Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30250
Title: | การเปรียบเทียบการใช้กุศโลบายเพ่งความตั้งใจของนักวิ่งมาราธอนเพศชาย ที่ประสบความสำเร็จสูง และประสบความสำเร็จต่ำ |
Other Titles: | A comparison of attention focus strategies of high achievement and low achievement male marathoners |
Authors: | บรรลือ รัตนจรัสโรจน์ |
Advisors: | ศิลปชัย สุวรรณธาดา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการใช้กุศโลบายเพ่งความตั้งใจของนักวิ่งมาราธอนเพศชายที่ประสบความสำเร็จสูงและประสบความสำเร็จต่ำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักวิ่งมาราธอนที่เข้าร่วมการแข่งขันในรายการจอมบึงมาราธอนและวิ่งผ่านเส้นชัย จำนวน 166 คน เป็นนักวิ่งมาราธอนที่ประสบความสำเร็จสูง 83 คน และประสบความสำเร็จต่ำ 83 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าดัชนีความสอดคล้อง .93 และค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง .99 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยไมโครคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป เอสพีเอสเอส/พีซี พลัส (SPSS/PC[superscript +] : Statistical Package for the Social Sciences/Personal Computer Plus) เพื่อหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักวิ่งมาราธอนเพศชายที่ประสบความสำเร็จสูง มีการใช้กุศโลบายเพ่งความตั้งใจแบบสัมพันธ์กับตนเองมากกว่ากุศโลบายเพ่งความตั้งใจแบบไม่สัมพันธ์กับตนเอง กุศโลบายเพ่งความตั้งใจแบบสัมพันธ์กับตนเองที่ใช้มาก 3 อันดับแรก ได้แก่ มีความตั้งใจต่อการกำหนดจังหวะการก้าวเท้า มีความตั้งใจต่อการเคลื่อนไหวของเท้าซ้าย-ขวา และมีความตั้งใจต่ออัตราการหายใจอยู่เสมอ 2. นักวิ่งมาราธอนเพศชายที่ประสบความสำเร็จต่ำ มีการใช้กุศโลบายเพ่งความตั้งใจแบบไม่สัมพันธ์กับตนเองมากกว่ากุศโลบายเพ่งความตั้งใจแบบสัมพันธ์กับตนเอง กุศโลบายเพ่งความตั้งใจแบบไม่สัมพันธ์กับตนเองที่ใช้มาก 3 อันดับแรก ได้แก่ มีความตั้งใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว มีความตั้งใจต่อเสียงเชียร์จากผู้ชมข้างเส้นทางที่วิ่งผ่าน และมีความตั้งใจต่อระยะทางวิ่งที่เหลืออยู่ 3. สำหรับการเปรียบเทียบการใช้กุศโลบายเพ่งความตั้งใจของนักวิ่งมาราธอนที่ประสบความสำเร็จสูง และประสบความสำเร็จต่ำ พบว่า 3.1 นักวิ่งมาราธอนเพศชายที่ประสบความสำเร็จสูง มีการใช้กุศโลบายเพ่งความตั้งใจแบบสัมพันธ์กับตนเองมากกว่านักวิ่งมาราธอนเพศชายที่ประสบความสำเร็จต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2 นักวิ่งมาราธอนเพศชายที่ประสบความสำเร็จต่ำ มีการใช้กุศโลบายเพ่งความตั้งใจแบบไม่สัมพันธ์กับตนเองมากกว่านักวิ่งมาราธอนเพศชายที่ประสบความสำเร็จสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this study were to investigate and compare the usage of attention focus strategies of high achievement and low achievement male marathoners. The samples were 166 male marathoners participated in the Jombueng marathon competition and finished the race. They were divided into two groups of 83 high achievement marathoners and 83 low achievement marathoners. The questionnaires constructed by the researcher, having the item objective congruence index of .93 and the reliability coefficient of .99, were used as the tool of this study. The collected data were, then, analyzed by SPSS/PC[superscript +] : Statistical Package for the Social Sciences/Personal Computer Plus, in terms of mean, standard deviation, and t-test. The results were as follows : 1. High achievement male marathoners used associative attention focus strategies more frequently than dissociative attention focus strategies. The most frequent used associative strategies were the attention to the pacing, the attention to the movement of both feet, and the attention to the breathing. 2. Low achievement male marathoners used dissociative attention focus strategies more frequently than associative attention focus strategies. The most frequent used dissociative strategies were the attention to the environment, the attention to the spectators, and the attention to the distance. 3. In comparing the usage of attention focus strategies of high achievement and low achievement male marathoners, it revealed that : 3.1 High achievement male marathoners used associative attention focus strategies more frequently than low achievement male marathoners, significantly at the .05 level. 3.2 Low achievement male marathoners used dissociative attention focus strategies more frequently than high achievement male marathoners, significantly at the .05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30250 |
ISBN: | 9746340425 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Bunlue_ra_front.pdf | 5.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Bunlue_ra_ch1.pdf | 3.74 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Bunlue_ra_ch2.pdf | 18.59 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Bunlue_ra_ch3.pdf | 2.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Bunlue_ra_ch4.pdf | 9.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Bunlue_ra_ch5.pdf | 5.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Bunlue_ra_back.pdf | 9.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.