Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31236
Title: | Viruslence factors of avibacterium paragallinarum isolated form chickens in Thailand |
Other Titles: | ปัจจัยความรุนแรงของเชื้อ Avibacterium paragallinarum ที่แยกได้จากไก่ในประเทศไทย |
Authors: | Kridda Chukiatsiri |
Advisors: | Niwat Chansiripornchai Jijoj Sasipreeyajan |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Veterinary Science |
Advisor's Email: | Niwat.C@Chula.ac.th Jiroj.S@Chula.ac.th |
Subjects: | Chickens -- Diseases Cold (Disease) |
Issue Date: | 2011 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | Avibacterium paragallinarum causes infectious coryza in chickens, an acute respiratory disease that has economic significance in worldwide poultry industry. The objectives of this study were to determine the serovars, antimicrobial sensitivity, pathogenicity, virulence of capsular extraction, lipopolysaccharide and outer membrane protein extraction of Av. paragallinarum isolated from Thailand. Eighteen field isolates of Av. paragallinarum were confirmed by PCR. Serotyping by a hemagglutination inhibition test, 10 isolates were serovar A, 5 isolates were serovar B, and 3 isolates were serovar C. The susceptibility of the isolates to 17 antimicrobial agents was tested by a disk diffusion method. All isolates were susceptible to amoxicillin-clavulanic acid and lincospectin. Most strains were resistance to streptomycin and erythromycin (>90%). All isolates were resistant to cloxacillin, lincomycin and neomycin. A study of bacterial entry into, and survival within, chicken macrophages showed variation between isolates but no clear connection to serovar. A virulence test was performed by challenging 4 weeks old layers via the nasal route with 400 µl of bacteria (108 colony forming units/ml). Clinical signs were observed daily for 7 days and the birds were subjected to a post-mortem necropsy at seven days post-challenge. All 18 field isolates caused the typical clinical signs of infectious coryza and could be re-isolated at 7 days after challenge. There was no significant difference in the clinical scores of the isolates except that two isolates of 112179 and 102984 belonged to serovar A and B, respectively, gave a significantly higher score than isolate CMU1009 (serovar A) did. No correlation between serovar and severity of clinical signs was found. The virulence study of capsule, OMP and LPS extraction at concentration 1000 µg/egg via yolk sac route, LPS of virulent isolates Av. paragallinarum could cause chicken embryo death whilst OMP and capsule could not. |
Other Abstract: | เชื้อ เอวิแบคทีเรียม พารากัลลินารุม เป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคหวัดหน้าบวมในไก่ ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของทางเดินหายใจส่วนต้น และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ปีกในหลายๆประเทศทั่วโลก วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาซีโรวาร์ของเชื้อ ความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ ความสามารถในการก่อพยาธิสภาพ ความรุนแรงของสารสกัดแคปซูล ไลโปโพลีแซคคาไรด์ และ เยื่อเมมเบรนด้านนอกของเชื้อ เอวิแบคทีเรียม พารากัลลินารุม ที่แยกได้จากไก่ป่วยในประเทศไทย เอวิแบคทีเรียม พารากัลลินารุม จากท้องถิ่นจำนวน 18 ตัวอย่างที่ผ่านการพิสูจน์เชื้อด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส การจำแนกซีโรวาร์ด้วยวิธีการยับยั้งการตกตะกอนกับเม็ดเลือดแดง พบว่าสามารถแยกได้เป็นซีโรวาร์ A 10 ตัวอย่าง B 5 ตัวอย่าง และ C 3 ตัวอย่าง ผลการทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพจำนวน 17 ชนิดโดยวิธี disk diffusion พบว่าเชื้อทุกตัวอย่างมีความไวต่อยาอะม็อกซีซิลิน-คลาวูลานิก เอซิด และลินโคสเปคติน เชื้อส่วนมากดื้อต่อสเตรปโตมัยซินและอิริโทรมัยซิน (>90%) เชื้อทุกตัวอย่างดื้อต่อยาคลอกซาซิลิน ลินโคมัยซิน และนีโอมัยซิน การศึกษาการเข้าสู่เซลล์และการอยู่รอดภายในเซลล์แมคโครฟาจ พบความสามารถในการอยู่รอดในแมคโครฟาจของเชื้อแต่ละตัวอย่างมีความแตกต่างกัน แต่ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนกับซีโรวาร์ การทดสอบความรุนแรงของเชื้อโดยการให้เชื้อในไก่ไข่ทดลองเพศเมียอายุ 4 สัปดาห์ โดยใช้เชื้อปริมาตร 400 ไมโครลิตรที่ความเข้มข้น 108 cfu ต่อมิลลิลิตร โดยวิธีการหยอดจมูก จากนั้นสังเกตอาการทางคลินิกเป็นเวลา 7 วันและการุณยฆาตเพื่อเพาะแยกเชื้อจากโพรงใต้ตา พบว่าเชื้อท้องถิ่นทั้ง 18 ตัวอย่างสามารถก่อโรคและทำให้ไก่ทดลองแสดงอาการของโรคหวัดหน้าบวม นอกจากนี้ยังสามารถแยกเชื้อจากโพรงใต้ตาได้ภายหลังจากได้รับเชื้อ 7 วัน ความรุนแรงในการก่อโรคของเชื้อแต่ละตัวอย่างไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นในกลุ่มที่ได้รับเชื้อ 112179 และ 102984 ซึ่งเป็นซีโรวาร์ A และ B ตามลำดับ พบว่ามีคะแนนความรุนแรงของโรคสูงที่สุด และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับกลุ่มที่ได้รับเชื้อ CMU1009 ซึ่งเป็นซีโรวาร์ A จากการศึกษานี้ไม่พบความสัมพันธ์ของซีโรวาร์กับความรุนแรงในการก่อโรค การศึกษาความรุนแรงของสารสกัดแคปซูล ไลโปโพลีแซคคาไรด์ และ เยื่อเมมเบรนด้านนอก โดยการฉีดไข่ฟักพบว่าที่ความเข้มข้น 1000 ไมโครกรัมต่อฟอง สารสกัดไลโปโพลีแซคคาไรด์ทำให้ตัวอ่อนไข่ฟักตายได้ ในขณะที่สารสกัดแคปซูล และเยื่อเมมเบรนด้านนอกไม่ทำให้เกิดการตายของตัวอ่อนไข่ฟัก |
Description: | Thesis (Ph.D)--Chulalongkorn University, 2011 |
Degree Name: | Doctor of Philosophy |
Degree Level: | Doctoral Degree |
Degree Discipline: | Veterinary Medicine |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31236 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1328 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.1328 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Vet - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kridda_ch.pdf | 2.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.