Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31101
Title: ผลของวิธีการให้คะแนนที่มีต่อคะแนนสอบ ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงและค่าสัมประสิทธิ์ความตรง
Other Titles: The effects of scoring methods on test scores, reliability and validity coefficients
Authors: พินิจ อุไรรักษ์
Advisors: สุวิมล ว่องวานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของวิธีการให้คะแนนที่มีต่อคะแนนสอบ ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง และค่าสัมประสิทธิ์ความตรง จากวิธีการให้น้ำหนักคะแนนรายข้อเท่ากัน วิธีการให้น้ำหนักคะแนนรายข้อต่างกันตามระดับความมั่นใจในการตอบ วิธีการให้น้ำหนักคะแนนรายข้อต่างกันตามค่าพารามิเตอร์ของข้อกระทง และวิธีการให้น้ำหนักคะแนนรายข้อต่างกันตามค่าความสามารถของผู้ตอบกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2532 ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ โดยสุ่มแบบหลายชั้นจำนวน 1,011 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามวิชาวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของคะแนนสอบ โดยสูตรเพียร์สันโพรดักโมเมนต์ ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของแบบสอบ โดยสูตรการหาค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของครอนบัค ค่าสัมประสิทธิ์ความตรงของแบบสอบ โดยสูตรสหสัมพันธ์อันดับที่ ระหว่างผลการจัดอันดับความสามารถของนักเรียนโดยครูผู้สอน กับผลการจัดอันดับโดยใช้คะแนนสอบจากการให้คะแนนแต่ละวิธี ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความสัมพันธ์ของคะแนนสอบระหว่างวิธีการให้คะแนนทั้ง 4 วิธี มีค่าตั้งแต่ .941 ถึง .983 2. ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของแบบสอบ จากวิธีการให้น้ำหนักคะแนนรายข้อเท่ากัน วิธีการให้น้ำหนักคะแนนรายข้อต่างกันตามระดับความมั่นใจในการตอบ วิธีการให้น้ำหนักคะแนนรายข้อต่างกันตามค่าพารามิเตอร์ของข้อกระทง และวิธีการให้น้ำหนักคะแนนรายข้อต่างกันตามค่าความสามารถของผู้ตอบมีค่าเท่ากับ .705, .781, .886 และ .894 ตามลำดับ 3. วิธีการให้น้ำหนักคะแนนรายข้อต่างกันตามระดับความมั่นใจในการตอบ วิธีการให้น้ำหนักคะแนนรายข้อต่างกันตามค่าพารามิเตอร์ของข้อกระทง และวิธีการให้น้ำหนักคะแนนรายข้อต่างกันตามค่าความสามารถของผู้ตอบ โดยเฉลี่ยแล้วให้ค่าสัมประสิทธิ์ความตรงของแบบสอบสูงกว่าวิธีการให้น้ำหนักคะแนนรายข้อเท่ากัน
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of scoring methods including 1) Raw Scoring method, 2) Confidence Weight Medhod, 3) Opitmal Scoring Weight by Parameter of Item Method and 4) Optimal Scoring Weight be Ability of Examinee ((Ɵ)) Parameter Method, on test scores, reliability andvadility coefficients. The subjects of this research were 1,011 Mathayom Suksa I students in Buriram Province in 1989 academic year. The multi-stage sampling was employed. The researcher-constructed science test was used to collect data. Data obtained were analyzed through use of Pearson Product Moment Correlation coefficient. Cronbach's Alpha Coefficient was used to determine the coefficient of test reliability. Spearman Rank Correlation coefficient was performed to find the correlation between students' ability ranked by teachers and that ranked by test scroes. The major findings of the research were : 1) correlation coefficients of the four scoring methods ranged from .941 to .983; 2) reliability coefficients of the tests determined by the Raw scoring method, the Confidence Weight Method, the Optimal Scroing Weight by Parameter of Item Method and the Optimal Scroing Weight by Ability of Examinee (Ɵ) Parameter Method were .705, .718, .886, .894, respectively ; and 3) on the average, validity coefficients of the test determined by the Confidence Weight Method, the Optimal scoring Weight by Parameter of Item Method and the Optimal Scoring Weight by Ability of Examinee (Ɵ) Parameter Method were higher than that determined by the Raw scoring method.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31101
ISBN: 9745782866
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pinich_ur_front.pdf825.24 kBAdobe PDFView/Open
Pinich_ur_ch1.pdf893.55 kBAdobe PDFView/Open
Pinich_ur_ch2.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open
Pinich_ur_ch3.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Pinich_ur_ch4.pdf750.98 kBAdobe PDFView/Open
Pinich_ur_ch5.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Pinich_ur_back.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.