Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/317
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัตนา พุ่มไพศาล-
dc.contributor.authorชาญ มอทิพย์, 2502--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-14T08:47:00Z-
dc.date.available2006-06-14T08:47:00Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741726937-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/317-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบระดับความรู้ ระดับเจตคติเกี่ยวกับการศึกษานอกระบบโรงเรียนของผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร และเพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรด้านสถานภาพ ด้านความรู้เกี่ยวกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน และ ด้านเจตคติเกี่ยวกับการศึกษานอกระบบโรงเรียนของผู้บริหารและครูผู้สอนกับการให้บริการการศึกษานอกระบบโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกเป็น ผู้บริหาร จำนวน 182 และครูผู้สอน จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ เครื่องมือที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ ข้อมูลพื้นฐาน ความรู้ เจตคติเกี่ยวกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน และ การให้บริการการศึกษานอกระบบโรงเรียน ผลการศึกษาวิจัยสรุปได้ว่า ข้อมูลพื้นฐาน ระดับเจตคติ และ ระดับความรู้เกี่ยวกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน ของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน พบว่า เจตคติต่อการศึกษานอกระบบโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ที่มีต่อการให้บริการการศึกษานอกโรงเรียนส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 481 คน คิดเป็นร้อยละ 88.6 รองลงมาคือระดับสูง และ ระดับต่ำ จำนวน 59 คน และ 3 คน คิดเป็น ร้อยละ 10.9 และ 0.6 ตามลำดับ ระดับความรู้เกี่ยวกับการศึกษานอกระบบโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน พบว่า คะแนนความรู้ ความเข้าใจการให้บริการการศึกษานอกระบบโรงเรียน ของผู้บริหารและครูผู้สอนส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง มีจำนวน 376 คน คิดเป็นร้อยละ 66.90 รองลงมาอยู่ในระดับสูงและระดับ ต่ำ มีจำนวน 170 คน และ 16 คน คิดเป็นร้อยละ 30.25 และ 2.85 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นคะแนนเฉลี่ย พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง คือมีค่าเท่ากับ 15.69 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 3.44 การให้บริการการศึกษานอกระบบโรงเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัด กรุงเทพมหานครส่วนใหญ่เป็นการศึกษาตามอัธยาศัย รองลงมาคือ การศึกษาสายสามัญหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น และ การศึกษาสายอาชีพหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ส่วนตัวแปรที่มี ความสัมพันธ์กับ การให้บริการการศึกษานอกระบบโรงเรียน พบว่า อายุ และประสบการณ์ทางการสอน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตำแหน่ง และ ประสบการณ์ทางการบริหาร มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วน เพศ และ อายุ ไม่มีความสัมพันธ์กับการให้บริการการศึกษานอกระบบโรงเรียนในภาพรวมen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study level of knowledge and attitudes towards non-formal education of the administrators and teachers working in the elementary schools attached to the Bangkok Metropolitan Administration and also to study relationships among selected factors in terms of status, knowledge and attitudes pertaining to non-formal education of those people. The sample used in this study included 182 administrators and 380 teachers of the elementary schools under the responsibility of the Bangkok Metropolitan Administration. The instrument designed by the researcher was used for collecting data on knowledge and attitudes concerning non-formal education, as well as non-formal education service. The significant research findings were as follows: 1. Those administrators and teachers had attitudes forwards non-formal education in order of frequencies as follows : 481 persons or 88.6 percent were at a moderate level. 59 persons or 10.9 percent and 3 persons or 0.6 percent were at high and low levels respectively. 2. Most of them : 376 persons or 66.90 percent had knowledge on non-formal education service at a moderate level. 170 persons or 30.25 percent and 16 persons or 2.85 percent were at high and low levels respectively. Considering in terms of mean, it was found that the mean was at a moderate level equally to 15.69 with its standard deviation of 3.44. 3. Most service were informal education followed the academic scheme at the lower secondary level and short-term vocational courses respectively. 4. It revealed that age and teaching experience variables had significantly statistical difference at .01 level in giving non-formal education service. While there were significantly statistical difference at 0.05 in terms of position and administrative experience but no significantly statistical difference in terms of sex and age.en
dc.format.extent1459687 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.666-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการศึกษานอกระบบโรงเรียนen
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษาen
dc.titleความสัมพันธ์ของปัจจัยคัดสรรกับการให้บริการการศึกษานอกระบบโรงเรียนของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeRelationships between selected factors and non-formal education service of the elementary schools under Bangkok Metropolitan Administrationen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorRatana.P@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.666-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chan.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.