Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31491
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการอ่าน และการเขียนเนื้อเรื่องภาษาอังกฤษแบบบรรยายและแบบโน้มน้าว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Relationships between ability in English reading and writing descriptive and persuasive texts of mathayom suksa five students, Bangkok Metropolis
Authors: อรุณ ฉัตรดอน
Advisors: สุจิตรา สวัสดิวงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการอ่านและการเขียนเนื้อเรื่องภาษาอังกฤษ แบบบรรยายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กรุงเทพมหานคร (2) ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการอ่านและการเขียนเนื้อเรื่องภาษาอังกฤษ แบบโน้มน้าวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กรุงเทพมหานคร (3) ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการอ่านเนื้อเรื่องภาษาอังกฤษแบบบรรยายและแบบโน้มน้าวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กรุงเทพมหานคร (4) ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเขียนเนื้อเรื่องภาษาอังกฤษแบบบรรยายและแบบโน้มน้าวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กรุงเทพมหานคร ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2536 จำนวน 514 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 16โรงเรียน นักเรียนแต่ละคนได้รับการทดสอบจาก (1) แบบสอบวัดความสามารถในการอ่านเนื้อเรื่องภาษาอังกฤษแบบบรรยายและแบบโน้มน้าว ซึ่งประกอบไปด้วย แบบสอบ แบบเลือกตอบ และแบบบันทึกสิ่งที่จำได้จากการอ่าน (2) แบบสอบวัดความสามารถในการเขียนเนื้อเรื่องภาษาอังกฤษแบบบรรยายและแบบโน้มน้าว ชนิดเขียนเรียงความแบบอิสระ นำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันทีละคู่ ได้ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) คะแนนจากแบบบันทึกสิ่งที่จำได้จากการอ่านเนื้อเรื่องภาษาอังกฤษแบบบรรยาย มีความสัมพันธ์ทางลบกับคะแนนจากการเขียนเนื้อเรื่องภาษาอังกฤษแบบบรรยายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และคะแนนจากแบบสอบแบบเลือกตอบเนื้อเรื่องภาษาอังกฤษแบบบรรยาย ไม่มีความสัมพันธ์กับคะแนนจากการเขียนเนื้อเรื่องภาษาอังกฤษแบบบรรยายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 (2) คะแนนจากแบบบันทึกสิ่งที่จำได้จากการอ่านเนื้อเรื่องภาษาอังกฤษแบบโน้มน้าว ไม่มีความสัมพันธ์กับคะแนนจากการเขียนเนื้อเรื่องภาษาอังกฤษแบบโน้มน้าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และคะแนนจากแบบสอบแบบเลือกตอบเนื้อเรื่องภาษาอังกฤษแบบโน้มน้าว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคะแนนจากการเขียนเนื้อเรื่องภาษาอังกฤษแบบโน้มน้าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (3) คะแนนความสามารถในการอ่านเนื้อเรื่องภาษาอังกฤษแบบบรรยาย และแบบโน้มน้าว ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ยกเว้นคะแนนจากแบบบันทึกสิ่งที่จำได้จากการอ่าน มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (4) คะแนนความสามารถในการเขียนเนื้อเรื่องภาษาอังกฤษแบบบรรยายและแบบโน้มน้าว มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
Other Abstract: This study was conducted in order to study (1) the relationship between the ability in reading and writing English descriptive texts (2) the relationship between the ability in reading and writing English persuasive texts (3) the relationship between the ability in reading English descriptive and persuasive texts (4) the relationship between the ability in writing English descriptive and persuasive texts. The sample consisted of 514 Mathayom Suksa 5 students which were statified randomly from 16 secondary schools in Bangkok Metropolis. Each student was tested by (1) multiple choice form tests and recall protocols measuring student's ability in English reading descriptive and persuasive texts (2) free writing essays measuring student's ability in writing English descriptive and persuasive texts. Each pair of the obtained data was statistically analyzed by Pearson's Product Moment Correlations Coefficient. The findings were as follows : (1) The descriptive reading recall protocol score and the descriptive writing score were negatively correlated at the significant level.001 and there were no significant correlations between the descriptive reading multiple choice score and the descriptive writing score. (2)There were no significant correlations between the persuasive reading recall protocol score and the persuasive writing score and there were significant correlations between the persuasive reading multiple choice score and persuasive writing score (p<.001). (3) There were no significant correlations between the ability in reading English descriptive and persuasive texts scores except the descriptive recall protocol score and the persuasive recall protocol score were significantly correlated(p<.001). (4) The ability in writing English descriptive and persuasive tests scores were significantly correlated (p< .001).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31491
ISBN: 9745843512
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aroon_ch_front.pdf3.89 MBAdobe PDFView/Open
Aroon_ch_ch1.pdf6.44 MBAdobe PDFView/Open
Aroon_ch_ch2.pdf19.45 MBAdobe PDFView/Open
Aroon_ch_ch3.pdf8.27 MBAdobe PDFView/Open
Aroon_ch_ch4.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open
Aroon_ch_ch5.pdf5.75 MBAdobe PDFView/Open
Aroon_ch_back.pdf16.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.