Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29904
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อุ่นตา นพคุณ | - |
dc.contributor.advisor | ประคอง กรรณสูต | - |
dc.contributor.author | ทัศนีย์ จิรารัตน์วัฒนา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2013-03-17T15:04:36Z | - |
dc.date.available | 2013-03-17T15:04:36Z | - |
dc.date.issued | 2530 | - |
dc.identifier.isbn | 9745673994 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29904 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาระดับการรู้หนังสือขั้นพื้นฐานของประชาชนที่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในชุมชนหมู่บ้านพัฒนา 2. เพื่อเปรียบเทียบระดับการรู้หนังสือขั้นพื้นฐานของประชาชนในชุมชนหมู่บ้านพัฒนาที่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีภูมิหลังต่างกัน วิธีการวิจัย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนในชุมชนหมู่บ้านพัฒนาที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน และไม่ได้ศึกษาต่อ จำนวน 301 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และส่งแบบทดสอบความสามารถพื้นฐานทั้งวิชาภาษาไทยและเลขคณิต ให้ผู้ที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทุกๆ คน ที่พบจนครบ 318 คน ตามขนาดตัวอย่างประชากรที่พอเหมาะที่ได้คำนวณไว้แล้วตามสูตรของนิยมปุราคำ แต่แบบสัมภาษณ์และแบบทดสอบความสามารถพื้นฐานทั้งสองวิชาที่สมบูรณ์มีอยู่ 301 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ หนึ่ง แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ประกอบด้วย 3 หมวด คือ หมวดภูมิหลังทั่วไป หมวดภูมิหลังทางการศึกษา และหมวดภูมิหลังของการคงสภาพการรู้หนังสือ ซึ่งเป็นทั้งคำถามแบบมีคำตอบนำและแบบไม่มีคำตอบนำ ในคำถามแบบมีคำตอบนำ นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยจำแนกเป็นหมวดหมู่ หาค่าร้อยละ แล้วนำเสนอในรูปตารางและความเรียง และในคำถามแบบไม่มีคำตอบนำ ได้วิเคราะห์และสรุป แล้วนำเสนอในรูปความเรียง และสอง แบบทดสอบความสามารถพื้นฐานของโครงการวิจัยและวางแผนเพื่อพัฒนาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ใช้ทดสอบในปี 2524 และ 2525 ประกอบด้วยวิชาภาษาไทยและเลขคณิต นำข้อมูลจากผลการทำแบบทดสอบความสามารถพื้นฐานทั้งวิชาภาษาไทย เลขคณิต และจากคะแบบรวมทั้งสองวิชามาหาค่าเฉลี่ย (X̅) เสนอผลระบบการรู้หนังสือขั้นพื้นฐานด้วยค่าเฉลี่ย (X̅) และการกระจาย (S.D.) ใช้สถิติทดสอบที (t-test) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับการรู้หนังสือขั้นพื้นฐานจำแนกตามเพศ ทดสอบค่าเอฟ (F) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับการรู้หนังสือขั้นพื้นฐาน จำแนกตามอาชีพและระยะเวลาที่จบการศึกษา ถ้าผลการวิเคราะห์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ก็ทดสอบความแตกต่างระหว่างคู่ด้วยวิธี ตูกี (บี) [Tukey (b)] ผลการวิจัย 1. จำนวนประชาชนในชุมชนหมู่บ้านพัฒนามากกว่าครึ่ง มีระดับการรู้หนังสือขั้นพื้นฐานสูงกว่าค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 52 และปรากฏผลลักษณะเดียวกันในวิชาภาษาไทย คิดเป็นร้อยละ 54 ส่วนในวิชาเลขคณิต จำนวนประชาชนมีระดับการรู้หนังสือวิชาเลขคณิตสูงกว่าค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 50 2. ผลการวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของระดับการรู้หนังสือขั้นพื้นฐานของประชาชนในชุมชนหมู่บ้านพัฒนา จำแนกตามระยะเวลาที่จบการศึกษา พบว่า ประชาชนในชุมชนหมู่บ้านพัฒนากลุ่มที่จบการศึกษาแล้วในระยะเวลาที่นานกว่า มีระดับการรู้หนังสือขั้นพื้นฐานต่ำกว่ากลุ่มที่จบการศึกษาแล้วในระยะเวลาที่สั้นกว่าอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 คือ ประชาชนในชุมชนหมู่บ้านพัฒนากลุ่มที่จบการศึกษาแล้วในช่วงระยะเวลา 9-12 ปี และ 13-16 ปี มีระดับการรู้หนังสือขั้นพื้นฐานสูงกว่ากลุ่มที่จบการศึกษาแล้วตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่งในวิชาภาษาไทยก็ปรากฏผลลักษณะเดียวกัน ส่วนในวิชาเลขคณิต พบว่า กลุ่มที่จบการศึกษาแล้วในช่วงระยะเวลา 13-16 ปี มีระดับการรู้หนังสือวิชาเลขคณิตสูงกว่ากลุ่มที่จบการศึกษาแล้วตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. ผลการวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของระดับการรู้หนังสือขั้นพื้นฐานของประชาชนในชุมชนหมู่บ้านพัฒนา จำแนกตามเพศ พบว่า ชายมีระดับการรู้หนังสือขั้นพื้นฐานสูงกว่าหญิงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และยังพบว่าชายมีระดับการรู้หนังสือวิชาเลขคณิตสูงกว่าหญิงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนในวิชาภาษาไทย พบว่า ทั้งชายและหญิงมีระดับการรู้หนังสือวิชาภาษาไทยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. ผลการวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของระดับการรู้หนังสือขั้นพื้นฐานของประชาชนในชุมชนหมู่บ้านพัฒนา จำแนกตามอาชีพ พบว่า ประชาชนในชุมชนหมู่บ้านพัฒนาที่มีอาชีพต่างกัน มีระดับการรู้หนังสือขั้นพื้นฐานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 คือ ประชาชนในชุมชนหมู่บ้านพัฒนากลุ่มผู้ว่างงาน มีระดับการรู้หนังสือขั้นพื้นฐานสูงกว่ากลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และยังพบว่า กลุ่มผู้มีอาชีพรับจ้างและกลุ่มผู้ว่างงาน มีระดับการรู้หนังสือวิชาภาษาไทยสูงกว่ากลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนในวิชาเลขคณิต พบว่า กลุ่มที่มีอาชีพต่างกัน มีระดับการรู้หนังสือวิชาเลขคณิตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 | - |
dc.description.abstractalternative | Purposes 1. To study the Basic Literacy Level of the people who had graduated from Prathom Suksa 4 and living at Moo-Ban Pattana Community. 2. To compare the Basic Literacy Level of the people who had graduated from Prathom Suksa 4 in relation to their different backgrounds. Procedures The Samples employed in this investigation were 301 residents of Moo-Ban Pattana Community, who had graduated from Prathom Suksa 4 and did not continue their formal education. The data were collected through interviews and the Basic Ability Test, which was composed of the Thai Language Test and the Arithmetic Test, administered to 318 peopole who had graduated from Prathom Suksa 4 and whom the investigator came acrossed. These 318 people were the sample size calculated by the Niyom Purakam's formula, but 301 interviews form and the Basic Ability Test was found to be perfected. Two instruments were used in this investigation. The first was the close and open-ended interview form designed by the investigator, which consisted of 3 sections ; the general background, the educational background and the background concerning the consistent level of literacy. The results from the close-ended interview items were analyzed, classified and presented in the form of tables and literatures, but the results of the open-ended interview items were analyzed and summarized in the form of literatures only. The second, research instrument used was the Basic Ability Test of the Micro Planning of Education at the Provincial Level, Project of the Office of National Education Commission, Office of the Prime Minister, 1981 and 1982. The test was composed of two sub-test ; one in Thai Language and the other in Arithmetic Tests. The mean (x) scores and the standard deviation (S.D.) of the Thai Language, the Arithmetic and the mean of the sum scores of these two subjects will be analyzed. Then, the different of the Basic Literacy Level among the two sexes will be found, through the mean (X̅) scores and the t-test analysis. The F-test will also be used to compare the mean (X̅) scores of the Basic Literacy Level in relation to the occupations and graduated time. If there is significant difference at the .05 level, then, the Tukey (b) method will be used. Results 1. It was found that 52 percents of the people's Basic Literacy Level was higher than the mean (X̅) scores and 54 percents got higher scores than the mean (X̅) scores in Thai Language, but in Arithmetic 50 percents of the people got higher scores than the mean (X̅) scores. 2. The result of the analysis when compared with the mean () scores of the Basic Literacy Level of the people, was related to the time in graduation that was ; the longer graduation time, the lower Basic Literacy Level, which was significantly different at the .05 from the people who graduated in shorter time. The Basic Literacy Level of the people who had graduated from 9-12 years and 13-16 years, were higher significantly at the .05 level than those who graduated longer than 21 years. The same result was also found in the Thai Language. For Arithmetic, it was found that the mean (X̅) scores of the people who had graduated from 13-16 years were higher significantly at the .05 level than those who graduated more than 21 years. 3. The result of the analysis used to compare the mean (X̅) scores of the Basic Literacy Level between the male and female residents, was that the male were higher significantly at the .05 level than the female. It was also found that the male had higher scores significantly at the .05 level than the female in Arithmetic. In Thai Language the mean (X̅) of the scores of both sexes were not significantly different at the .05 level. 4. It was found that the mean (X̅) scores in the Basic Literacy Level, in relation to the residents' occupations were significantly different at the .05 level. The Basic Literacy Level of the unemployed were higher significantly at the .05 level than those who have independent occupations. The Thai Language level of the employed and unemployed were higher significantly at the .05 level than those who have independent occupations. The Arithmetic level of the people with different occupations were not significantly different at the .05 level. | - |
dc.format.extent | 13385448 bytes | - |
dc.format.extent | 7794767 bytes | - |
dc.format.extent | 38455757 bytes | - |
dc.format.extent | 5827455 bytes | - |
dc.format.extent | 15179034 bytes | - |
dc.format.extent | 18581871 bytes | - |
dc.format.extent | 9569325 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ระดับการรู้หนังสือขั้นพื้นฐานของประชาชนในชุมชนแออัดคลองเตย: การศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนหมู่บ้านพัฒนา | en |
dc.title.alternative | Thebasic leteracy level of the people in klong teoy slum: a case study of moo-ban pattana community | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การศึกษานอกระบบโรงเรียน | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tasanee_ch_front.pdf | 13.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tasanee_ch_ch1.pdf | 7.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tasanee_ch_ch2.pdf | 37.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tasanee_ch_ch3.pdf | 5.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tasanee_ch_ch4.pdf | 14.82 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tasanee_ch_ch5.pdf | 18.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Tasanee_ch_back.pdf | 9.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.