Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29861
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เดชา บุญค้ำ | - |
dc.contributor.advisor | สุวัฒนา ธาดานิติ | - |
dc.contributor.author | ปรีชา ศิรภัค | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2013-03-16T09:05:26Z | - |
dc.date.available | 2013-03-16T09:05:26Z | - |
dc.date.issued | 2527 | - |
dc.identifier.isbn | 9745631884 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29861 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาวิชาทางด้านผังเมืองนั้นเป็นเรื่องของการผสมผสานความรู้ และความเข้าใจในวิชาสาขาต่างๆ เข้ามาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการหาแนวทางในการแก้ปัญหานานาชนิดที่เกิดขึ้นภายในเมืองรวมทั้งเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาในอนาคตอีกด้วย ยิ่งเมืองที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเท่าใด ถ้าไม่ได้รับการวางผังเมืองที่ดีแล้วก็ย่อมจะกลายเป็นเมืองที่มีปัญหามากขึ้นเท่านั้นหรือแม้ว่าจะมีการวางผังเมืองแล้วแต่ไม่มีการปฏิบัติตาม เมืองนั้นๆ ก็จะประสบกับปัญหาต่างๆ ตามมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด กรุงเทพมหานครก็เช่นเดียวกัน ปัญหาต่างๆ ได้เกิดขึ้นมากมายและต่างก็มีความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกันอย่างแยกไม่ออก รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนอย่างสันทนาการของรัฐด้วย ตัวบ่งชี้ให้เห็นปัญหาดังกล่าวได้แก่ อัตราส่วนที่ต่ำกว่ามาตรฐานของพื้นที่สวนสาธารณะต่อจำนวนประชากร 1,000 คน ความล้มเหลวของการจัดตั้งศูนย์เยาวชนทั้งหมด และการที่เอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดสร้างแหล่งสันทนาการเชิงธุรกิจเพื่อหวังกำไรโดยไม่ได้นึกถึงผลเสียที่จะตามมาในรูปแบบของสถานบันเทิงเริงรมย์ต่างๆ สิ่งเหล่านี้เชื่อว่าเป็นสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งในการก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอย่างต่อเนื่องกันตลาดระยะเวลาที่ผ่านมา การศึกษาเพื่อกำหนดมาตรฐานในการวางแผนสำหรับศูนย์สันทนาการกรุงเทพมหานคร จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อที่จะช่วยให้การวางแผนนั้นเป็นไปอย่างมีระบบตรงกับเป้าหมายและสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชน อันจะเป็นการช่วยให้การจัดบริการทางด้านสันทนาการของรัฐให้แก่ประชาชนในกรุงเทพมหานคร ต่อไปนั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในการศึกษาครั้งนี้ได้ใช้ตัวแปรเพื่อกำหนดมาตรฐานดังกล่าว 2 ประการคือ ตัวแปรทั่วไปซึ่งหมายถึงเรื่องของการใช้ที่ดินและประชากรในส่วนที่เป็นข้อมูลทางด้านวัย อายุ อาชีพ รายได้ และการศึกษา กับตัวแปรพิเศษซึ่งเป็นเรื่องของที่ว่างภายในเมือง ราคาที่ดินรวมทั้งขนาดของสนามกีฬาชนิดต่างๆ และพบว่า ประชาชนกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ยังมีฐานะยากจน มีการศึกษาน้อย และเป็นผู้ที่มีอาชีพเกี่ยวข้องในสาขาการผลิต รับจ้างหรือใช้แรงงานมากกว่าในสาขาอื่นๆ ส่วนที่ว่างนั้นมีน้อยมากและราคาสูงในพื้นที่ตอนใน โดยจะเพิ่มมากขึ้นและราคาถูกลงเมื่อถัดออกมาในพื้นที่รอบนอก มาตรฐานของการวางแผนในที่นี้ก็คือ การกำหนดประเภท ชนิด ขนาดและที่ตั้งของศูนย์สันทนาการในอนาคต ซึ่งเป็นเพียงมาตรฐานบางส่วนเท่านั้น และจากการวิเคราะห์ตัวแปรทั่วไปในกรุงเทพมหานครนั้นจะต้องเน้นความสำคัญในเรื่องของการสันทนาการที่ไม่ต้องใช้กำลังมากกว่าสันทนาการที่ใช้กำลัง ส่วนการดำเนินงานเพื่อให้ได้มาซึ่งศูนย์สันทนาการกรุงเทพมหานครนั้นเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติต่อไป วิธีการศึกษาในครั้งนี้ยังอาจที่จะนำไปใช้กำหนดมาตรฐานในการวางแผนทางด้านสันทนาการในพื้นที่ต่างๆ เช่น หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภาค และประเทศ เป็นต้น และเชื่อว่าจะได้ผลสรุปที่ต่างกันออกไปทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับข้อมูลและตัวแปรต่างๆ ของพื้นที่เหล่านั้น ปัญหาการขาดแคลนแหล่งสันทนาการของรัฐเป็นปัญหาที่ต้องการความจริงจังและจริงใจในการแก้ไข การกำหนดมาตรฐานของการวางแผนศูนย์สันทนาการกรุงเทพมหานครในครั้งนี้ เป็นเพียงแนวทางประการหนึ่งในอันที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการพยายามกำหนดประเภท ชนิด ขนาด และที่ตั้งของศูนย์สันทนาการให้เหมาะสม สามารถที่จะให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งเชื่อว่าจะสามารถลดระดับความรุนแรงของปัญหาทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานครได้อีกด้วย ทั้งนี้เพราะจุดมุ่งหมายของการสันทนาการนั้นก็คือการสร้างคุณภาพของชีวิตที่ดีให้แก่ทุกคนทั้งร่างกายและจิตใจนั่นเอง | - |
dc.description.abstractalternative | An urban planning study is an inter-disciplinary study. The objective of this study is to find out ways to solve various problems in urban areas; both existing problems and expected problems in the future. An unplanned city has many problems and the more a city grows the more problems are bound to happen. If it has a plan but the plan is not implemented, the problems are inevitable. Problems occurring in the Bangkok Metropolitan area are complicated and related to one another. One of these problems is the lack of public recreation areas. As an important indicator may serve the fact the number of park area per 1,000 inhabitants is below acceptable standards, as a result of the unproper establishments of the youth centers and the rapidly expansion of business recreation in the private sector such as theaters, night-clubs, bowling-allyes, shopping-centers, department stores etc. A Study of planning standard development for recreation centers in Bangkok Metropolitan area is very essential, as it will improve the process of planning. More over it can indicate the real recreation demand of people in the Bangkok Metropolitan area. In this study two factors are used to set-up planning standards, one is the basic factor with respect to land use and some population characteristics such as age-group, eccupation, family-income and education, and the other factor are details consisting of urban open spaces, vacant areas, land prices and size of various sport fields. The conclusion of this study shows that in the Bangkok Metropolitan area most of the people are poor, undereducated, with low-income, there are less open spaces and vacant areas in the inner zones compared with the outer zones of the Bangkok Metropolitan area because the land price in the inner zone is higher than in the suburban area. The objective of this study is to set up some standard of recreational planning such as type, size and location of recreation centers. It is recommended that in the Bangkok Metropolitan area passive and active recreational facilities should be provided the rate of provision depending on basic standard factors. The implementation according to the standards is the duty of the authorities responsible for the provision of recreational places in the Bangkok Metropolitan area. The process and methodology of this study should be used in any such areas as neighbourhoods, communities, districts, regions or country-wide, and it is believed that the solution for each of the above mentioned areas should be adaptable to the circumstance. The solving of public recreation problems require serious and urgent attention. The series of planning standards mentioned in this study is one of a methodology to provide efficient recreation centers for the public in this area because it rerated to the actual demand. The efficient recreation centers are expected to reduce many urban problems expecially in physical, economic, social, as well as in cultural aspects because the main objective of recreation is to create a better quality of life for the people as it is said, “a Sound Mind lives in a Sound Body.” | - |
dc.format.extent | 8803802 bytes | - |
dc.format.extent | 4546513 bytes | - |
dc.format.extent | 10371253 bytes | - |
dc.format.extent | 3942659 bytes | - |
dc.format.extent | 39484927 bytes | - |
dc.format.extent | 57978999 bytes | - |
dc.format.extent | 25656350 bytes | - |
dc.format.extent | 2535863 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การศึกษาเพื่อกำหนดมาตรฐานในการวางแผนสำหรับศูนย์สันทนาการ กรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | A study for the development of planning standards for recreation centers in the Bangkok Metropolitan area | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ผังเมือง | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Preecha_si_front.pdf | 8.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preecha_si_ch1.pdf | 4.44 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preecha_si_ch2.pdf | 10.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preecha_si_ch3.pdf | 3.85 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preecha_si_ch4.pdf | 38.56 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preecha_si_ch5.pdf | 56.62 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preecha_si_ch6.pdf | 25.06 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preecha_si_back.pdf | 2.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.