Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30148
Title: การประเมินค่าพารามิเตอร์และการคาดคะเนการทรุดตัวของถนนสาย บางนา-บางปะกง ซึ่งสร้างบนดินเหนียว ชนิดโอเวอร์คอนโซลิเดต
Other Titles: Soil parameter evaluations and settlement predictions of Bangna-Bangpakong highway constructed on overconsolidated clay
Authors: อภิชัย อึ้งอร่าม
Advisors: สุรฉัตร สัมพันธารักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การทรุดตัวของสิ่งก่อสร้างบนดินเหนียวอ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลนับเป็นปัญหาใหญ่ข้อหนึ่งในงานปฐพีวิศวกรรม ในการศึกษาวิจัยนี้ได้ทำการคาดคะเนการทรุดตัวของคันตินถม ซึ่งสร้างอยู่บนดินเหนียวชนิดโอเวอร์คอนโซลิเดตบริเวณกม .47 และ กม .52 ของถนนสายบางนา-บางปะกงด้วยวิธีการต่างๆ โดยใช้ค่าพารามมิเตอร์ของดินที่ได้จากการทดสอบในสนามและในปฏิบัติการ แล้วนำมาเปรียบทเยบกับค่าที่เกิดขึ้นจริงเพื่อหาข้อสรุปถึงค่าพารามิเตอร์ของดิน และวิธีการวิเคราะห์การทรุดตัวที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่บริเวณนี้ หรือบริเวณอื่นที่มีสภาพคล้ายกัน ในการวิจัยนี้ได้ทำการวิเคาะห์การทรุดตัวของคันดินถม 4 แห่ง ดังนี้ 1. คันดินถมที่สร้างขึ้นเพื่อทำทางแยก หรือเกาะกลางถนน ที่ กม .47 2. ถนนเก่าที่ กม .47 3. Block Valve 6 ที่ กม .52 4. ถนนเก่าที่ กม .52 การวิเคราะห์การทรุดตัวของคันดิน ได้ทำการวิเคราะห์โดยวิธี Terzaghi วิธี Skemton-Bjerrum วิธีการของ Cox วิธีอีลาสติกและวิธี Stress Path (เฉพาะที่ BV#6) ซึ่งในการวิเคราะห์ให้ผลสามารถแยกพิจารณาได้ 2 กรณีคือ 1. กรณีระยะเวลาการก่อสร้างนาน (≈ 2 ปี) พบว่า วิธีการของ Cox ให้ค่าการทรุดตัวระหว่างก่อสร้าง และการทรุดตัวหลังก่อสร้างใกล้เคียงและสอดคล้องกับ mechanism ที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งค่า Undrained Modulus (Eᵤ) ควรได้มาจากการทดสอบ UU ที่ระดับหน่วยแรงเฉือน 80% และได้ว่า Eᵤ/ σᵥₒ = 30-120 เมื่อ OCR = 1.5-6.0 Eᵤ /Sᵤ(Vane) = 45-70 เมื่อ OCR = 1.5-6.0 2. กรณีระยะเวลาการก่อสร้างสั้น (<3 เดือน) พบว่า วิธีการของ Cox วิธีอีลาสติกและวิธี Stress Path ให้ค่าการทรุดตัวระหว่างก่อสร้างใกล้เคียงกับค่าที่สำรวจได้โดยวิธีการของ Cox ซึ่งได้พิจารณาการทรุดตัวแบบอัดตัวคายน้ำในช่วงอัดแน่นเกินตัวเฉพาะใน Crust เท่านั้น จะให้ mechanism ใกล้เคียงกับที่เกิดขึ้นจริง และให้ค่าค่อนข้าง Conservative เล็กน้อย ขณะที่วิธีอีลาสติก และวิธี Stress Path จะให้ mechanism ไม่ตรงตามที่เกิดขึ้นจริง โดยวิธี Stress Path สามารถวิเคราะห์ผลของ Undrained Creep และ Flow ได้ดีกว่าวิธีอีลาสติก การที่วิธี Stress Path ให้ค่าการทรุดตัวใกล้เคียงกับที่สำรวจได้ ผู้วิจัยเชื่อว่าเป็นผลของการทดแทนกันระหว่าง Undrained Creep กับ Consolidation ซึ่งค่า Eᵤ ควรได้จากการทดสอบ Stress Path ที่รวมผลของ Undrained Creep หรือได้จากการทดสอบ CKₒUC ที่ระดับหน่วยแรงเฉือน 80% และได้ว่า Eᵤ/ σᵥₒ= 70-180 เมื่อ OCR = 1.5-6.0 Eᵤ/Sᵤ(Vane) = 110-140 เมื่อ OCR = 1.5-6.0 ส่วนการทรุดตัวหลังก่อสร้างพบว่า วิธีการของ Cox และวิธี Skempton-Bjerrum ให้ค่าการทรุดตัวใกล้เคียงกับค่าที่สำรวจได้ สำหรับการวิเคราะห์อัตราการทรุดตัวพบว่า ค่าสัมประสิทธิการอัดตัวคายน้ำ (Cᵥ) ที่ได้จากการคำนวณย้อนกลับของข้อมูลการทรุดตัวในสนามนี้ไม่ใช่สมบัติจริงๆ ของดิน ค่า Cᵥ ที่ได้จากวิธี Lacasse มีค่าใกล้เคียงกับ Cᵥ จากวิธี Terzaghi และมีค่าต่ำกว่า Cᵥ จากวิธี Asaoka พอสมควร ส่วน Cᵥ (Conso) มีค่าต่ำกว่ามาก ซึ่งจะได้ว่า Cᵥ (Asaoka) ≈ 2 Cᵥ (Terzaghi, Lacasse) Cᵥ (Asaoka) ≈ 9 – 12 Cᵥ (Conso.) นอกจากนี้ยังพบว่า ค่า Cᵥ ที่ได้จากวิธี Lacasse มีแนวโน้มที่จะใช้ได้ในงานคันดินถมบริเวณที่ไม่มีการสูบน้ำบาดาล
Other Abstract: Settlement of the structures constructed on Soft Bangkok Clay is a crucial problem in geotechnical engineering and needs to be predicted with reasonable accuracy. The purpose of this thesis is to study several current practical methods for settlement predictions of embankment constructed on overconsolidated clay. The analyses are made at KM. 47 and 52 Bangna-Bangpakong highway, by using soil parameters obtained from field and laboratory tests. Results from analyses were compared with field measurements for evaluating the suitability of these methods and soil parameters. The research concerns with the settlement analysis of the embankment on 4 sites as follows. 1. Interchange Fill at Y.M. 47 2. Old Highway at KM.47 3. Block Valve 6 at KM .52 4. Old Highway at KM. 52 The settlement analyses were performed by using Terzaghi, Skempton-Bjerrum, Cox, Elastic, Stress Path (only Block Valve 6) and Asaoka's method. The results from the analyses were the followings. 1. For long period construction (t≃2 years), Cox's (1981) method shows the best prediction results for construction and post construction settlement. The undrained modulus should be obtained from UU test at 80% stress level. The suitable normalized of undrained moduli are the followings. Eᵤ /Sᵤ (Vane) = 45-70 when OCR = 1.5-6.0 Eᵤ / σᵥₒ = 30 - 120 when OCR = 1.6 -6.0 2. For rapid construction (t < 3 months), the construction settlement predicted from Cox's, elastic and stress path method also give the good results. Cox's method should only include the consoli- dation settlement in overconsolidated range for only crust portion for computing the construction settlement. The estimated settlement by Cox's method is reasonable than the stress path and elastic method. The stress path method, however, shows the results of undrained creep and flow better than the elastic method. Because of the compensation of undrained creep and consolidation settlement in the estimation of construction settlement, stress path method yield the closet results with actual settlement values recorded. The undrained moduli were obtained from stress path with creep or CKₒ UC test at 80% stress level. The suitable normalized undrained moduli for these case are present below Eᵤ / σᵥₒ = 70-180 when OCR = 1.5-6.0 Eᵤ/Sᵤ(Vane) = 110 - 140 when OCR = 1.5 - 6.0 For post construction settlement, Cox's (1981) and Skempton & Bjerrum's (1957) method give the good predicted result. The coefficient of consolidation obtained from backfigured the field settlement data using Terzaghi, Lacasse and Asaoka's method are the apparent coefficient. It gives the corrected rate of settlement only. The backfigured coefficient of consolidation obtained from Asaoka's method is the highest value when they are compared with Cᵥ back-analysis by using Terzaghi, Lacasse and one­dimensional consolidation method. This ratio is the following. Cᵥ (Asaoka) 2 Cᵥ (Terzaghi, Lacasse) Cᵥ (Asaoka) 9- 12 Cᵥ (Conso.) Rate of consolidation settlement estimated by using Cᵥ (Lacasse) give the closet result in the region no subsidence effect.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30148
ISBN: 9745680699
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Apichai_eu_front.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open
Apichai_eu_ch1.pdf804.93 kBAdobe PDFView/Open
Apichai_eu_ch2.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open
Apichai_eu_ch3.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open
Apichai_eu_ch4.pdf6.68 MBAdobe PDFView/Open
Apichai_eu_ch5.pdf572.83 kBAdobe PDFView/Open
Apichai_eu_back.pdf662.92 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.