Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32038
Title: การศึกษาเปรียบเทียบการสร้างคำในภาษากุย บรู และโซ่
Other Titles: A comparative study of the morphological processes of Kui, Bruu and So
Authors: เอกวิทย์ จิโนวัฒน์
Advisors: ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ
เดวิด ดี โธมัส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้วัตถุประสงค์ที่จะศึกษาและเปรียบเทียบการสร้างคำในภาษากูย บรู และโซ่ โดยศึกษาการสร้างคำของแต่ละภาษา แล้วนำมาเปรียบเทียบกันเพื่อให้เห็นความเหมือนหรือความคล้ายคลึง และความแตกต่างของการสร้างคำในภาษาทั้งสามภาษาดังกล่าว ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ครั้งนี้ได้มาจากพจนานุกรมกูย (ส่วย)-ไทย-อังกฤษ พจนานุกรมบรู-ไทย-อังกฤษ พจนานุกรมโซ่-อังกฤษ และจากการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาซึ่งเป็นผู้รวบรวมคำศัพท์ในการทำพจนานุกรมทั้ง 3 เล่ม ตลอดจนการสัมภาษณ์ผู้ที่เคยศึกษาภาษาทั้งสามภาษา ผลที่ได้จากการวิจัยคือ การสร้างคำของภาษาทั้งสามมีทั้งที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน และแตกต่างกัน กล่าวคือการสร้างคำในภาษาทั้งสามมีการสร้างคำร่วมกันอยู่ 2 วิธี คือ การสร้างคำด้วยการเติมหน่วยศัพท์และการซ้ำคำ ส่วนภาษากูยมีการสร้างคำที่แตกต่างออกไป คือ มีการสร้างคำด้วยการเปลี่ยนลักษณะน้ำเสียงเพิ่มอีกวิธีหนึ่ง การเติมหน่วยศัพท์ในการสร้างคำของภาษาทั้งสามมีวิธีการใหญ่ ๆ อยู่ 4 วิธีคือ เติมหน่วยศัพท์เพื่อเปลี่ยนคำกริยาให้เป็นคำนามเพื่อสร้างคำนามใหม่ เพื่อสร้างคำกริยาใหม่ และเพื่อเปลี่ยนคำนามให้เป็นคำกริยา ส่วนการซ้ำคำจะมีการซ้ำเสียงอย่างสมบูรณ์กับการซ้ำเสียงบางส่วน จากผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการสร้างคำในภาษากูย บรู และโซ่ สรุปได้ว่าภาษาบรู และภาษาโซ่ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันทางด้านเชื้อสายมากกว่าภาษากูยกับบรู หรือกูยกับโซ่ ซึ่งเป็นการสนับสนุนการแบ่งกลุ่มภาษาในตระกูลมอญ-เขมร กลุ่มกะตุอิค ของเค็นเน็ท ดี สมิธ ที่ใช้สถิติความสัมพันธ์ของศัพท์
Other Abstract: The purpose of this thesis is to study and compare the morphological processes in Kui, Bruu and So. The morphology of each language is investigated and comparisons are made to determine similarities and differences in their morphologies. Data were obtained from Kui-Thai-English, Bruu-Thai-English and So-English dictionaries and from interviews with the native speakers who compiled the dictionaries and with persons who had made studies of these languages. Comparison of the three languages show that they share the morphological processes of affixation and reduplication. Kui has the additional process of register change. Affixation functions to nominalize verbs, to alter the meaning of nouns, to alter the meaning of verbs, and to verbalize nouns. Reduplication consists of complete and partial reduplication. Based on morphological evidence it may be concluded that Bruu and So are genetically closer to each other than either is to Kui; which lends support to the subgrouping of Katuic languages by Kenneth D. Smith (1981) based on lexico-statistical evidence.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32038
ISBN: 9745622133
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ekawit_ch_front.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open
Ekawit_ch_ch1.pdf11.38 MBAdobe PDFView/Open
Ekawit_ch_ch2.pdf6.4 MBAdobe PDFView/Open
Ekawit_ch_ch3.pdf10.42 MBAdobe PDFView/Open
Ekawit_ch_ch4.pdf9.07 MBAdobe PDFView/Open
Ekawit_ch_ch5.pdf4.94 MBAdobe PDFView/Open
Ekawit_ch_ch6.pdf5.2 MBAdobe PDFView/Open
Ekawit_ch_back.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.