Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32168
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปาริชาต สถาปิตานนท์-
dc.contributor.advisorอมรวิชช์ นาครทรรพ-
dc.contributor.authorพัชรา เอี่ยมกิจการ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-06-14T07:37:59Z-
dc.date.available2013-06-14T07:37:59Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32168-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการและสถานการณ์ปัจจุบันของการรณรงค์และการให้การศึกษาด้านการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่เด็กและเยาวชนในสถานศึกษา และ 2) เพื่อพัฒนาแบบจำลองและทดสอบแบบจำลองการผสานพลังการรณรงค์และการให้การศึกษาด้านการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่เด็กและเยาวชนในสถานศึกษา โดยใช้การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ การสำรวจ และการวิจัยเชิงทดลองเพื่อทดสอบแบบจำลอง ซึ่งดำเนินการทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพัฒนวิทย์ จังหวัดนนทบุรี ผลการวิจัย พบว่า การดำเนินงานเพื่อควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานศึกษาภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพได้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2547 โดยมีโครงการต่างๆ มาโดยลำดับ ได้แก่ โครงการ DDD เครือข่ายละครรณรงค์งดเหล้า โครงการ DNA สายพันธ์ใหม่ไร้แอลกอฮอล์ และโครงการโรงเรียนปลอดเหล้าต้นแบบ ซึ่งจากการดำเนินการสำรวจสถานศึกษาภายใต้การสนับสนุนของทั้ง 3 โครงการ พบว่า สถานศึกษาส่วนใหญ่มีการดำเนินงานทั้งการรณรงค์และการให้การศึกษา แต่ยังคงไม่มีการวางแผนการดำเนินงานร่วมกันที่ชัดเจนถึงร้อยละ 53.6 แต่สถานศึกษาที่มีการดำเนินงานร่วมกันที่ชัดเจนมีเพียงร้อยละ 30.1 เท่านั้น แต่ก็ยังไม่พบรูปแบบการผสานพลังแบบ “ร่วมกันคิด แบ่งกันทำ” ที่เป็นระบบ ผลจากการพัฒนาและทดสอบแบบจำลองในการผสานพลังการรณรงค์และการให้การศึกษาด้านการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่เด็กและเยาวชนในสถานศึกษาพบว่า นักเรียนในกลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .05 ส่วนรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับสถานศึกษาเป็นรูปแบบการผสานพลังการรณรงค์และการให้การศึกษาที่ควรปรับให้ยืดหยุ่นหลากหลายตามบริบทของสถานศึกษา โดยเฉพาะในลักษณะของการจัดการเรียนการสอนที่หนุนเสริมด้วยกิจกรรมรณรงค์ โดยมีเงื่อนไขความสำเร็จที่สำคัญ คือ การมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในการออกแบบ ผลิต และเผยแพร่สื่อทั้งเพื่อการให้การศึกษาและการรณรงค์ รวมถึงการจัดทรัพยากรสื่อสนับสนุนครูผู้สอนและการจัดปัจจัยด้านการบริหารที่สอดคล้องกับสภาพการทำงานที่เป็นอยู่ของครูผู้สอนen
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are : 1) to study the development and the present situation of campaigning and educating activities related to alcohol consumption control among children and youth in school setting and; 2) to develop and test a Synergetic Campaigning-Educating Model for alcohol consumption control in school setting. The researcher employed documentary study, interview, survey and experiment as research methods. The experimental research took place with Mathayom 3 (grade 9) students at Pattanawit School in Nontaburi Province. The researcher collected data about campaigning and educating activities from groups of directors and teachers among schools participated in various alcohol consumption control projects supported by the Thai Health Promotion Funds (THF) since 2004. The researcher found that most of the participated schools or 53.6% had campaigning and educating activities run in parallel without any kind of joint planning. Only 30.1% can demonstrate a certain level of joint planning between campaigning and educating activities but still lack a systematic co-implementation. The experimentation of the Synergetic Campaigning-Educating Model developed by the researcher for alcohol consumption control in school setting found significant change in knowledge, attitudes and behaviors of students in the treatment group as compared to the control group (p>.05). The appropriate implementation approach for school setting should incorporate flexibility and diversity in regard to school context, with particular emphasis on educating-led activities supported by co-planned campaigning activities. Critical success factors include student “bottom-up” participation along the planning, producing, and disseminating of media both for educating and campaigning purposes. Other factors include the availability of media resources for teachers and the provision of administrative support in line with working conditions of teachers.en
dc.format.extent10368644 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/ 10.14457/CU.the.2010.221-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์en
dc.subjectการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ -- การควบคุมen
dc.subjectDrinking of alcoholic beveragesen
dc.subjectDrinking of alcoholic beverages -- Controlen
dc.titleการพัฒนาแบบจำลองการผสานพลังการรณรงค์-การให้การศึกษาเพื่อการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่เด็กและเยาวชนในสถานศึกษาen
dc.title.alternativeThe development of a synergistic campaigning-educating model for alcohol consumption control among children and youth in school settingen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorParichart.S@chula.ac.th-
dc.email.advisorAmornwich.N@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.221-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phatchara_ea.pdf10.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.