Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3209
Title: การใช้กาวไฟบรินและวัสดุกระดูกปลูกถ่ายในการรักษารอยวิการของกระดูกในโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่
Other Titles: The application of fibrin glue and bone graft in the treatment of intrabony defects in adult periodontitis
Authors: นิตยา จินดาวิจักษณ์, 2514-
Advisors: นวลฉวี หงษ์ประสงค์
มณฑล สุวรรณนุรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Subjects: โรคปริทันต์อักเสบ--การรักษา
กาวไฟบริน
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลทางคลินิกและภาพถ่ายรังสีของการรักษาความวิการใต้สันกระดูกด้วย 3 วิธีการต่อไปนี้ คือ การผ่าตัดเปิดเหงือกเพื่อทำความสะอาด การผ่าตัดเปิดเหงือกร่วมกับการใช้กาวไฟบริน และการผ่าตัดเปิดเหงือกร่วมกับการใช้กาวไฟบรินและกระดูกปลูกถ่าย โดยศึกษาในฟันที่มีความวิการใต้สันกระดูก 36 รอยโรคจากผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่จำนวน 17 คน และมีความลึกของร่องลึกปริทันต์อย่างน้อย 6 มิลลิเมตรหลังจากได้รับการรักษาในระยะแรกมาแล้ว ผู้ป่วยได้รับการรักษาแตกต่างกันโดยการสุ่มอย่างง่ายจากกลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ผ่าตัดเปิดเหงือกร่วมกับการใช้กาวไฟบริน และการผ่าตัดเปิดเหงือกร่วมกับการใช้กาวไฟบรินและกระดูกปลูกถ่ายเป็นกลุ่มทดลอง ส่วนกลุ่มที่ผ่าตัดเปิดเหงือกเพื่อทำความสะอาดอย่างเดียวเป็นกลุ่มควบคุม ทำการนัดผู้ป่วยมาขูดหินปูนและขัดฟันเพื่อควบคุมแผ่นคราบจุลินทรีย์เมื่อครบ 1,2,3 และ 6 เดือน วัดผลทางคลินิกโดย วัดระดับการยึดติดของอวัยวะปริทันต์ ระดับร่องลึกปริทันต์ ดัชนีจุดเลือดออก และดัชนีคราบจุลินทรีย์ในเดือนที่ 0,3 และ 6 ด้วย ฟลอริดาโพรบและดิสก์โพรบ วิเคราะห์ภาพถ่ายรังสีในเดือนที่ 6 ผลการวิจัยพบว่า ทุกกลุ่มการรักษาสามารถทำให้ลักษณะทางคลินิกดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการรักษา โดยผลการรักษาเดือนที่ 6 พบว่า กลุ่มทดลองที่ใช้กาวไฟบริน และกลุ่มที่ใช้กาวไฟบรินกับกระดูกปลูกถ่ายและกลุ่มควบคุม สามารถลดความลึกของร่องลึกปริทันต์ได้ 2.5, 2.95 และ 2.3 มิลลิเมตร ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และเพิ่มระดับการยึดติดของอวัยวะปริทันต์ได้ 0.72, 1.55 และ 0.79 มิลลิเมตร ตามลำดับ โดยพบว่าเฉพาะกลุ่มที่ใช้กาวไฟบรินกับกระดูกปลูกถ่ายที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการรักษา เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มการรักษาไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) แต่จะพบว่าภาพถ่ายรังสีของกลุ่มทดลองทั้งสอง มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของระดับกระดูกที่ดีขึ้น จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การใช้กาวไฟบรินกับกระดูกปลูกถ่ายในการรักษาความวิการใต้สันกระดูกสามารถทำให้ลักษณะทางคลินิกดีขึ้น จึงอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะนำไปใช้เสริมการรักษาโรคปริทันต์อักเสบในผู้ใหญ่
Other Abstract: The objective of this research was to compare the clinical and radiographic results of the treatment of intrabony defects among three methods: Open flap curettage (O), Open flap with fibrin glue (OF), Open flap with fibrin glue and bone graft (OFB). 36 intrabony defects in 17 adult periodontitis patients were used in this study. The defect must be at least 6 mm. in depth. The defects were equally randomized into 3 groups: OF and OFB were test groups while O was control group. All patients received scalling, polishing and oral hygiene instruction at 1,2,3 and 6 months after surgery. Clinical parameters were based on probing pocket depth (PD), probing attachment level (PAL), bleeding on probing (BI) and plaque index (PI) at 0,3 and 6 months after surgery using Florida probe and disk probe. Radiographs were taken at baseline and at 6 months. The result of this study showed improvement in the clinical parameters for all groups. At sixth month the means of PD reduction in OF, OFB and O groups were 2.5, 2.95 and2.3 mm. respectively. These were significantly different from the baseline (p<0.05). The means of attachment gain were 0.72, 1.55 and 0.79 mm. respectively. Only OFB group showed statistical differences from the baseline. No clinically significant differences were observed (p>0.05) among 3 groups although the radiographs from test groups produced slightly better results. These findings suggested that the use of fibrin glue and bone graft may be another alternative for the treatment of intrabony defects
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปริทันตศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3209
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.506
ISBN: 9740317138
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.506
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nitaya.pdf5.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.