Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29910
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อุดมพร จามรมาน | - |
dc.contributor.advisor | ชูศักดิ์ ขัมภลิขิต | - |
dc.contributor.author | ทัศนีย์ พีรมนตรี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2013-03-17T15:15:49Z | - |
dc.date.available | 2013-03-17T15:15:49Z | - |
dc.date.issued | 2530 | - |
dc.identifier.isbn | 9745678783 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29910 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความลำเอียงของแบบสอบ โดยใช้ข้อมูลซึ่งได้จากการทดสอบด้วยแบบสอบวิชาคณิตศาสตร์ของโครงการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2526 และเปรียบเทียบจำนวนข้อกระทงที่มีความลำเอียงระหว่างกลุ่มนักเรียนในภาคภูมิศาสตร์ทั้ง 5 ภาค คือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ด้วยวิธีวิเคราะห์ 3 วิธีคือ วิธีกำหนดจุดค่าเดลต้า วิธีทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติไคสแควร์ในโมเดลลอกลีเนีย 2 โมเดล คือ โมเดลที่ไม่มีพารามิเตอร์ผลร่วมระหว่างระดับคะแนนกับกลุ่ม และโมเดลที่ไม่มีพารามิเตอร์ของผลหลักที่เกิดจากกลุ่ม และวิธีการตอบสนองของข้อกระทง 3 พารามิเตอร์ ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์เป็นผลการตอบข้อกระทงรายข้อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งสำนักงานทดสอบทางการศึกษา กรมวิชาการ ได้เก็บบันทึกลงบนเทปบันทึกข้อมูลโดยสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวนร้อยละ 5.0 ของจำนวนประชากรในแต่ละภาคภูมิศาสตร์ที่ตัดผู้ได้คะแนนรวมเป็นศูนย์ออก ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 7,036 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า 1. เมื่อวิเคราะห์ค่าความยากของข้อกระทงของกลุ่มนักเรียนในทุกภาคภูมิศาสตร์รวมทั้งในกรุงเทพมหานครตามทฤษฎีดั้งเดิมแล้วจำแนกออกเป็น 3 ระดับ คือ กลุ่มข้อที่ยาก กลุ่มข้อที่ยาก-ง่ายปานกลาง และกลุ่มข้อที่ง่าย พบว่าข้อที่ปรากฏในทุกๆ ภาครวมทั้งกรุงเทพมหานครเหมือนกันในแต่ละระดับค่าความยากซึ่งถือว่าไม่มีความลำเอียงมีจำนวน 17 ข้อ และมีข้อที่ลำเอียงเข้าหาภาคจำนวน 43 ข้อ 2. การเปรียบเทียบจำนวนข้อที่ลำเอียงระหว่างกลุ่มนักเรียนในกรุงเทพมหานครกับกลุ่มนักเรียนในแต่ละภาคภูมิศาสตร์ ด้วยเทคนิควิธีวิเคราะห์ 3 วิธี พบว่า 2.1 วิธีการตอบสนองข้อกระทง 3 พารามิเตอร์ จะพบข้อกระทงที่มีความลำเอียงในแต่ละภาคจำนวนมากที่สุด ในแต่ละเทคนิควิธีพบว่ามีข้อกระทงที่ลำเอียงซ้ำกันระหว่างกลุ่มนักเรียนในกรุงเทพมหานครกับกลุ่มนักเรียนในทุกๆ ภาค นอกเหนือจากข้อที่ซ้ำกันแล้ว ยังพบว่าในแต่ละภาคมีข้อกระทงที่มีความลำเอียงกับกลุ่มกรุงเทพมหานครไม่เท่ากันในแต่ละเทคนิควิธี ในวิธีที่ 1 และ 2 พบว่าข้อที่มีความลำเอียงมีจำนวนมากที่สุด ระหว่างกลุ่มนักเรียนในกรุงเทพมหานครและกลุ่มนักเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวิธีที่ 3 พบข้อที่มีความลำเอียงมีจำนวนมากที่สุดระหว่างกลุ่มนักเรียนในกรุงเทพมหานครกับกลุ่มนักเรียนในภาคตะวันออก 2.2 ทั้ง 3 เทคนิควิธี พบข้อกระทงที่มีความลำเอียงซ้ำกันในการเปรียบเทียบภายในภาคเดียวกัน ข้อกระทงที่พบความลำเอียงทั้ง 3 เทคนิค ส่วนใหญ่เป็นข้อที่ง่ายสำหรับกลุ่มนักเรียนในกรุงเทพมหานครมากกว่ากลุ่มนักเรียนในภาคอื่นๆ ตามวิธีวิเคราะห์ที่ 1 และเป็นข้อที่ลำเอียงรูปแบบเดียวกันในการวิเคราะห์ด้วยวิธีที่ 2 ในวิธีวิเคราะห์ที่ 3 พบว่าเป็นข้อที่มีความลำเอียงในเกณฑ์ต่ำ ทั้ง 3 เทคนิควิธีไม่พบข้อกระทงที่มีความลำเอียงซ้ำกันระหว่างกลุ่มนักเรียนในกรุงเทพมหานครกับกลุ่มนักเรียนในทุกๆ ภาคภูมิศาสตร์ | - |
dc.description.abstractalternative | The main purposes of this study were 1) to investigate a test bias of Mathematics Achievement Test of the National Assessment of Educational Program for Mathayom Suksa Six in the academic year 1983 and 2) to compare the numbers of biased items of the test between those resulted from the students in Bangkok and those in 5 geographical regions of Thailand, viz the Central, the South, the North, the North-East and the East by means of 3 approaches, the Delta-plot Method, the Log-linear Analysis in 2 models and the Three-parameter Logistic Model. Approximately 5.0% or 7,036 of the Mathayom Suksa Six students' scored from a computer tape was randomized and used as the sample in this study. The findings can be summarized as follow: 1. When item difficulty indices of the test of each group of students were analyzed by means of the Classical Model and categorized into 3 levels: difficult, moderate and easy, it was found that 17 items can be considered as unbiased because they appeared in every group in each level of difficulty and 43 items are geographically biased. 2. To compare the number of biased items of the test between those resulted from the students in Bangkok and those in 5 geographical regions, the findings are as follows: 2.1 The three-parameter Logistic Model yields the numbers of biased items the most in each region. The 3 methods yield some common biased items in each group with different numbers of uncommon ones. The first and the second methods yield the numbers of biased items the most from the students in Bangkok and the North-East, whereas the third method yields the numbers of biased items the most from the students in Bangkok and the East 2.2 All the 3 methods yield some common biased items from each group. Most of the biased items resulted from the first method are easier items for the students in Bangkok, those from the second method are uniform biased items, and those from the third method are low biased indicators. The 3 methods ; however, yield no common biased items from the students in Bangkok and the 5 regions. | - |
dc.format.extent | 8673931 bytes | - |
dc.format.extent | 7601382 bytes | - |
dc.format.extent | 6984055 bytes | - |
dc.format.extent | 11620612 bytes | - |
dc.format.extent | 27535820 bytes | - |
dc.format.extent | 6046566 bytes | - |
dc.format.extent | 36354053 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การวิเคราะห์ความลำเอียงของแบบสอบวิชาคณิตศาสตร์ โครงการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2526 | en |
dc.title.alternative | Test bias analysis of mathematics test of the mational assessment of educational program for mathayom suksa six in academic year 1983 | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิจัยการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thatsanee_bi_front.pdf | 8.47 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thatsanee_bi_ch1.pdf | 7.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thatsanee_bi_ch2.pdf | 6.82 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thatsanee_bi_ch3.pdf | 11.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thatsanee_bi_ch4.pdf | 26.89 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thatsanee_bi_ch5.pdf | 5.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thatsanee_bi_back.pdf | 35.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.