Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32080
Title: ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะทุพโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน ในเขตชนบท ของจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2535
Other Titles: Prevalence and factors related to protein energy malnutrition (PEM) among preschool children in rural area of Nakhonrathchasima province 1992
Authors: พูนชัย ไตรภูธร
Advisors: มุนี เศรษฐบุตร
ทัสสนี นุชประยูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การสำรวจหาความชุก และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะทุพโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียนในเขตชนบท จังหวัดนครราชสีมา ได้ดำเนินการในระหว่าง เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2535 โดยการสุ่มเด็กวัยก่อนเรียนตามเขตพื้นที่ จำนวน 1,229 ราย และประเมินภาวะโภชนาการโดยการชั่งน้ำหนักเทียบกับอายุ เก็บข้อมูลปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะทุพโภชนาการ โดยการสัมภาษณ์มารดาและบันทึกลงในแบบสอบถาม จากการศึกษา พบว่า ความชุกของภาวะทุพโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน ระดับ 1 ร้อยละ 27.8 ทุพโภชนาการระดับ 2 ร้อยละ 3.9 และภาวะโภชนาการปกติ ร้อยละ 68.3 มารดาเด็กวัยก่อนเรียน ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 20-35 ปี (ร้อยละ 86.4) อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 71.2 เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดานาน 12-18 เดือน ร้อยละ 32.5 รายได้ของครอบครัวส่วนใหญ่ มีรายได้ 1,500-5,000 บาท ร้อยละ 47.8 เด็กวัยก่อนเรียนส่วนใหญ่ มีอายุอยู่ระหว่าง 12-24 เดือน (ร้อยละ 37.0) มีน้ำหนักแรกเกิด มากกว่า 3,000 กรัม ร้อยละ 54.7 และส่วนใหญ่ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคครบตามเกณฑ์ (ร้อยละ 95.4) ภาวะโภชนาการเด็กวัยก่อนเรียน มีความสัมพันธ์กับ อายุของเด็ก เพศของเด็ก การเจ็บป่วยของเด็ก การได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค น้ำหนักเด็กแรกเกิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) นอกจากนั้นยังพบว่า อาชีพบิดา อาชีพมารดา ระดับการศึกษาของบิดา ระดับการศึกษาของมารดา อายุของมารดา จำนวนบุตรในครอบครัว มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
Other Abstract: A prevalence survey of nutritional status and factors related to protein energy malnutrition (PEM) among preschool children in rural area of Nakhoratchasima province. Was carried out during November to December 1992 by using multistage cluster random sampling. The study found that the prevalence of the first degree malnutrition was 27.8%, the second degree was 3.9%, Most of the mothers preschool children aged 20-30 years. 71.2% of them were argi culture, 32.5% of preschool children had gave breast feeding during 12-18 months. Most of the preschool aged 12-24 months (37.0%), birth weight of more than 3,000 grams was 54.7% and Immunization rate was 95.4%.It was found in this study that there was the association with statistical significance between the nutritional status of the preschool children and children’s factors as follows : birth weight, sex, previous illness, immunization rate. Concerning the parent’s factors, it was found that there was association with statistical significance between mother’ occupation, father’ occupation, level of mother education, age of mother, family size and the preschool’s nutritional status as well.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32080
ISBN: 9745828025
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Poonchai_tr_front.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open
Poonchai_tr_ch1.pdf4.31 MBAdobe PDFView/Open
Poonchai_tr_ch2.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
Poonchai_tr_ch3.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Poonchai_tr_ch4.pdf8.61 MBAdobe PDFView/Open
Poonchai_tr_ch5.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open
Poonchai_tr_back.pdf3.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.