Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31490
Title: | ความต้องการการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ ในการบริหารงานโรงเรียนประถมศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ |
Other Titles: | Needs for microcomputer usage of elementary school administrators in educational administrative tasks in elementary schools under the jurisdiction of the Office of the National Primary Education Commission |
Authors: | อรุณ ควงสมัย |
Advisors: | เอกชัย กี่สุขพันธ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2538 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และความต้องการการใช้คอมพิวเตอร์ ในการบริหารงานโรง เรียนของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 500 คน ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์คืนมาร้อยละ 89.40 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหารโรงเรียนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2. ผู้บริหารโรงเรียนที่มีความรู้และไม่มีความรู้เกี่ยวกับไมโครคอมพิวเตอร์มีความคิดเห็นว่าการนำไมโครคอมพิวเตอร์ใช้ในการบริหารงาน จะ ทำให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหาร เพิ่มความถูกต้องแม่นยำในการประมวลผลข้อมูล และความรวดเร็วในการตัดสินใจ และเห็นว่าการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ช่วยในการสอนทำให้เกิดการจูงใจในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน และช่วยในการบันทึกข้อมูลผู้เรียน สามารถประเมินผลการเรียนอย่างเป็นธรรม ในเรื่องข้อจำกัดและข้อควรระวังในการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารโรงเรียนเห็นว่าเสียค่าใช้จ่ายในการจัดหาและการบำรุงรักษาสูง และควรระวังในด้านการถูกฝุ่นละอองและไวรัสคอมพิวเตอร์ ในการพิจารณาซื้อไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้จะพิจารณาจากประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ จำนวนปีในการรับประกันและคุณสมบัติตรงตามที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด ส่วนการพิจารณาเลือกบริษัทเพื่อซื้อไมโครคอมพิวเตอร์จะพิจารณาจากการให้ บริการและเงื่อนไขการให้บริการหลังจากหมดระยะเวลารับประกัน 3. ผู้บริหารโรงเรียนที่มีความรู้เกี่ยวกับไมโครคอมพิวเตอร์มีความต้องการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในงานบริหารโรงเรียนเรียงตามลำดับคือ งานธุรการ การเงินและพัสดุ งานบุคลากร งานวิชาการ งานกิจการนักเรียน งานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และงานอาคารสถานที่ 4. ผู้บริหารโรงเรียนที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับไมโครคอมพิวเตอร์มีความต้องการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในงานบริหารโรงเรียนเรียงตามลำดับคือ งานบุคลากร งานธุรการ การเงินและพัสดุ งานกิจการนักเรียน งานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน งานวิชาการ และงานอาคารสถานที่ |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study knowledge in microcomputers and needs for microcomputer usage of elementary school a[d]ministrators in educational administrative tasks in elementary schools under the jurisdiction of the Office of the National Primary Education Commission. Questionnaires were sent to 500 administrators in elementary schools of which 447 complete questionnaires or 89.40 percent, were returned and analyzed. The results revealed as follows : 1. Most of administrators lack of knowledge in microcomputer. 2. The administrators both with or without microcomputer knowledge perceived that microcomputer applications in administration would increase efficiency, data processing accuracy and prompt decision making. Regarding instruction, Microcomputers could motivate student learning, assist in personal data records and fair evaluation. The limitations of microcomputer usage viewed by school administrators were high maintainance cost and disturbance by dust and virus contraction. To purchase microcomputers, efficiency, guarantee period and qualifications specified by the agencies concerned were considered. To select the sale company, good service and service after sale were taken into account. 3. Needs for computer usage ranked by knowledgeable school administrators were in clerical work finance, school business services, personnel administration, academic administration, student personnel services, school- community relations and school plant. 4. School administrators w[i]thout microcomputer knowledge ranked the needs for microcomputer usage namely : personnel administration, clerical work, finance, school business, service; student personnel service, academic administration and school plant. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31490 |
ISBN: | 9746322672 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Arun_ka_front.pdf | 5.4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arun_ka_ch1.pdf | 4.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arun_ka_ch2.pdf | 24.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arun_ka_ch3.pdf | 2.87 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arun_ka_ch4.pdf | 23.71 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arun_ka_ch5.pdf | 22.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arun_ka_back.pdf | 15.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.