Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31902
Title: การเปรียบเทียบภาพถ่ายรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้าง ระหว่างโครงสร้างใบหน้าปกติและโครงสร้างใบหน้า ที่มีขากรรไกรล่างยื่นในคนไทยกลุ่มหนึ่ง
Other Titles: A comparative study of lateral cephalometric radipgraphy between the skeletal class I and the skeletal class III in a group of Thai
Authors: อัจฉรา มโนมัยพิบูลย์
Advisors: สมศักดิ์ เจิ่งประภากร
อำรุง จันทวานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้เพื่อหาค่าเฉลี่ยของระยะทางและมุมที่วัดความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ ของใบหน้าและกะโหลกศีรษะ จากภาพถ่ายรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างในคนไทยกลุ่มหนึ่งที่มีโครงสร้างใบหน้าปกติและโครงสร้างใบหน้าที่มีขากรรไกรล่างยื่น เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างโครงสร้างใบหน้าทั้งสองแบบ และศึกษาความแตกต่างระหว่างเพศ ผลการวิจัยพบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างค่าระยะทางและมุมของโครงสร้างใบหน้าปกติ และโครงสร้างใบหน้าที่มีขากรรไกรล่างยื่นทั้งในเพศชายและเพศหญิง ความแตกต่างที่สำคัญที่สุดได้แก่ ค่า Wits, มุม ANB, ความโค้งนูนของใบหน้า (Convexity) และผลต่างระหว่างความยาวของขากรรไกรทั้งสอง (Co-Gn-Co-A difference) ความแตกต่างที่สำคัญรองลงมา ส่วนใหญ่พบในขากรรไกรล่าง ซึ่งเป็นค่าที่แสดงถึงตำแหน่งที่ยื่นมาข้างหน้าของขากรรไกรล่าง ได้แก่ Ramus Position, Pog to Na Perpendicular, SNB, Facial depth และ Facial axis รวมถึงค่าเฉลี่ยความยาวของขากรรไกรล่าง Co-Gn และ Corpus length การมีลักษณะโครงสร้างใบหน้าที่มีขากรรไกรล่างยื่นนี้ ยังเกี่ยวเนื่องกับการมีขากรรไกรบนที่สั้น (Co-A) และการมีตำแหน่งที่ถอยไปทางข้างหลังของขากรรไกรบน (A to Nasion Perpendicular, Maxillary depth และ SNA) ขณะเดียวกัน Porion location ที่อยู่ค่อนมาทางข้างหน้า, การโค้งงอเป็นมุมที่เล็กลงของฐานกะโหลกศีรษะ (N-S-Ar) และฐานกะโหลกศีรษะที่สั้น (Na-Ba) ก็เป็นปัจจัยร่วมในการทำให้เกิดโครงสร้างใบหน้าที่มีขากรรไกรล่างยื่น เปอร์เซ็นต์ของความยาวใบหน้าส่วนหลังต่อความยาวใบหน้าส่วนหน้า ในกลุ่มโครงสร้างใบหน้าที่มีขากรรไกรล่างยื่น มีค่าน้อยกว่ากลุ่มปกติ ความแตกต่างนี้เกี่ยวเนื่องกับโครงสร้างใบหน้าที่มีขากรรไกรล่างยื่น ในกลุ่มตัวอย่างนี้ ส่วนมากมีการเจริญเติบโตในแนวดิ่งที่มากด้วย สอดคล้องกับการมี gonial angle ป้าน, ค่า Symphysis width น้อย Mandibular arc เล็ก และ mandibular plane angle สูง พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของค่าระยะทางและมุมระหว่างเพศชายและหญิงในโครงสร้างใบหน้าทั้ง 2 แบบ โดยส่วนใหญ่เพศชายมีค่าระยะทางมากกว่าหญิง ไม่พบความแตกต่างของค่ามุมในขากรรไกรล่างระหว่างเพศชายและหญิงในกลุ่มโครงสร้างใบหน้าที่มีขากรรไกรล่างยื่น เพศหญิงมีแนวโน้มของโครงสร้างใบหน้า ซึ่งมีการเจริญเติบโตในแนวดิ่งมากกว่าเพศชายในโครงสร้างใบหน้าที่ 2 แบบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการหาค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์การกระจาย ศึกษาความแตกต่างระหว่างโครงสร้างใบหน้า และความแตกต่างระหว่างเพศ ด้วยสถิติการทดสอบค่าเฉลี่ยที่ระดับนัยสำคัญ .001, .01 และ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to measure some distances and angles in lateral cephalometric radiography of the skeletal class I and the skeletal class III in Thai, to search for the different value of the craniofacial characteristics by the two skeletal types and by sex. This comparative study found that there were statistically significant differences in the distances and angles between the skeletal class I and the skeletal class III in both sexes. The most significant differences were wits, ANB angle, Convexity and the mean difference between the maxillary length (CO-A) and mandibular length (Co-Gn). The other mainly significant differences were found principally in the mandible which reflected a forward positioning of the Class III mandible, namely, Ramus position, Pogonion to Nasion Perpendicular, SNB, Facial depth and Facial axis included significantly greater mean total effective lengths of the class III mandible (Co-Gn) and corpus length. The skeletal class III differed from the skeletal class I not only in the general morphologic differences in the mandibles but also in having a short and distally positioned maxilla. The further contributory factors toward the skeletal class III were anteriorly positioned porion, cranial flexure and a shorter total cranial base. Posterior total facial height expressed as a percentage of anterior total facial height, are significantly lesser in the skeletal class III sample than in the skeletal class I sample. This different is associated with predominantly open bite type of class III patterns recorded in the sample, namely, obtuse gonial angle, thin symphysis, low mandibular arc and high mandibular plane angle. Statistically significant differences were observed for the distances and angles between males and famales in the two skeletal types. The male linear measurements were generally greater than the corresponding measurement in females. However, there were no differences in the angles in the class III mandible. Females tended to have a more divergent type of pattern in the two skeletal types. The means, standard deviations, standard errors of the means and coefficients of variation were calculated for all measurements. The study is devoted to the determination of skeletal and sex differences by means of the students’s t-test, taking at the .001, .01 and .05 significant level.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมจัดฟัน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31902
ISBN: 9745691127
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Achara_ma_front.pdf8.19 MBAdobe PDFView/Open
Achara_ma_ch1.pdf4.9 MBAdobe PDFView/Open
Achara_ma_ch2.pdf58.57 MBAdobe PDFView/Open
Achara_ma_ch3.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open
Achara_ma_ch4.pdf9.75 MBAdobe PDFView/Open
Achara_ma_ch5.pdf7.05 MBAdobe PDFView/Open
Achara_ma_back.pdf5.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.