Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30514
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อวยชัย วุฒิโฆสิต | - |
dc.contributor.author | สมชาย โพพาทอง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-04-10T13:09:03Z | - |
dc.date.available | 2013-04-10T13:09:03Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30514 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en |
dc.description.abstract | ในงานก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นโครงการเล็กหรือใหญ่ ต่างก็ต้องใช้ทรัพยากรในงานก่อสร้างที่เหมือนกัน ซึ่งวัสดุก่อสร้างนั้นถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญลำดับต้นๆของโครงการ ดังนั้น การจัดหา จัดซื้อ และ การใช้วัสดุก่อสร้าง ควรต้องมีการวางแผนให้สอดคล้องกับการดำเนินโครงการ เพื่อความคล่องตัวในการทำงาน และสำเร็จตามแผนงานที่วางเอาไว้ การศึกษากระบวนการจัดการวัสดุก่อสร้างของบริษัทรับสร้างบ้าน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการ จัดหา จัดซื้อ และ ขนส่งวัสดุก่อสร้างให้มีความสัมพันธ์กับแผนงาน ,การจัดเก็บ และ การควบคุมการใช้วัสดุก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพ รวมไปถึง การกำจัดเศษวัสดุก่อสร้างที่เหลือใช้ หรือ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยอาศัยข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นสมาชิกสามัญ ของสมาคมธุรกิจรับสร้างจำนวน 15 องค์กร ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง และ ข้อมูลจาก เอกสาร ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อมูลที่รวบรวมแนวความคิด หลักการ วิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการวัสดุก่อสร้าง มาทำการวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อให้ทราบถึงกระบวนการจัดการวัสดุก่อสร้างที่เหมาะสำหรับบริษัทรับสร้างบ้าน เพื่อให้การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ผลจากการศึกษาพบว่า กระบวนการจัดการวัสดุก่อสร้างของบริษัทรับสร้างบ้าน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการดำเนินโครงการ 2 ด้าน ได้แก่ 1.รูปแบบ และ วิธีการก่อสร้าง โดยแบ่งออกได้ 2 วิธี คือ ระบบหล่อในที่ และ ระบบโครงสร้างสำเร็จรูป ซึ่งการดำเนินการทั้งสองวิธีนั้น จะแตกต่างกันในกระบวนการจัดการวัสดุก่อสร้างช่วงงานโครงสร้าง เนื่องจากการจัดเตรียมวัสดุก่อสร้างในระบบหล่อในที่ จะมีภาระงานที่ยุ่งยากมากกว่า เช่น เหล็ก ไม้แบบ ปูน ทราย หิน ฯลฯ จะต้องมีการคิดปริมาณวัสดุก่อนสั่งซื้อ จัดเตรียมพื้นที่หน้างานเพื่อจัดเก็บวัสดุ จะต้องควบคุมการใช้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เป็นต้น ส่วนการก่อสร้างในระบบโครงสร้างสำเร็จรูปนั้น ชิ้นส่วนโครงสร้างต่างๆจะผลิตในโรงงานแล้วขนเข้าติดตั้งภายในหน่วยงาน จึงมีขั้นตอนการจัดการที่ง่าย และ รวดเร็วกว่า 2.การกำหนดบุคลากรในการดำเนินการก่อสร้าง โดยแบ่งออกได้ 2 รูปแบบได้แก่ ดำเนินการก่อสร้างโดยบุคลากรขององค์กร และ ดำเนินการก่อสร้างโดยผู้รับเหมาช่วงประเภทที่ 1 (จัดหาวัสดุเอง) หรือ ประเภทที่ 2 (องค์กรจัดหาวัสดุให้) ซึ่งการดำเนินการโดยบุคลากรขององค์กรนั้น องค์กรจะต้องบริหารจัดการวัสดุก่อสร้างตั้งแต่ต้นจนจบโครงการ จำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ควบคุมการใช้วัสดุก่อสร้างอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนการดำเนินการก่อสร้างโดยผู้รับเหมาช่วงนั้น ภาระการควบคุมการใช้วัสดุก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพ จะเป็นหน้าที่ของผู้รับเหมาช่วงทั้งหมด จากข้อมูลข้างต้นพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีกระบวนการจัดการวัสดุก่อสร้างที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และ ข้อจำกัดขององค์กร ว่าจะเลือกดำเนินโครงการด้วยรูปแบบใด เพื่อให้เกิดผลดีต่อองค์กรมากที่สุด โดยแบ่งออกได้ 4 กลุ่มดังนี้ กลุ่มที่ 1 กลุ่มองค์กรธุรกิจรับสร้างบ้านที่มีวิธีการก่อสร้างเป็นระบบ หล่อในที่ พร้อมทั้งใช้ บุคลากรในองค์กรดำเนินการก่อสร้าง ทั้งช่วงงานโครงสร้าง และ สถาปัตยกรรม กลุ่มที่ 2 กลุ่มองค์กรธุรกิจรับสร้างบ้านที่มีวิธีการก่อสร้างเป็นระบบ หล่อในที่ พร้อมทั้งใช้ ผู้รับเหมาช่วงประเภทที่ 1 (จัดหาวัสดุเอง) หรือ ประเภทที่ 2 (องค์กรจัดหาวัสดุให้) ดำเนินการก่อสร้าง ทั้งช่วงงานโครงสร้าง และ สถาปัตยกรรม กลุ่มที่ 3 กลุ่มองค์กรธุรกิจรับสร้างบ้านที่มีวิธีการก่อสร้างเป็นระบบ หล่อในที่ พร้อมทั้งใช้ ผู้รับเหมาช่วง ประเภทที่ 2 (องค์กรจัดหาวัสดุให้) เท่านั้น ดำเนินการก่อสร้าง ทั้งช่วงงานโครงสร้าง และ สถาปัตยกรรม กลุ่มที่ 4 กลุ่มองค์กรธุรกิจรับสร้างบ้านที่มีวิธีการก่อสร้างเป็นระบบ โครงสร้างสำเร็จรูป พร้อมทั้งใช้ บุคลากรในองค์กร เฉพาะในช่วงงานโครงสร้าง ร่วมกับ ผู้รับเหมาช่วงประเภทที่ 1 (จัดหาวัสดุเอง) หรือ ประเภทที่ 2 (องค์กรจัดหาวัสดุให้) ดำเนินการก่อสร้าง เฉพาะในช่วงงานสถาปัตยกรรม | en |
dc.description.abstractalternative | Construction materials are among the most important resources in a home building project. Thus, their acquisition, purchase, and allocation must be carefully carried out in order for a project to run smoothly and be completed as planned. This study aimed to examine the processes of acquiring, purchasing, and transporting construction materials to ensure that they would comply with a project plan. The research also investigated how to effectively store construction materials, control their use, and eliminate waste. The sample was comprised of fifteen general members of the Home Builders’ Association selected using a purposive sampling technique. The data were collected from interviews with the respondents and related documents dealing with the concepts, principles, and methods of construction materials management. The results showed that the processes of managing construction materials depended on two factors: 1) the method of construction and 2) personnel assignment. The method of construction could be classified into two types: the cast-in-place method and the prefabrication method. They differ mainly in terms of the processes of acquiring and storing construction materials. The cast-in-place method is more complicated as it requires the calculation of the amounts of steel, wood, concrete, sand, and stone to be used as well as effective preparation of the site for storing the materials. The prefabrication method, in contrast, is easier and faster since all assemblies are ready for use right from the factories. In terms of personnel assignment, two methods were identified: 1) insourcing and 2) outsourcing. The latter could be further subdivided into one in which the contractors acquire construction materials on their own (Type 1 contractors) and one in which the sample organizations supply construction materials to the contractors (Type 2 contractors). The findings revealed that insourcing involved internal construction materials management from the beginning to the completion of a project, thus requiring staff with expertise in controlling the use of materials. Outsourcing, on the other hand, placed all the burden pertaining to the management of construction materials on the contractors. As regards construction materials management, the respondents were found to fall into four groups, depending on their situations and limitations. The first one was comprised of those using the cast-in-place method while employing insourcing in their project operations for both structural and architectural work. The home builders using the cast-in-place method while employing outsourcing (Type 1 or 2 contractors) in their project operations for both structural and architectural work constituted the second group. The third group were the home builders using the cast-in-place method while employing only Type 2 contractors. The last group was made up of those using the prefabrication method while employing insourcing only for structural work and outsourcing (Type 1 or 2 contractors) only for architectural work. | en |
dc.format.extent | 2027909 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1207 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง -- การจัดการ | en |
dc.subject | ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง | en |
dc.title | การศึกษากระบวนการจัดการวัสดุก่อสร้างของบริษัทรับสร้างบ้าน | en |
dc.title.alternative | The study process of construction material management in the home builder | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.1207 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
somchai_po.pdf | 1.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.