Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29998
Title: การผลิตสเคลอโรกลูแคนจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii
Other Titles: Production of the Scleroglucan from Sclerotium rolfsii
Authors: หนึ่ง เตียอำรุง
Advisors: สุมาลี พิชญางกูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการศึกษาเชื้อราที่สามารถผลิตโพลีแซคคาไรด์ที่ขับออกมาภายนอกเซลล์นั้น ในขั้นต้นได้ศึกษาโพลีแซคคาไรด์ในเห็นรับประทานได้ชนิดต่าง ๆ เช่น จากการแยกเชื้อเห็ดจากเห็ดทั้งหมด 5 จีนัส รวม 11 สายพันธุ์ โดยใช้เทคนิคการเลี้ยงเนื้อเยื่อ จากนั้นนำมาเลี้ยงในอาหารเหลวสูตร Czapex’s Dox ที่แปรผันชนิดของอาหารแหล่งคาร์บอน กลูโคส ซูโครส แลคโตส และกาแลคโตส พบว่าเชื้อเห็ดจำนวน 5 สายพันธุ์สามารถสร้างโพลีแซคคาไรด์ได้ในปริมาณสูงในอาหารที่เป็นกลูโคส 2 สายพันธุ์ สร้างโพลีแซคคาไรด์ได้ในปริมาณสูงในอาหารที่เป็นซูโครส และอีก 2 สายพันธุ์สร้างโพลีแซคคาไรด์ได้ในปริมาณสูงในอาหารที่เป็นแลคโตสและกาแลคโตส ในการจำแนกชนิดโพลีแซคคาไรด์ที่สร้างขึ้นตามลักษณะประจุไฟฟ้า พบว่าโพลีแซคคาไรด์ที่สร้างจากเห็ดจำนวน 5 สายพันธุ์มีลักษณะประจุเป็นกลาง และอีก 4 สายพันธุ์ที่เหลือมีลักษณะประจุเป็นลบ ชนิดของน้ำตาลที่เป็นองค์ประกอบในโพลีแซคคาไรด์จากการย่อยสลายสมบูรณ์โพลีแซคคาไรด์ที่สร้างจากเห็ดชนิดต่าง ๆ พบว่าประกอบด้วยกลูโคสเพียงอย่างเดียว ในการศึกษาการผลิตสเคลอโรกลูแคนจากเชื้อ S. rolfsii ในอาหารแหล่งคาร์บอนที่เป็นกากน้ำตาล น้ำตาลทราย แป้งมันสำปะหลังที่ไม่ไฮโดรไลซ์ และแป้งมันสำประหลังที่ไฮโดรไลซ์ด้วยเอนไซม์หลังจากได้ปรับสภาวะให้เหมาะสมแล้ว พบว่า ในอาหารแหล่งคาร์บอนที่เป็นน้ำตาลทรายจะให้ผลผลิตสเคลอโรกลูแคนสูงสุดเป็น 2.2% จากการจำแนกชนิดของโพลีแซคคาไรด์ตามลักษณะประจุไฟฟ้า พบว่า สเกลอโรกลูแคนที่ผลิตได้จากอาหารแหล่งคาร์บอนชนิดต่าง ๆ ทั้งหมด โดยตรวจสอบพบว่าโพลีแซคคาไรด์ที่ได้มีประจุเป็นกลางและในการตรวจวิเคราะห์ปริมาณน้ำตาลทั้งหมดในสเคลอโรกลูแคนที่ผลิตได้ มีปริมาณน้ำตาลทั้งหมด 63-89% และตรวจปริมาณกลูโคสพบว่ามีอยู่ในช่วง 70-89% ของปริมาณน้ำตาลทั้งหมด คุณสมบัติการอุ้มน้ำของสเคลอโรกลูแคนต่ออุณหภูมิพบว่า เมื่อเพิ่มอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียสแล้ว สมบัติความสามารถในการอุ้มน้ำจะลดลง การเปรียบเทียบความหนืดของสารละลายสเคลอโรกลูแคนพบว่าสเคลอโรกลูแคนที่ผลิตจาก กากน้ำตาล น้ำตาลทราย และแป้งมันสำปะหลังไม่ไฮโดรไลซ์ มีค่าความหนืดอยู่ในช่วง 128.00-137.00 cp ในขณะที่สเคลอโรกลูแคนที่ได้จากแป้งมันสำปะหลังไฮโดรไลซ์มีความหนืดเพียง 55.00 cp จากการทดสอบความเสถียรพบว่า สารละลายสเคลอโรกลูแคนมีความเสถียรต่อปริมาณของเกลือตั้งแต่ 0.0 ถึง 2.0% ในช่วงค่าพีเอชที่กว้างตั้งแต่ 1.0 ถึง 11.0 และช่วงอุณหภูมิตั้งแต่ 10-70 องศาเซลเซียส ในการตรวจสอบความมีขั้วของสเคลอโรกลูแคนด้วยวิธีอิเลคโทรเอนดอสโมซิส พบว่าไม่สามารถทำการตรวจสอบได้ เพราะสารละลายสเคลอโรกลูแคนที่เตรียมได้ไม่แข็งตัวพอที่จะดำเนินการทดลองต่อไป การศึกษาหาน้ำหนักโมเลกุล พบว่าสเคลอโรกลูแคนที่ผลิตจากกากน้ำตาล น้ำตาลทราย แป้งมันสำปะหลังไม่ไฮโดรไลซ์ และแป้งมันสำปะหลังไฮโดรไลซ์มีค่าน้ำหนักโมเลกุลประมาณ 120,000 480,000 360,000 และ 380,000 ตามลำดับ และการศึกษาการไฮโดรไลซ์ในสภาพที่กำหนด โดยมีสภาพเป็นกรดไฮโดรคลอริก 2.0 โมลาร์ อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เวลานาน 1 ชั่วโมง ในสเคลอโรกลูแคนที่ผลิตจากแป้งมันสำปะหลังไฮโดรไลซ์ พบว่ามีขนาดโมเลกุลลดลงเหลือประมาณ 30,000
Other Abstract: The preliminary study of extracellular polysaccharides secreted by fungi was studied from 11 species in 5 genera of edible mushroom Eleven strains were isolated by tissue culture technique from fruiting bodies. All strains were grown in liquid Czapex’s Dox medium and varied 4 kinds of carbon sources: glucose, sucrose, lactose and galactose. Five species gave high polysaccharide production in glucose, two species in sucrose, one species in lactose and one species in galactose. When classified polysaccharide based on their charge properties in nine species, five species were neutral polysaccharide and four species were acidic polysaccharide. Only glucose monomer was detected in each of complete hydrolysis sample. The production of scleroglucan form S. rolfsii in 4 types of optimized carbon source medium; molasses, sucrose, non-hydrolyzed tapioca starch and enzyme hydrolyzed tapioca starch. In sucrose medium gave the highest of scleroglucan production 2.20%. The classification of polysaccharide were identified base on their charge properties. All scleroglucans produced from four type of carbon sources media were identified as neutral polysaccharide. The sugar analysis of produced scleroglucan, the amount of total sugar were 63-89% and the amount of glucose were 70-89% of calculated total sugar. The effects of temperature on water imbitition property of scleroglucan showed that when temperature increased up to 40C there, the ability of water imbibition was decreased. Scleroglucans produced from varied type of carbon sources medium were detected the viscosity. From molasses, sucrose and non-hydrolyzed tapioca starch showed the value of viscosity in the range of 128.00-137.00 cp, scleroglucan from hydrolyzed tapioca starch medium showed 55.00 cp. The viscosity stability of scleroglucan solution were observed. They maintained the stability in sodium chloride concentration 0.0-2.0%, broad range of pH from 1.0-11.0 and the temperature range 10-70C. The determination polarity by electroendosmosis (EEO) method, it was failure because scleroglucan solution unable to form stable gel, even though increased the concentration of scleroglucan up to 3.5% than agarose gel. The molecular weight of scleroglucans were determined from various carbon sources, molasses, sucrose, non-hydrolyzed and hydrolyzed tapioca starch by column chromatography with known molecular weight standard dextran. The molecular weight were estimated approximately 120,000 480,000 360,000 and 380,000 respectively, and when partial hydrolyzed in condition 2.0 M HCl 100C at 1 hour, the scleroglucan produced form hydrolyzed tapioca starch has the molecular weight about 30,000.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2532
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29998
ISBN: 9745768405
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Neung_te_front.pdf4.53 MBAdobe PDFView/Open
Neung_te_ch1.pdf4.62 MBAdobe PDFView/Open
Neung_te_ch2.pdf9.03 MBAdobe PDFView/Open
Neung_te_ch3.pdf18.45 MBAdobe PDFView/Open
Neung_te_ch4.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Neung_te_back.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.