Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32126
Title: กระบวนการบริหารโครงการออกแบบเพื่อก่อสร้างสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ
Other Titles: Architectural Project Management in Design Process of Royal Thai Embassies
Authors: ลลิตา เจียมวัฒนศิริกิจ
Advisors: ไตรวัฒน์ วิรยศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: vtraiwat@chula.ac.th
Subjects: สถานทูต -- ไทย
สถานทูต -- ไทย -- การออกแบบและการสร้าง
การก่อสร้าง -- การจัดการ
การก่อสร้าง -- ไทย -- การจัดการ
อาคารสาธารณะ -- ไทย
อาคารสาธารณะ -- ไทย -- การออกแบบและการสร้าง
Embassy buildings -- Thailand
Embassy buildings -- Thailand -- Design and construction
Building -- Management
Building -- Thailand -- Management
Public buildings -- Thailand
Public buildings -- Thailand -- Design and construction
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การออกแบบก่อสร้างสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ ซึ่งเป็นอาคารทางราชการตั้งอยู่ภายนอกประเทศไทยนั้น ต้องใช้วิธีการจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ และยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้โครงการไม่ได้รับการควบคุมจัดการอย่างเป็นระบบชัดเจนเหมือนกับอาคารราชการในประเทศ จากการศึกษาเบื้องต้น พบว่ามีโครงการก่อสร้างสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศที่กำลังดำเนินโครงการอยู่ในปัจจุบันประสบปัญหาโครงการล่าช้า การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินโครงการออกแบบและก่อสร้างสถานเอกอัครราชทูตในปัจจุบัน ตั้งแต่ช่วงการริเริ่มโครงการ ไปจนถึงการจัดจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยมีวิธีการดำเนินงานวิจัย คือ ศึกษาทฤษฎีการบริหารโครงการสถาปัตยกรรม และศึกษากระบวนการจากกรณีศึกษาโครงการก่อสร้างสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศที่มีการดำเนินโครงการภายในช่วงระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา และอยู่ระหว่างดำเนินโครงการในปัจจุบัน ได้แก่ 1) สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศจีน 2) สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศอินเดีย 3) สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศปากีสถาน 4) สถานเอกอัครราชทูตไทยในประเทศญี่ปุ่น โดยสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องในแต่ละกรณีศึกษา ได้แก่ เจ้าหน้าที่ในสำนักจัดหาและบริหารทรัพย์สิน กระทรวงต่างประเทศ และผู้ออกแบบโครงการ ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินโครงการนั้นเริ่มต้นด้วยการเสนอของสถานเอกอัครราชทูต หรือแผนของกระทรวงการต่างประเทศก็ได้ แล้วจึงขออนุมัติงบประมาณ หลังจากนั้นสำนักจัดหาและบริหารทรัพย์สินจะจัดจ้างผู้ออกแบบไทยด้วยค่าบริการวิชาชีพที่ต่างจากระเบียบพัสดุของงานราชการที่ออกแบบในประเทศไทยกำหนดไว้ แล้วจึงเข้าสู่ช่วงการออกแบบ การขออนุญาตก่อสร้าง และการจัดจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งเป็นการทำสัญญาในต่างประเทศระหว่างสถานเอกอัครราชทูตกับผู้รับจ้าง ซึ่งผู้ออกแบบไทยจะมีหน้าที่ในการช่วยพิจารณาผู้รับเหมา เมื่อจัดจ้างเสร็จจะถือว่าภาระงานผู้ออกแบบไทยสิ้นสุดลงและส่งมอบภาระไปยังผู้ควบคุมงาน แต่โดยมากมักเป็นรายเดียวกับผู้ออกแบบ ปัญหาที่พบในขั้นตอนการดำเนินโครงการ คือ ระหว่างช่วงการออกแบบ มีการเปลี่ยนแปลงความต้องการพื้นที่ใช้สอย เกิดการแก้ไขแบบหลายครั้ง ผู้ออกแบบไทยต้องประสานงานแก้ไขไปยังผู้ออกแบบท้องถิ่น ทำให้เกิดความล่าช้า นอกจากนี้ ช่วงขออนุญาตก่อสร้าง ระเบียบข้อบังคับในการขออนุญาตก่อสร้างของแต่ละท้องถิ่น และการแก้ไขแบบเพื่อขออนุญาตก่อสร้าง ส่งผลให้เกิดปัญหาความติดขัดล่าช้าในการได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง การศึกษานี้ มีข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารโครงการออกแบบเพื่อก่อสร้างสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ ได้แก่ 1) การจัดจ้างที่ปรึกษาโครงการหรือผู้บริหารโครงการ เพื่อเป็นตัวแทนกระทรวงการต่างประเทศในการดำเนินโครงการ ศึกษาโครงการ ประสานงานและกำหนดระยะเวลาโครงการอย่างชัดเจน ทำให้โครงการดำเนินได้อย่างเป็นระบบ 2) ควรมีแผนงานบริหารโครงการออกแบบเพื่อก่อสร้างสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ และการเตรียมข้อมูลที่จำเป็นตั้งแต่เริ่มโครงการ 3) การทบทวนสัญญาออกแบบ โดยควรมีการระบุขอบเขตงานและค่าใช้จ่ายที่เรียกเพิ่มเติมได้ ลงในสัญญาให้ชัดเจน 4) การจัดให้มีคณะกรรมการกำกับแบบที่จะอนุมัติรูปแบบอาคารตั้งแต่ช่วงการออกแบบร่างและไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่จำเป็นในระหว่างการออกแบบ
Other Abstract: To design and construct Royal Thai Embassies, which are governmental structures outside Thailand, procurement must be conducted using a special methodology. Moreover, the construction projects are affected by a number of highly uncontrolled factors, unlike governmental buildings in Thailand. According to primary research, several ongoing Royal Thai Embassy projects are facing construction delay problems. This study aims to study the problems of the Royal Thai Embassy design and construction process from the inception period to contractor procurement. The research methodology begins with reviewing the architectural project management theories and study design process from 4 case studies. The four case studies were projects initiated 6 years ago which are still ongoing: 1) The Royal Thai Embassy, China 2) The Royal Thai Embassy, India 3) The Royal Thai Embassy, Pakistan 4) The Royal Thai Embassy, Japan. Interviews were also conducted with authorities in the property department of the Ministry of Foreign Affairs and with project architects. The findings indicate that the projects can be initiated by Royal Thai Embassy officers or as a result of property department plans. After proposing a budget, an architectural firm will be hired with a specified design fee. Then, from the design phrase and construction approval, the process moves on to the contractor procurement period with advice from a Thai architect. The architect’s liability ends in this stage and the responsibility will pass forward to the construction manager. The problems found in the process stem from design revisions due to the change of area requirements and revisions by the local architect which may result in delays. Furthermore, the local processes and regulations regarding construction approval are different and complex, which affects the project timeframe. Based on the findings, the following recommendations can be made. First, the Ministry of Foreign Affairs should hire a project manager to be an owner/representative in addition to creating a project plan, leading and controlling the project. Secondly, embassy project management guidelines should be established for authorities to implement along with properly information preparation. Next, the Thai architect’s design fee should be properly adjusted to the scope of services with additional fees being clearly specified in the design contract. Lastly, a design control committee should be arranged to approve the main design concept and keep it on track without unnecessary changes.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32126
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.353
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.353
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
lalita_je.pdf4.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.