Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32033
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปองสิน วิเศษศิริ-
dc.contributor.authorปราณี อินทรักษา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-06-07T08:24:14Z-
dc.date.available2013-06-07T08:24:14Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32033-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้กรอบการวิจัยตามคู่มือแนวทางปฏิบัติและมาตรการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษาฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2552 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 342 คน และผู้รับผิดชอบการดำเนินการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษา จำนวน 342 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. สภาพการดำเนินการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษา พบว่า 1) มาตรการป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุ การปฏิบัติที่พบมากที่สุด คือ แต่งตั้งบุคลากรในการดูแลรักษาอาคารสถานที่และจัดให้มีครูในการควบคุมดูแล ให้เหมาะสมกับจำนวนนักเรียนในการพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ การปฏิบัติที่พบน้อยที่สุด คือ บันทึกเก็บสถิติจุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งในสนามกีฬาเพื่อหาทางป้องกัน 2) มาตรการป้องกันและแก้ไขอุบัติภัย การปฏิบัติที่พบมากที่สุด คือ จัดให้มีครูและนักการภารโรงอยู่เวรยามรักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดในแต่ละวันและยามวิกาล การปฏิบัติที่พบน้อยที่สุด คือ ติดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัยพร้อมแผนผังการหนีไฟ ประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนทราบและฝึกซ้อม 3) มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคม การปฏิบัติที่พบมากที่สุด คือ ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การปฏิบัติที่พบน้อยที่สุด คือ จัดหาจิตแพทย์เข้ามาศึกษาและให้ความรู้แก่นักเรียนในเรื่องจิตใจ 4) มาตรการป้องกันและแก้ไขด้านสุขภาพอนามัยของนักเรียน การปฏิบัติที่พบมากที่สุด คือ มีการกำจัดของเสียในสถานศึกษา การปฏิบัติที่พบน้อยที่สุด คือ จัดเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีปัญหาทางด้านพฤติกรรมอารมณ์กับเด็กปกติ 5) มาตรการป้องกันและแก้ไขด้านสัตว์มีพิษ การปฏิบัติที่พบมากที่สุด คือ จัดสภาพแวดล้อมให้ร่มรื่น ตัดแต่งต้นไม้ กำจัดแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์มีพิษ การปฏิบัติที่พบน้อยที่สุด คือ จัดทำป้ายเตือนภัยจากสัตว์มีพิษในบริเวณที่เป็นจุดเสี่ยง 6) มาตรการป้องกันและแก้ไขด้านผลกระทบจากการสู้รบและความไม่สงบ การปฏิบัติที่พบมากที่สุด คือ แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ ติดตามสถานการณ์เกี่ยวกับการสู้รบและความไม่สงบ การปฏิบัติที่พบน้อยที่สุด คือ ซักซ้อมการอพยพ จัดทำหลุมหลบภัย และจัดหาที่พักพิงชั่วคราวไว้ล่วงหน้า ในกรณีที่อาจเกิดการสู้รบและความไม่สงบ 2.ปัญหาการดำเนินการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษา พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับน้อยและน้อยที่สุดโดยมีปัญหาในการปฏิบัติงานในระดับน้อย 2 ด้าน คือ ด้านอุบัติเหตุและด้านอุบัติภัย และมีปัญหาในการปฏิบัติงานน้อยที่สุด 4 ด้าน คือ ด้านปัญหาทางสังคม ด้านสุขภาพอนามัยของนักเรียน ด้านสัตว์มีพิษและด้านผลกระทบจากการสู้รบและความไม่สงบen
dc.description.abstractalternativeThis research was to study states and problems of the implementation of safety procedures in secondary schools based on the Handbook, B.E. 2552 by the Basic Education Commission. The sample population consisted of 342 school directors and 342 school personnel responsible as safety officers. The research instruments were questionnaires and the data were analyzed by using frequency, percentage, mean, and standard deviation. Research results were presented in 6 Safety Procedures Aspects; only what had been done the most and the least in actions were presented respectively as follows: The States of Safety Procedure Implementation: 1) Accident Prevention: - assigning of personnel for building and facilities maintenance and appropriate assigning number of teachers during student field trips, - recording of the number of accidents occurring in sports facilities in order to find preventive measures. 2) Preparation for the Natural Disasters: - assigning teachers and janitors as security guards to be on duty during day and night time, - having fire alarm system installed and evacuation plans communicated to everyone and conducting fire drill periodically. 3) Social Problems Prevention: - following the students’ assistance system, - arranging psychiatrists to examine and provide knowledge for students. 4) Student Health and Hygiene Prevention: - managing waste treatment, - organizing integrated classroom for students with learning disorder (LD) and regular students.5) Poisonous Animals Prevention: providing a clean and tidy environment, - installing of warning signs in areas with high risks. 6) War and Terrorist Impact: assigning personnel responsible for monitoring current situations, - practicing evacuation drill, providing bomb shelter, and providing a temporary accommodation in case of political unrest or terrorist attacks. The Problems of Safety Procedure Implementation: Overall, the level of problems found in between low and lowest range were as follows: Problems under low Level - Accidents Prevention and Natural Disaster Prevention. Problems under lowest level – Social Problems Prevention, Student Health and Hygiene Prevention, Poisonous Animals Prevention, War and Terrorist Impact.en
dc.format.extent3905779 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.305-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษา -- ไทยen
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย -- มาตรการความปลอดภัยen
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหารen
dc.subjectอุบัติเหตุในโรงเรียน -- การป้องกันen
dc.subjectHigh schools -- Thailanden
dc.subjectHigh schools -- Thailand -- Safety measuresen
dc.subjectHigh schools -- Administrationen
dc.subjectSchool accidents -- Preventionen
dc.titleการศึกษาการดำเนินการรักษาความปลอดภัยของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานen
dc.title.alternativeA study of safety procedures of educational institutions at the secondary education level under the Office of the Basic Education Commissionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorpongsin.v@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.305-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pranee_in.pdf3.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.