Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31264
Title: การจัดทำแบบจำลองการใช้พลังงานของอาคารสำนักงานในประเทศไทย
Other Titles: Developing energy consumption model for office building in Thailand
Authors: สไบทิพย์ บุญยงค์
Advisors: จิรพัฒน์ เงาประเสริฐวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Jeirapat.N@Chula.ac.th
Subjects: อาคารสำนักงาน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การใช้พลังงานไฟฟ้า -- แบบจำลอง
อาคารสำนักงาน -- การใช้พลังงาน -- แบบจำลอง
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่องการจัดทำแบบจำลองการใช้พลังงานของอาคารสำนักงานในประเทศไทย จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางการใช้พลังงานมาตรฐานของอาคารประเภทสำนักงานในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ทราบถึงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของตนเอง และสามารถเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้พลังงานของตนเองเทียบกับผู้อื่นได้ โดยขั้นตอนการวิจัยจะประกอบด้วย การศึกษาและรวบรวมตัวแปรที่ส่งผลต่อการใช้พลังงานในอาคารสำนักงาน การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆกับการใช้พลังงานในอาคารสำนักงานด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่าตัวแปรที่มีผลต่อการใช้พลังงานในอาคารสำนักงานได้แก่ พื้นที่ใช้สอยภายในอาคาร จำนวนพนักงานในอาคารสำนักงาน และประเภทการใช้งานในอาคาร ส่วนแบบจำลองการใช้พลังงานในอาคารสำนักงานนั้นหลังจากที่ได้ทำการตรวจสอบความถูกต้องของแบบจำลองแล้วได้แบ่งแบบจำลองออกเป็น 2 รูปแบบจำแนกตามประเภทการใช้งานในอาคารสำนักงานกล่าวคือ อาคารประเภทที่มีการใช้งานโดยองค์กรเดียวหรือกลุ่มบริษัทเดียวมีแบบจำลองดังนี้ การใช้พลังงานในอาคารทั้งปี(TBEC, kWh/yr) = -388,169.466 + 145.250Gross floor area + 601.517Number of People ส่วนแบบจำลองการใช้พลังงานในอาคารสำนักงานประเภทอาคารให้เช่าคือ TBEC (kWh/yr) = 726,690 +145.250Gross floor area + 601.517Number of People ซึ่งจะเห็นได้ว่าถ้าอาคารทั้งสองประเภทมีตัวแปรทางด้านพื้นที่ใช้สอยและจำนวนพนักงานเท่ากัน การใช้พลังงานในอาคารประเภทอาคารให้เช่าจะมากกว่า ซึ่งผลที่ได้สอดคล้องกับการสำรวจการใช้พลังงานในอาคารสำนักงานทั้ง 20 แห่ง กล่าวคือสำหรับอาคารให้เช่านั้น ไม่ค่อยมีการจัดการทางด้านการอนุรักษ์พลังงานเท่าที่ควร เนื่องจากขาดความร่วมมือกันระหว่างเจ้าของอาคารและผู้เช่า ในขณะที่อาคารประเภทที่มีการใช้งานองค์กรเดียวนั้น มีการจัดการทางด้านการอนุรักษ์พลังงานในอาคารได้มากกว่า เพราะทางอาคารเองสามารถออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อให้พนักงานภายในอาคารปฏิบัติตามได้นั่นเอง
Other Abstract: The purpose of this study was to Develop an Energy Consumption Model for Thai office buildings to be a guideline and benchmarking in office buildings in Thailand. The research procedures were to collect and analyze variables that affect to the energy consumption in office buildings by using a multiple regression analysis. The results showed that there are 3 factors concerning office building which affected the maximum energy consumption. The factors are internal floor area, number of occupancy and types of buildings. Also the model of Energy consumption for office buildings was divided into 2 categories by types of building. The first one are buildings which have been used by one organization and another one have been used for Tenant building. The Energy Consumption Model in the first category was TBEC (kWh/yr) = -388,169.466 +145.250Gross floor area + 601.517Number of People and in secondary was TBEC (kWh/yr) = 726,690 +145.250Gross floor area + 601.517Number of People. The result showed that if both types of buildings have the same value of variations in floor area and number of people, the energy consumption amount in the Tenant buildings will be greater. This result supports the energy usages observation in 20 office buildings. In the Tenant buildings, there is sufficient management in energy saving because they lack in cooperation between the owners and the tenants. Whereas, one-organization buildings are more efficient in energy saving management since the organization can issue policies and regulations for the employee to follow and behave.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31264
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1364
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.1364
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sabaitip_Bo.pdf2.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.