Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32059
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พวงแก้ว ปุณยกนก | |
dc.contributor.author | พีระ สมุทรานุกูล | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2013-06-08T07:30:15Z | |
dc.date.available | 2013-06-08T07:30:15Z | |
dc.date.issued | 2531 | |
dc.identifier.isbn | 9745691666 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32059 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางปัญญากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยศึกษาประชากรคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 119 คน และกลุ่มตัวอย่างสมาชิกในครอบครัว เพื่อนสนิท ครูที่สอนนักเรียนแล้วทดสอบสภาพแวดล้อมทางปัญญาจากบุคคล 3 กลุ่ม โดยใช้แบบสอบแมทริซีสก้าวหน้ามาตรฐาน ส่วนนักเรียนทดสอบเชาวน์ปัญญาและสำรวจนิสัยและทัศนคติทางการเรียน โดยใช้แบบสอบแมทริซีสก้าวหน้ามาตรฐาน และแบบสำรวจนิสัยและทัศนคติทางการเรียนและคัดเลือกผลการเรียนของนักเรียนในรายวิชาที่นักเรียนเรียนร่วมกันในภาคเรียนที่ 1 ตอนเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และผลการเรียนในรายวิชาที่นักเรียนเรียนร่วมกันในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2530 แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันสหสัมพันธ์บางส่วน และสหสัมพันธ์พุคูณระหว่างองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางปัญญา กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เมื่อไม่ได้ควบคุมตัวแปร และเมื่อควบคุมตัวแปรด้านเชาวน์ปัญญา พื้นความรู้เดิม นิสัยและทัศนคติทางการเรียน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เอส พี เอส เอส เอ็ก (SPSS˟-Statistical Package for the Social Science Version X) โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเอนเทอร์ (ENTER METHOD) ข้อค้นพบที่สำคัญโดยสรุปมีดังนี้ 1. สภาพแวดล้อมทางปัญญาด้านสมาชิกในครอบครัวมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (r=.266) 2. สภาพแวดล้อมทางปัญญาด้านเพื่อนสนิทมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทางบวก 2. สภาพแวดล้อมทางปัญญาด้านเพื่อนสนิทมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (r=.579) 3. สภาพแวดล้อมทางปัญญาด้านครูที่สอนมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (r=.592) 4. สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างสภาพแวดล้อมทางปัญญาด้านสมาชิกในครอบครัว สภาพแวดล้อมทางปัญญาด้านเพื่อนสนิท สภาพแวดล้อมทางปัญญาด้านครูที่สอน กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าเท่ากับ .6605 สามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 43.62 (R² =.4362) ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการทำนายเท่ากับ 3.38 เมื่อใช้เชาวน์ปัญญา พื้นความรู้เดิม นิสัยและทัศนคติทางการเรียน องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางปัญญาเป็นตัวทำนาย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณมีค่าเท่ากับ .9423 สามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 88.80 (R² =.8880) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณของตัวแปรควบคุมทั้ง 3 ด้านมีค่าเท่ากับ .9390 สามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 88.17 (R² = .8817) ดังนั้นเมื่อนำตัวแปรควบคุมเข้ามาร่วมพิจารณาปรากฏว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณขององค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางปัญญาทั้ง 3 ด้านมีค่าเท่ากับ .0793 สามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ .63 (R² = .0063) | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to study the relationships between intellectual environment factors and learning achievement of Mathayom Suksa three students. The population consisted of 119 students. Samples of family members, closed friends and teachers were identified by the students through questionnaires. The intellectual environments were then measured by using the Standard Progressive Matrices with these three groups of samples. The students’ data were collected by using the standard progressive matrices and The Survey of Study Habits and attitudes and the school records of their achievement. The pearson correlation, partial correlation and the multiple correlation between students’ intellectual environment and their achievement were analyzed by using SPSS˟-Statistical Package for the Social Science Version X : ENTER METHOD The major findings of this research were: 1. The correlation between intellectual environment influenced by the family members and learning achievement was significant at .05 level (r=.266). 2. The correlation between intellectual environment influenced by closed friends and learning achievement was significant at .05 level (r=.579). 3. The correlation between intellectual environment influenced by the teachers and learning achievement was significant at .05 level (r=.592). 4. The multiple correlation between intellectual environment factors and learning achievement was significant at .05 level (R=.6605). The learning achievement variance accounted for the group of predictors was 43.63% (R² = .4362). The standard error of estimation was 3.38. Using intelligence, past achievement, study habits and attitudes and intellectual environment factors as the predictors, the multiple correlation between all these six predictors with learning achievement were significant at .05 level ((R = .9423). The learning achievement variance accounted for by the group of predictors was 88.80% (R² = .8880). When the control variables : intelligence, past achievement and study habits and attitudes were also considered, it was found that the multiple correlation between the students’ achievement and these variables was significant at .05 level (R = .9390). The learning achievement variance accounted for by this group of predictors was 88.17% (R² = .8817). So that the learning achievement variance accounted for by the intellectual environment factors was .63% (R² = .0063). | |
dc.format.extent | 5924141 bytes | |
dc.format.extent | 4320966 bytes | |
dc.format.extent | 17600562 bytes | |
dc.format.extent | 11415362 bytes | |
dc.format.extent | 8288659 bytes | |
dc.format.extent | 7423302 bytes | |
dc.format.extent | 20865552 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางปัญญา กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 | en |
dc.title.alternative | The relationships between intellectual environment factors and learning acievement of mathayom suksa three students | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิจัยการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Peera_sa_front.pdf | 5.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Peera_sa_ch1.pdf | 4.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Peera_sa_ch2.pdf | 17.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Peera_sa_ch3.pdf | 11.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Peera_sa_ch4.pdf | 8.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Peera_sa_ch5.pdf | 7.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Peera_sa_back.pdf | 20.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.