนับสนุนมากนัก ดังนั้นจึงสมควรจะได้ปรับปรุงการศึกษาของคณะสงฆ์ เพื่อให้พระภิกษุสามเณรได้ศึกษาพระปริยัติธรรมควบคู่กันกับวิชาสามัญทางโลก จะได้มีความรู้ ควานสามารถ รู้เท่าทันกับเหตุการณ์ในสังคมปัจจุบัน และเพื่อสนองพระราชประสงค์เดิมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระราชทานเป็นสถานที่ศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง 3. หลักสูตรการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งเป็นระบบเบ็ดเสร็จ ได้จัดตั้งหลักสูตร การศึกษาระดับต่ำกว่าอุดมศึกษาและระดับอุดมศึกษาไว้ในสถาบันเดียวกัน สภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย ได้จัดหลักสูตรการศึกษาเป็น 2 ระดับคือ ระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา ได้แก่หลักสูตรบุรพศึกษา หลักสูตรบาลีสามัญศึกษา และหลักสูตรเตรียมศาสนศาสตร์ และระดับอุดมศึกษา ได้แก่ หลักสูตรปริญญาศาสนศาสตร์บัณฑิต ส่วนมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยฯ ได้จัดหลักสูตรการศึกษาไว้ 2 ระดับ คือ ระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา ได้แก่ หลักสูตรบาลีสาธิตศึกษา หลักสูตรบาลีอบรมศึกษา และหลักสูตรบาลีเตรียมอุดมศึกษา และระดับอุดมศึกษาได้แก่ หลักสูตรประกาศนียบัตรครูศาสนศึกษาและหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตร์บัณฑิต พัฒนาการของหลักสูตรการศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งนั้นจะปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัยอยู่เสมอ ทั้งนี้เพื่อให้พระภิกษุสามเณรมีความรู้เท่าทันสังคมทางโลก 4. การบริหารงานของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง ตั้งแต่เริ่มดำเนินการในรูปมหาวิทยาลัยสงฆ์จนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 เป็นหน่วยงานเอกเทศ การบริหารงานใช้ระบบคณะกรรมการ ครั้นถึงวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง ได้ขึ้นสังกัดกับมหาเถรสมาคม เป็นต้นมา การบริหารงานภายในใช้ระบบสภามหาวิทยาลัย ประกอบด้วย กรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการโดยตำแหน่งจะมีเฉพาะฝ่ายบรรพชิตเท่านั้น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะมีทั้งฝ่ายบรรพชิตและฝ่ายคฤหัสถ์โดยกรรมการฝ่ายบรรพชิตจะมีบทบาทมากในการตัดสินใจของการบริหารงานในมหาวิทยาลัยสงฆ์ ส่วนกรรมการฝ่ายคฤหัสถ์จะเป็นเพียงที่ปรึกษาเท่านั้น โครงสร้างในการบริหารงานเช่นนี้อาจจะมีแนวโน้มว่าการตัดสินใจใด ๆในการบริหารงานก็ย่อมเน้นไปในทางพระพุทธศาสนาค่อนข้างสูง 5. บทบาทของมหาวิทยาสงฆ์ทั้งสองแห่งที่มีต่อสังคมไทย ได้แก่ การผลิตบัณฑิตส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุสามเณร มีภูมิลำเนาเดิมมาจากต่างจังหวัด ผู้ซึ่งมีโอกาสน้อยในอันที่จะได้รับการศึกษาในระดับสูงกว่าการศึกษาภาคบังคับ มหาวิทยาลัยสงฆ์จึงเป็นช่องทางเอื้ออำนวยประโยชน์ทางศาสนศึกษาแก่ผู้มีโอกาสน้อยเหล่านี้เป็นอย่างยิ่งในสังคมไทย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งยังมีบทบาทในการให้บริการทางวิชาการพระพุทธศาสนา แก่สังคมไทยนานาประการ เช่น การเผยแผ่ธรรม การจัดทำนิตยสารธรรมจักษุและพุทธจักร และจัดตั้งโรงเรียนพุทธศาสนา วันอาทิตย์ เป็นต้น 6. มหาเถระสมาคมได้รับรองวิทยฐานะ มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งแล้ว เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 แต่รัฐบาลไทยยังไม่ได้รับรองวิทยฐานะขั้นปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งจนถึงปัจจุบันนี้ (พ.ศ. 2526) 7. คาดคะเนแนวโน้มที่สำคัญของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งในระยะหลัง พ.ศ. 2526 ก็คือ รัฐบาลไทยอาจจะรับรองวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง แสะมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยฯอาจจะเพิ่มสาขาสถานศึกษา หรือวิทยาเขตในต่างจังหวัดมากขึ้น 8. หลังจากที่ได้วิเคราะห์พัฒนาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทยแล้ว จะพบว่า อิทธิพลที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์นั้นครอบคลุมอิทธิพลทางด้าน วิทยาการสมัยใหม่ ทำให้พระภิกษุสามเณรต้องศึกษาหาความรู้ เพื่อให้เท่าทันเหตุการณ์ของโลก อิทธิพลทางด้านการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ที่เป็นแรงจูงใจให้พระเถระผู้ใหญ่หลายรูปในพระพุทธศาสนาที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ เพื่อศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนาอย่างเป็นระบบ อิทธิพลทางด้านระบบอุดมศึกษาของรัฐ ที่เห็นว่าระบบอุดมศึกษาของรัฐได้จัดขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่คนนิยมศึกษากันจึงได้ จัดตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ขึ้น เพื่อพระภิกษุสามเณรจะได้ศึกษาในระดับอุดมศึกษาและมีความรู้ทันสมัยขึ้น รวมทั้งกลไกทางการเมือง ในแต่ละยุคแต่ละสมัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ในด้านใดด้านหนึ่งด้วยเสมอ 9. การจัดการศึกษาในรูปมหาวิทยาลัยสงฆ์จะเกิดผลดีหลายอย่าง คือ พระภิกษุสามเณร มีโอกาสในการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เพราะมหาวิทยาลัยสงฆ์เป็นการศึกษาของมวลชนอย่างแท้จริง อันเป็นการศึกษาแบบให้เปล่า นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยสงฆ์ช่วยปรับปรุงการปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระภิกษุสามเณรให้ดีขึ้น เพราะพระภิกษุสามเณรที่ได้รับการศึกษาย่อมจะมีความรู้ในการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นผลดีต่อพระพุทธศาสนาและประเทศชาติรวมทั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ มีบทบาทในการสร้างพระภิกษุสามเณรให้เป็นผู้นำชุมชนและให้บริการด้านต่าง ๆ แก่สังคม
dc.description.abstractalternativeThe purpose of thi3 research was to study' and analyze the development of Buddhist Universities in Thailand in three aspects} curriculum and teaching, administration and social services. In addition, the trend of Buddhist Universities was also predicted. Research method employed in this study was historical research. It included studying and analyzing the acts, theses, books, periodicals and printed matters concerning with Buddhist Universities. Interviewing those who concerned with Buddhist Universities was also adopted. The major findings of this research were as follow: 1. Ecclesiastical education in Thailand was first developed in the Sukhothai period and functioned to Ratanakosin. The former curriculum of ecclesiastical education was divided into three grades: Barian Tri, Barian Tho and Barian Ek. In B.E. 2359, King Rama II had changed the three grades barian system into the nine grades or nine prayoke system, which is a prototype of the current one. The Council of Elders and the Department of Religious Affairs, the Ministry of Education control all ecclesiastical schools at the present time. 2. Mahamakut Rajavidyalaya Educational Council under Royal Patronage was founded as a collegiate institution on October 1, B.E. 2436, by the Royal Decree of His Majesty King Chulalongkorn. It was called Mahamakut Rajavidyalaya at Bovomivetl Monastery, On December 30, B.E. 2488 Supreme Patriarch Prince Vajirayanavongsa proclaimed the founding of Buddhist University and it has been called " Mahamakut Rajavidyalaya Educational Council, Buddhist University under Royal Patronage." The courses of study ware developed on July 11, B.E. 2489, to monks and novices, Mahachulalongkorn rajavidyalaya under Royal Patronage was an ecclesiastical institution founded by His Majesty King Chulalongkorn for the education of Buddhist monks and novices on November 8, B.E, 2432, at Mahadhatu Monastery It was oalled Mahadhatu Vidyalaya, On September 13, B,E, 2439, by a Royal Decree, the name was changed to Mahachulalongkornraja vidyalaya to perpetuate the memory and honor of His Majesty King Chulalongkorn. On January 9, B.E, 2490, with consent of the assemble of Elders presided over by Phra Bimaladharma (Choi Thanadatta Thera), the status of the institution was raised to that of a Buddhist University, retaining however, the name of Mahachulalongkomrajavidyalaya. The new classes started on July 18, B.E. 2490. Since then it has been functioning as a Buddhist University for monks and novices. The reason for the founding of Buddhist Universities was that the secular education was improved and changed dramatically, but the ecclesiastical education was not changed enough to serve society. At the same time, the ecclesiastical education of Pali and Hmrrna sections were decree singly, and the government had not much supported them. It was quite dear, at that time that the monks and novices should study the modern subjects to cope with the growth of modernization. In addition, to follow the aim of His Majesty King Chulalongkorn which provided institutions studying Tripitaka and higher education, was also the major motivation. 3. The curricula of two Buddhist Universities were divided into two levels: lower higher education and higher education. Two levels of education were operated in the same institution. The curricula of Mahamakut Rajavidyalaya Educational Council in the level of lower higher education consisted of the Elementary Class, Pali General Education and the Pre- University; and in the level of higher education was the Undergraduate Class, The curricula of Mahachulalongkornrajavidyalaya in the level of lower higher education consisted of Pali Demonstration School, Pali Introductory School and Pali Pre-University School; and in the level of higher education was Ecclesiastical Teaching Training College and Undergraduate Studies: o The development of curricula of the two Buddhist Universities had increasingly improved following the regulations of the Ministry of Education and the Ministry of University Affairs, It has been improved for expanding the modern knowledge of the monks and novices, 4. From the founding to May 15, B.E, 2512, the administrations of the two Buddhist Universities were functioned as the autonomous institutions. They were administered by the special committee. On May 16, B.E. 2512, the Council of Elders was founded at the two Buddhist Universities, The Universities were administered by the University Councils, consisted of ex officio members and qualified members. The ex officio members were only the monks. The qualified members were both the monks and the laymen. In action, the monks took active roles in administration of the two Buddhist Universities. The Laymen members .were only the counselors. It is obvious that the affairs of the Universities gear to the sole benefit of Buddhism. 5. The basic role of two Buddhist Universities in Thai society was the instructional programed. The most of monks and novices had the permanent domicile from the country side who obtain only primary education. Buddhist Universities served them for the ecclesiastical education. Besides, two Buddhist Universities had the roles of academic services on Buddhism, such 83 propagation of Dharma, publications of Dharroacakshu and Buddhacakra, and Buddhist Sunday School, 6. The Council of Elders approved the status of two Buddhist Universities on May 16, B.E. 2512; but Thai government has not accredited the bachelor’s degrees till B.E. 2526. 7. To predict the trends of two Buddhist Universities after B.E. 2526, It seems that soon Thai government will accredit two Buddhist Universities Mahachulalongkomrajavidyalaya will increasingly found the branches or campuses at the country side. 8. After analysis of the development of Buddhist Universities in Thailand, it was found that the influences which changed the Buddhist Universities was the modern knowledge and technology. The monks and novices should study modern subjects to apply in the present world. Propagation of Christian religion was also the another influence which motivated the Buddhist Elders to raise the status of the ecclesiastical institution as Buddhist Universities. The secular higher education was the another influence in the founding of Buddhist Universities for the monks and novices to study in the higher education. Political situation in each period effected some aspects in the operation of Buddhist Universities. 9. Buddhist Universities have some valuable results: the monks and novices had the educational opportunity to study at the higher level. Buddhist Universities were Indeed the education for masses which have been offered free of charge. Besides, Buddhist Universities improved increasingly the disciples of monks and novices which led to the best results of Buddhism and the nation. In addition, Buddhist Universities could produce the graduates which later would be leadership in the community.
dc.format.extent8775990 bytes
dc.format.extent12951970 bytes
dc.format.extent35563225 bytes
dc.format.extent29767661 bytes
dc.format.extent48944778 bytes
dc.format.extent37015464 bytes
dc.format.extent13450153 bytes
dc.format.extent12430822 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleพัฒนาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทยen
dc.title.alternativeDevelopment of Buddhist universities in Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Manas_ke_front.pdf8.57 MBAdobe PDFView/Open
Manas_ke_ch1.pdf12.65 MBAdobe PDFView/Open
Manas_ke_ch2.pdf34.73 MBAdobe PDFView/Open
Manas_ke_ch3.pdf29.07 MBAdobe PDFView/Open
Manas_ke_ch4.pdf47.8 MBAdobe PDFView/Open
Manas_ke_ch5.pdf36.15 MBAdobe PDFView/Open
Manas_ke_ch6.pdf13.13 MBAdobe PDFView/Open
Manas_ke_back.pdf12.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.