Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29895
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | บุญยง ทิพยโส | - |
dc.contributor.author | ปรียา ชัยพานิช | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2013-03-17T14:50:06Z | - |
dc.date.available | 2013-03-17T14:50:06Z | - |
dc.date.issued | 2528 | - |
dc.identifier.isbn | 9745640867 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29895 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 | en |
dc.description.abstract | การคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศไทย เป็นผลมาจากนโยบายพัฒนาประเทศ ซึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นจุดมุ่งหมายหลัก ฉะนั้นรัฐจึงต้องใช้นโยบายและมาตรการต่างๆ เป็นเครื่องมือเพื่อให้เกิดผลเป็นการคุ้มครองแก่ผู้ผลิตภายในประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น นโยบายภาษีอากร นโยบายควบคุมราคาสินค้า นโยบายเงินช่วยเหลือของธนาคารแห่งประเทศไทย มาตรการส่งเสริมการลงทุน มาตรการควบคุมการนำเข้า มาตรการควบคุมโรงงาน ฯลฯ ในบรรดาเครื่องมือเหล่านี้ มาตรการทางภาษีอากรเป็นเครื่องมือที่สำคัญมากที่รัฐใช้เพื่อให้การคุ้มครองแก่อุตสาหกรรมในประเทศได้ผลโดยทางตรง มาตรการทางภาษีอากร คือการกำหนดอัตราอากรขาเข้าเพื่อให้ผู้ผลิตในประเทศสามารถประกอบการแข่งขันกับผู้ผลิตต่างประเทศได้ โดยจะต้องระวังไม่ให้เกิดผลเสียหายต่อส่วนรวม ซึ่งวิธีการพิจารณากำหนดอัตราอากรขาเข้าดังกล่าว และการคำนวณค่าของอัตราความคุ้มครองที่แท้จริงอันเกิดจากมาตรการทางภาษีอากรนั้น รัฐได้ใช้ข้อมูลทางบัญชีของอุตสาหกรรมมาพิจารณาประกอบกับข้อมูลทางด้านอื่น แต่ยังไม่เคยมีหลักเกณฑ์เขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร วิทยานิพนธ์นี้จึงเป็นการศึกษาถึงหลักเกณฑ์การใช้ข้อมูลทางบัญชีในการกำหนดอัตราอากรขาเข้า เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบถึงวิธีการใช้ข้อมูลทางบัญชีในการกำหนดอัตราอากรขาเข้าเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศ และปัญหาที่เกิดจากการใช้ข้อมูลทางบัญชีดังกล่าว รวมทั้งศึกษาถึงผลดีของการกำหนดอัตราอากรขาเข้า เพื่อความคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศ โดยใช้ข้อมูลทางบัญชี และไม่ใช่ข้อมูลทางบัญชี จากการศึกษาจากเอกสารต่างๆ และการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จึงได้ทำการรวบรวมความคิดเห็น และวิธีการที่ทางราชการใช้ในการพิจารณากำหนดอัตราอากรขาเข้า เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศ เฉพาะเท่าที่สามารถเปิดเผยได้มาวิเคราะห์เป็นกรณีตัวอย่าง 2 กรณี และได้ทำการวิเคราะห์ในเชิงปริมาณเพิ่มเติมเพื่อแสดงผลเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการบริหาร เสถียรภาพทางการเงิน ความสามารถในการกระจายรายได้ และความเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม จะได้เป็นแนวทางการใช้ข้อมูลทางบัญชีให้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น ผลสรุป คือการใช้ข้อมูลทางบัญชีในการกำหนดอัตราอากรขาเข้า เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศ ทำให้มีเหตุผลในการพิจารณาอย่างชัดเจนมากกว่ากรณีที่ไม่ใช้ข้อมูลทางบัญชี เพราะมีผลลัพธ์จากการคำนวณในรูปเปอร์เซ็นต์ หรืออัตราส่วน ตามวิธีวิเคราะห์ ทั้งในลักษณะ Horizontal analysis และ Vertical analysis ทั้งยังมีการวัดระดับอัตราความคุ้มครองที่แท้จริง โดยใช้ข้อมูลทางบัญชีแทนค่าในสูตร EPR (Effective protective rate) ของ W.M. Corden ซึ่งจากการศึกษาปรากฏว่าได้มีการใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางการบัญชีดังกล่าวกับอุตสาหกรรมทุกขนาดและประเภท จึงสามารถวางเป็นหลักเกณฑ์ที่แน่นอนเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้ แต่การที่จะทำให้การคุ้มครองโดยการใช้มาตรการทางภาษีอากรนี้เป็นผลดีแก่เศรษฐกิจและสังคมโดยส่วนรวม จึงมีความจำเป็นต้องวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพจากข้อมูลด้านอื่นประกอบด้วยเสมอ เช่นผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอื่นในประเทศ ความเดือดร้อนของผู้บริโภค ปัญหาการลักลอบนำสินค้าเข้ามาในประเทศ ปัญหาการหารายได้ทางภาษีอากร ฯลฯ | - |
dc.description.abstractalternative | The protection of domestic industries in Thailand results from the country’s development plan which emphasizes industrial development as one major role. The Thai government has tried various measures for a direct and indirect protection of domestic industries such as tax policies, price control policies, The Bank of Thailand’s financial aid, investment promotion, import controlling and factory controlling. It is accepted that tax policies especially import duty are very efficient measures for domestic industries protection. One measure of tax policies is to determine a suitable rate of import duty on finished products so that domestic producers can compete with foreign country producers without any detrimental effect to overall economy. Information on accounting of various industries and from other sources have been used in determining the mentioned rate of duty and in calculation of an effective rate of protection. However, the basis in the determination of import duty rates for protection of domestic industries has never been compiled in a written form. The purpose of this thesis is to study how the accounting data is used in the determination of import duty for such purpose as well as to study problems arising from the use of accounting data and then advantages and disadvantages from using and not using accounting data for consideration in the determination of import duty rates. This thesis was compiled from various documents and information received from the interviewing of the government officials concerned. Two case studies have been illustrated in this thesis on how to use accounting data in the determination of import duty rates. A quantitative analysis shows how the accounting data can be used in assessing the efficiency in administration, financial stability, income distribution and growth of industries. From this study it can be concluded that using accounting data in determining import duty rate is better than not using accounting data. The use of accounting data can be derived through calculation of percentages both in horizontal and vertical analysis. Additionally, the calculation of an effective protective rate was made by applying accounting data to W.M. Corden’s formula (Effective Protective Rate’s formula). From the study it is revealed that the same methodology of accounting analysis has been applied to industry of every size and type. Therefore a basic rule for practices on this line can be formulated and described in a written form. However it also needs a qualitative analysis of other aspects as well in order to consider effects to other related industries, disadvantages to consumers, effects from smuggling, and governmental taxes revenue in the determination of effective duty rates. | - |
dc.format.extent | 4465133 bytes | - |
dc.format.extent | 2021269 bytes | - |
dc.format.extent | 12189852 bytes | - |
dc.format.extent | 6138950 bytes | - |
dc.format.extent | 22539781 bytes | - |
dc.format.extent | 3441108 bytes | - |
dc.format.extent | 13066824 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | หลักเกณฑ์ในการใช้ข้อมูลทางการบัญชีในการประกอบการพิจารณา กำหนดอัตราอากรขาเข้าเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ | en |
dc.title.alternative | Basis in the use of accounting data for consideration in the determination of import duty rates for protection of domestic industries | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | บัญชีมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การบัญชี | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Preeya_ch_front.pdf | 4.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeya_ch_ch1.pdf | 1.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeya_ch_ch2.pdf | 11.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeya_ch_ch3.pdf | 6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeya_ch_ch4.pdf | 22.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeya_ch_ch5.pdf | 3.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeya_ch_back.pdf | 12.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.