Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31253
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วีระศักดิ์ ลิขิตเรืองศิลป์ | - |
dc.contributor.author | ภูริตา หรินทจินดา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2013-05-24T01:44:43Z | - |
dc.date.available | 2013-05-24T01:44:43Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31253 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en |
dc.description.abstract | การก่อสร้างอุโมงค์เป็นโครงการที่มีความสลับซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงหลายด้าน เพื่อให้โครงการสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย ผู้รับจ้างก่อสร้างจำเป็นต้องมีแผนการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์มาตรการตอบสนองความเสี่ยงและข้อพิจารณาในการเลือกมาตรการตอบสนองความเสี่ยงของผู้รับจ้างก่อสร้างอุโมงค์ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางตอบสนองความเสี่ยงสำหรับผู้รับจ้างก่อสร้างอุโมงค์ ปัจจัยเสี่ยงของผู้รับจ้างงานอุโมงค์ถูกรวบรวมจากงานวิจัยในอดีตและการสัมภาษณ์วิศวกรอุโมงค์ โดยสามารถสรุปได้ทั้งสิ้น 39 ปัจจัยเสี่ยงซึ่งจำแนกออกได้เป็น 8 กลุ่มปัจจัยเสี่ยง จากนั้นจึงได้วิเคราะห์มาตรการตอบสนองความเสี่ยงที่ผู้รับจ้างก่อสร้างใช้สำหรับแต่ละปัจจัยเสี่ยง มาตรการตอบสนองความเสี่ยงที่พิจารณา ได้แก่ การคงความเสี่ยงไว้ การลดความเสี่ยง การถ่ายโอนความเสี่ยง การขจัดความเสี่ยงหรือการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง และการคิดค่าเผื่อสำรอง จากการสัมภาษณ์ผู้รับจ้างในโครงการกรณีศึกษา 4 โครงการพบว่ามาตรการที่ผู้รับจ้างใช้มากที่สุดคือ มาตรการลดความเสี่ยง มาตรการคงความเสี่ยงไว้ และมาตรการถ่ายโอนความเสี่ยง ตามลำดับ จากนั้นวิทยานิพนธ์ได้นำเสนอข้อพิจารณาที่ผู้รับจ้างก่อสร้างงานอุโมงค์ใช้ในการเลือกมาตรการตอบสนองความเสี่ยงสำหรับแต่ละปัจจัยเสี่ยงในโครงการกรณีศึกษา อันได้แก่ ต้นทุนในการตอบสนองความเสี่ยง รูปแบบของระบบการจัดทำและส่งมอบโครงการ รูปแบบการเบิกจ่ายเงิน เป็นต้น สุดท้ายวิทยานิพนธ์ได้นำเสนอแนวทางในการตอบสนองความเสี่ยงของผู้รับจ้างก่อสร้างโดยสรุปจากข้อแนะนำการจัดการความเสี่ยงงานอุโมงค์โดยองค์กรที่สำคัญต่าง ๆ เช่น สมาคมอุโมงค์นานาชาติ ผลการวิจัยพบว่าแนวทางที่สรุปได้มีความคล้ายคลึงกับมาตรการตอบสนองความเสี่ยงที่ใช้ในโครงการกรณีศึกษาเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงบางตัวที่ผู้รับจ้างใช้มาตรการคงความเสี่ยงไว้หรือที่ผู้รับจ้างไม่พิจารณา แนวทางที่นำเสนอได้แนะนำให้ผู้รับจ้างใช้มาตรการลดความเสี่ยงแทน ผู้รับจ้างงานอุโมงค์สามารถนำมาตรการตอบสนองความเสี่ยงและข้อพิจารณาในการเลือกมาตรการตอบสนองความเสี่ยงที่ผู้รับจ้างใช้ รวมทั้งแนวทางในการตอบสนองความเสี่ยงของผู้รับจ้างก่อสร้างในงานอุโมงค์ที่นำเสนอในวิทยานิพนธ์นี้ไปใช้พัฒนาแผนการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมสำหรับโครงการก่อสร้างอุโมงค์อื่น ๆ ต่อไป | en |
dc.description.abstractalternative | Tunnel construction is a complex construction project, which involves various types of risk. To achieve the project goals, contractors need to apply appropriate risk management plans from the project inception until the project closure. The objectives of this thesis are to analyze risk response measures and considerations for selecting such measures by tunneling contractors as well as to provide guidelines of tunneling risk response measures for contractors. Thirty-nine risk factors borne by tunneling contractors were gathered from past research works and interviews with tunneling engineers, and were grouped into eight categories. Risk response measures for each risk factor were then analyzed. The measures include risk retention, risk reduction, risk transfer, risk elimination or avoidance, and contingency allowance. By interviewing the tunneling contractors in four project case studies, it was found that the most widely used risk response measures were risk reduction, risk retention, and risk transfer, respectively. This thesis then presents considerations the tunneling contractors used for selecting their risk response measures for each risk factor. These considerations include costs of risk response measures, project procurement and delivery systems, and forms of project payment. This thesis finally provides guidelines of risk response measures by tunneling contractors by summarizing from recommendations of several leading tunneling organizations such as International Tunnelling Association (ITA). The results show that the proposed guidelines are similar to the risk response measures used in practice. However, for some risk factors, the proposed guidelines suggest that contractors mitigate such risks, rather than retain or ignore them as found in the case studies. Tunneling contractors can use the risk response measures, considerations for selecting the risk response measures, and guidelines presented in this thesis to develop appropriate risk management plans for other tunneling projects. | en |
dc.format.extent | 1752269 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.618 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | อุตสาหกรรมการก่อสร้าง -- มาตรการความปลอดภัย | en |
dc.subject | การบริหารความเสี่ยง | en |
dc.subject | อุโมงค์ | en |
dc.subject | อุตสาหกรรมการก่อสร้าง -- การศึกษาเฉพาะกรณี | en |
dc.title | การวิเคราะห์มาตรการตอบสนองความเสี่ยงของผู้รับจ้างก่อสร้างในโครงการอุโมงค์ | en |
dc.title.alternative | Analysis of risk response measures by contractors in tunneling projects | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมโยธา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | fcevlk@eng.chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.618 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Purita_ha.pdf | 1.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.