Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3212
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุภาภรณ์ จงวิศาล-
dc.contributor.advisorเทวฤทธิ์ สมโคตร-
dc.contributor.authorศุทธิษา แต่บรรพกุล, 2517--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-10-10T10:53:40Z-
dc.date.available2006-10-10T10:53:40Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741769814-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3212-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดใสที่ผลิตขึ้นในประเทศ (พรีโวแคร์: คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ในการยึดติด ชนิด ตำแหน่งที่เกิดการหลุดของวัสดุและการป้องกันฟันผุในฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง เปรียบเทียบกับวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันมาตรฐานที่นำเข้าจากต่างประเทศ (เดลตัน: บริษัทเดนสพลาย ประเทศสหรัฐอเมริกา) ในภาวะภาคสนาม ช่วงระยะเวลา 12 เดือน รูปแบบการศึกษา : การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มทดลองโดยมีกลุ่มเปรียบเทียบ สถานที่ทำการวิจัย : โรงเรียนประถมนนทรีและโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร ระเบียบวิธีวิจัย : คัดเลือกตัวอย่างฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งล่างของเด็กนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1-3 ที่มีลักษณะตามข้อบ่งชี้ในการเคลือบหลุมร่องฟันในขากรรไกรเดียวกันจำนวน 138 คู่ฟัน ทำการศึกษาโดยจัดตัวอย่างเข้าศึกษาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ให้ฟันข้างหนึ่งได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันด้วยพรีโวแคร์ (กลุ่มทดลอง) และฟันอีกข้างได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันด้วยเดลตัน (กลุ่มควบคุม) ทันตแพทย์หนึ่งคนทำการเคลือบหลุมร่องฟันโดยใช้เก้าอี้สนามและชุดทันตกรรมเคลื่อนที่ภายในโรงเรียนติดตามผลการยึดติดของวัสดุและการเกิดฟันผุโดยทันตแพทย์อีกคนที่ระยะเวลา 6 และ 12 เดือน นำมาพิจารณาความเท่าเทียมกันของวัสดุทั้งสองชนิด โดยยอมรับความแตกต่างของอัตราการยึดติดของวัสดุทั้งสองชนิด ไม่เกินร้อยละ 10 ที่ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา : เมื่อสิ้นสุดการศึกษา คงเหลือจำนวนตัวอย่าง 127 คู่ฟัน คิดเป็นร้อยละ 92 ของตัวอย่างเมื่อเริ่มการศึกษา พบว่าที่ระยะเวลา 6 เดือน ฟันที่ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันด้วยเดลตันและพรีโวแคร์ชนิดใส มีอัตราการยึดติดอย่างสมบูรณ์ร้อยละ 96.9 (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 : 93.9-99.9) และร้อยละ 98.5 (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 : 96.3-100) ตามลำดับ ความแตกต่างเฉลี่ยของอัตราการยึดติดระหว่างวัสดุทั้งสองกลุ่ม มีค่าเท่ากับร้อยละ 1.5 (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 : -2.9-6) ส่วนที่ระยะเวลา 12 เดือน อัตราการยึดติดอย่างสมบูรณ์ของวัสดุเดลตันและพรีโวแคร์มีค่าเท่ากับร้อยละ 93.7 (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 : 89.4-98) และร้อยละ 94.5 (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 : 90.5-98.5) ตามลำดับ ความแตกต่างเฉลี่ยของอัตราการยึดติดระหว่างวัสดุทั้งสองกลุ่ม มีค่าเท่ากับร้อยละ 0.8 (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 : -5.9-7.6) โดยไม่พบการผุในฟันทั้งสองกลุ่ม สรุปการศึกษา : วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพในการยึดติดและป้องกันฟันผุในฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งเท่าเทียมกับวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่ได้มาตรฐานในภาวะภาคสนามเมื่อเวลาผ่านไป 12 เดือนen
dc.description.abstractalternativeObjectives : To assess the effectiveness of a clear local-made sealant (Prevocare: Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University) by comparing its retention, types and locations of sealant loss and caries prevention on first permanent molars with a standard imported sealant (Delton : Dentsply International, USA) under field conditions at the end of 12 months. Design : Randomized controlled clinical trial. Setting : Prathomnonsee School and Piboonprachasarn School, Bangkok. Methodology : The sample included 138 pairs of contralateral lower first permanent molars of children from grade 1-3 who met the eligible criteria. Prevocare (test) and Delton (control) were randomly placed on each molar by one dentist using a mobile dental unit and equipments at the schools. The sealed teeth were examined for their retention and caries formation after 6 and 12 months by a different examiner. Using a confidence interval approach, the two groups were considered equivalent if the difference in retention rates was not morethan 10%. Results : There were 127 pairs of teeth (92%) remaining at the end of the study. The mean retention rates at 6 months of Delton and Prevocare were 96.9% (95% CI: 93.9, 99.9%) and 98.5% (95% CI: 96.3,100%), respectively. The mean difference in retention rates between the two groups was 1.5 (95% CI: -2.9, 6). At 12 months, the mean retention rates of Delton and Prevocare were 93.7% (95% CI : 89.4, 98%) and 94.5% (95% CI : 90.5, 98.5 %), respectively. The mean difference in retention rate between the both groups was 0.8% (95% CI : -5.9, 7.6). No carious lesions developed during this trial. Conclusion : The local-made sealant, Prevocare (clear), is clinically equivalent to the standard imported sealant , Delton, in terms of retention and caries prevention on first permanent molars under field conditions at the period of 12 months.en
dc.format.extent2196210 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.540-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectวัสดุผนึกหลุมร่องฟันen
dc.subjectฟันผุในเด็ก--การป้องกันen
dc.titleการศึกษาความเท่าเทียมทางคลินิคระหว่างวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันที่ผลิตในประเทศและวัสดุเคลือบหลุ่มร่องฟันที่นำเข้านนฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่งในภาวะภาคสนามen
dc.title.alternativeClinical equivalence study between a local-made and an imported pit and fissure sealant on first permanent molars under field conditionsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineทันตกรรมสำหรับเด็กen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSupaporn.Ch@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.540-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suthisa.pdf989.27 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.