Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30963
Title: การเปรียบเทียบการจัดบริการสุขภาพระหว่างโรงเรียนประถมศึกษา ที่อยู่ในและนอกโครงการสุขศึกษาสายการศึกษา ในจังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: A comparison of health service management between elementary schools in and not in the school health project in Changwat Nakhon Ratchasima
Authors: ไพบูลย์ ดำริห์
Advisors: พัชรา กาญจนารัณย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสภาพละปัญหาการจัดบริการสุขภาพระหว่างโรงเรียนในโครงการและโรงเรียนนอกโครงการสุขศึกษาสายการศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา และเปรียบเทียบการจัดบริการสุขภาพกับมาตรฐานขั้นต่ำของการจัดบริการสุขภาพในสถานศึกษา โดยส่งแบบสอบถามไปยังผู้บริหารโรงเรียนในโครงการจำนวน 137 คน และผู้บริหารโรงเรียนนอกโครงการ จำนวน 300 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนจากผู้บริหารโรงเรียนในโครงการ จำนวน 123 คน คิดเป็นร้อยละ 89.78 และจากผู้บริหารโรงเรียนนอกโครงการ จำนวน 284 คน คิดเป็นร้อยละ 94.67 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า "ที" โดยใช้ระดับความมีนัยสำคัญ .01 และ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. โรงเรียนในโครงการส่วนมากจัดให้มีบริการสุขภาพในโรงเรียนครบทุกด้าน บริการสุขภาพที่จัดได้มาตรฐานขั้นต่ำ ได้แก่ บัตรสุขภาพนักเรียน การรักษาและการติดตามผลการรักษา การชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค สถานที่สำหรับบริการสุขภาพ อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ต่างๆ ส่วนการส่งเสริมโภชนาการนั้นจัดได้มาตรฐานขั้นต่ำ แต่ไม่ได้จัดอาหารเสริม 2. โรงเรียนนอกโครงการส่วนมากจัดให้มีบรารสุขภาพในโรงเรียนครบทุกด้านบริการสุขภาพที่จัดได้มาตรฐานขั้นต่ำ ได้แก่ บัตรสุขภาพนักเรียนแต่การบันทึกไม่สมบูรณ์ การชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคแต่ยังขาดการฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทัยฟอยด์ นอกจากนี้บริการสุขภาพที่จัดได้มาตรฐานขั้นต่ำยังได้แก่อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ต่างๆ ส่วนการส่งเสริมโภชนาการนั้นจัดได้มาตรฐานขั้นต่ำแต่ไม่ได้จัดอาหารเสริม 3. โรงเรียนในโครงการและโรงเรียนนอกโครงการจัดบริการสุขภาพส่วนมากไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 เรื่องที่แตกต่างกันได้แก่ การบันทึกบัตรสุขภาพนักเรียนโดยครูประจำชั้น การจัดให้นักเรียนที่มีอาการเจ็บป่วยมากได้รับการรักษาจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข การจัดอาหารเสริม การจัดให้มีอุปกรณ์และเวชภัณฑ์บางรายการ ได้แก่ กระโถนข้างเตียงและอ่างล้างมือ 4. โรงเรียนในโครงการและโรงเรียนนอกโครงการมีปัญหาการจัดบริการสุขภาพทุกด้านไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 และมีความมากน้อยของการเป็นปัญหาใกล้เคียงกันเกือบทุกด้าน ปัญหาการจัดบริการสุขภาพส่วนมากเป็นปัญหาน้อย เรื่องที่เป็นปัญหามาก ได้แก่ ความร่วมมือของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการรักษานักเรียน งบประมาณสนับสนุนการส่งเสริมโภชนาการ และความเอาใจใส่ของผู้ปกครองต่อสุขภาพนักเรียน
Other Abstract: The objectives of this research were to compare health service management and problems between elementary schools In and Not In the School Health Project in Changwat Nakhon Ratchasima and to compare with the minimum standards of health service management in school. The instrument used for collecting data consisting of questionnaires that were sent to 137 school administrators In the Project and another 300 school administrators Not In the Project. The questionnaires received from 123 persons counted for 89.78 per cent of the school administrators who were In the Project, and 284 persons or 94.67 per cent of those Not In the Project. The data were then analyzed by using percentage, arithmetic mean, standard deviation and t-test. Differences between the comparative groups were considered to be significant at the .01 and .05 levels respectively. The results of the analysis were as follows: 1. Most schools In the school Health Project managed all aspects of the school health services that met the minimum standards, i.e., student health cards, curing and follow up, weighting and heighting, immunization, school infirmary unit, medical equipment's and supplies, nutrient promotion with the exception of additive food providing. 2. Most schools Not In the School Health Project managed all aspects of the school health services that met the minimum standards, i. e. , student health cards with the exception of recording, weighting and heighting, immunization with the exception of typhoid vaccination, medical equipments and supplies, nutrient promotion with the exception of additive food providing. 3. The schools In and Not In the School Health project managed all aspects of the school health services, were not statistically differrent at the .05 level of significance except classroom teacher recording, referred curing, additive food providing, spittoons and basins. 4. The health service problems encountered by the schools In and Not In the School Health Project were not statistically different at the .05 level of significance, and varying degrees of problems were the same in all aspects. Most of them were not critical problems except cooperation from health personnel to provide curative services for the students, nutrient promotion budget, and parents' attention to the students' health status.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30963
ISBN: 9745679704
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paiboon_da_front.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Paiboon_da_ch1.pdf879.44 kBAdobe PDFView/Open
Paiboon_da_ch2.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Paiboon_da_ch3.pdf623.12 kBAdobe PDFView/Open
Paiboon_da_ch4.pdf3.63 MBAdobe PDFView/Open
Paiboon_da_ch5.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Paiboon_da_back.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.